3 แบรนด์กาแฟในอิตาลี! ที่ Starbucks ยังต้องหลบ

ถ้าพูดถึงร้านกาแฟเมืองไทย ชื่อของ Starbucks , Cafe Amazon , กาแฟพันธุ์ไทย , แบล็คแคนยอน เป็นที่พูดถึงมากขนาดที่เคยมีการจับเอาแบรนด์เหล่านี้มาเปรียบเทียบว่าใครฮิตกว่ากัน ซึ่งในความเป็นจริงทุกแบรนด์ต่างก็มีฐานลูกค้าของตัวเองและมีจุดเด่น+เอกลักษณ์รวมถึงจุดขายในแบบฉบับของตัวเอง ซึ่งหากจะดูที่ยอดขายพบว่า

  • Starbucks ในปี 2567 ที่ผ่านมามีรายได้ 10,513 ล้านบาท
  • Cafe Amazon ในปี 2567 ที่ผ่านมามีรายได้ 16,203 ล้านบาท
  • กาแฟพันธุ์ไทย ในปี 2567 ที่ผ่านมามีรายได้ 3,049 ล้านบาท
  • แบล็คแคนยอน ในปี 2567 ที่ผ่านมามีรายได้ 1,283 ล้านบาท
  • อินทนิล ในปี 2567 ที่ผ่านมามีรายได้ 1,100 ล้านบาท

สัดส่วนคนดื่มกาแฟในเมืองไทยมีอัตราเฉลี่ยวันละ 1.5 แก้ว หรือประมาณ 340 แก้ว/คน/ปี ในจำนวนนี้ 49% เป็นการดื่มกาแฟทุกวัน และ ผู้ชายดื่มกาแฟที่สัดส่วน 55% ในขณะที่ผู้หญิงมีสัดส่วนการดื่มกาแฟอยู่ที่ 43%

อย่างไรก็ดีหากไปดูในต่างประเทศ เช่นที่ อิตาลี แบรนด์กาแฟที่ดังในเมืองไทย และตีตลาดได้สำเร็จ แต่แบรนด์ที่น่าจะดีนี้ก็กลับไม่เป็นที่นิยมมากนักในอิตาลีที่ว่ากันว่ามีแบรนด์อื่นที่ดังกว่า

ยกตัวอย่างชัดเจนที่สุดคือ Starbucks ที่ต้องใช้เวลากว่า 47 ปีจึงจะเปิดสาขาแรกในอิตาลีที่เมืองมิลานในปี 2018 แต่นับถึงตอนนี้ก็ยังมีสาขาในอิตาลีประมาณ 40 แห่งซึ่งถือว่าน้อยมากถ้าเทียบกับสาขาในเมืองไทยที่มีมากกว่า 500 แห่ง

สิ่งที่น่าสนใจคือ อิตาลี ไม่ได้เป็นประเทศที่ปลูกกาแฟเป็นอันดับต้น ๆ ของโลกแต่กลับกลายเป็นประเทศ ที่คิดค้นเครื่องทำกาแฟ Espresso ขึ้นมาแสดงให้เห็นถึงความชื่นชอบในการดื่มกาแฟของคนอิตาลีว่ามีมากแค่ไหนแต่ Starbucks กลับไม่ใช่แบรนด์ที่ดังสุดเพราะมีอีก 3 แบรนด์ที่ดังกว่าคือ

1. Lavazza

3 แบรนด์กาแฟในอิตาลี
ภาพจาก www.facebook.com/Lavazza

แบรนด์นี้ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1895 เป็นแบรนด์กาแฟ ที่ทำรายได้มากที่สุดในอิตาลี โดยในปี 2023 นั้น ทำรายได้ถึง 77,500 ล้านบาท แบรนด์นี้ โด่งดังจาก Coffee Blend หรือกาแฟที่มีส่วนผสมของเมล็ดกาแฟหลาย ๆ สายพันธุ์รวมกัน

2. illycaffè

3 แบรนด์กาแฟในอิตาลี
ภาพจาก www.facebook.com/illycaffethailand

มีโลโก้ร้านคือป้ายสีแดง ขาว ที่เขียนว่า “illy” รายได้ของ illycaffè นั้น หากเทียบกับผู้นำอย่าง Lavazza ก็ถือว่าห่างกันอยู่มาก โดยในปี 2023 ทำรายได้ไปประมาณ 22,900 ล้านบาท

3. Segafredo Zanetti

3 แบรนด์กาแฟในอิตาลี
ภาพจาก www.facebook.com/segafredozanettithailand

ถือเป็นแบรนด์กาแฟน้องใหม่ในบรรดา 3 ยักษ์ใหญ่ของร้านกาแฟในอิตาลี แต่มีเป้าหมายชัดเจนที่ต้องการเผยแพร่วัฒนธรรมกาแฟสไตล์อิตาลีให้กับคนทั่วโลกในปี 2023 บริษัทมีรายได้อยู่ที่ 41,800 ล้าน (รายได้รวมของบริษัทที่ยังไม่ได้แยกธุรกิจร้านกาแฟ)

Backward Thinking

แม้ว่าทั้ง 3 แบรนด์นี้จะไม่ได้มีสาขากระจายไปทั่วโลกแบบ Starbucks แต่ก็เป็นแบรนด์ฮิตของคอกาแฟในยุโรป หรือสหรัฐอเมริกา เพราะมีความเป็นต้นตำรับแบบอิตาลีเป็นจุดขาย

อย่างไรก็ดีแม้ Starbucks จะไม่เป็นที่นิยมในอิตาลีแต่ตรงกันข้ามกับในอเมริกาที่ Starbucks มีสาขามากถึง 16,482 สาขา โดยเป็นสาขาในลักษณะแฟรนไชส์/ลิขสิทธิ์ (Licensed) มีประมาณ 6,324 แห่ง และถ้าไปดูความฮิตของแบรนด์กาแฟในอีกหลายประเทศซึ่งต่างก็มีแบรนด์เด่นๆที่ถูกใจคนในประเทศนั้นๆ เช่น

  • แคนาดา – มีแบรนด์กาแฟเด่นคือ Tim Hortons ที่ขายทั้งกาแฟและนัท
  • สหราชอาณาจักร – มีแบรนด์กาแฟเด่นคือ Costa Coffee มีสาขาทั่วสหราชอาณาจักรและในอีก 37 ประเทศทั่วโลก
  • ฝรั่งเศส – มีแบรนด์กาแฟเด่นคือ Carte Noire และ Nespresso, Nescafé
  • สวีเดน – มีแบรนด์กาแฟเด่นคือ Gevalia , Zoega’s และ Arvid Nordquist

Backward Thinking

ย้อนกลับมาในตลาดเมืองไทยธุรกิจกาแฟมีการแข่งขันดุเดือดแม้จะเป็นสินค้าที่คนสนใจและมีลูกค้าในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ แต่การเข้าถึงลูกค้าก็เป็นเรื่องสำคัญที่แต่ละแบรนด์ต้องให้ความสนใจ การใช้ไอเดียหรือการตลาดที่ดึงดูดลูกค้าจะเป็นเคล็ดลับสำคัญในการสร้างรายได้มากขึ้น

อย่าง “ร็อคเกตแมน” กาแฟร้อนที่เดินขายตามสี่แยกในเมืองเชียงใหม่ ราคาแก้วละ 40-50 บาท ก็เป็นอีกหนึ่งแนวคิดที่ฉีกกรอบของการขายกาแฟแบบเดิมๆ ซึ่งในยุคนี้ไอเดียใหม่ๆ ในการขายถือว่ามีความสำคัญมาก

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด