15 งานทำที่บ้านยอดฮิต สร้างรายได้เสริม ปี 2566

ใครอยู่ในช่วงว่างงานหรือกำลังหางานอยู่ ลองมาดู งานทำที่บ้านยอดฮิต สร้างรายได้เสริม หากคุณมั่นใจว่ามีความสามารถในด้านใดด้านหนึ่งก็งัดมันออกมา สำหรับคนที่มองหางานทําที่บ้าน วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com ขอแนะนำงานทำที่บ้านยอดฮิตในปี 2566 ที่คาดว่าจะมาแรงและได้รับความนิยมในการสร้างรายได้เสริม

1.ขายออนไลน์

งานทำที่บ้านยอดฮิต

เป็นทำงานที่บ้านยอดฮิตสร้างรายได้เสริมในปี 2566 ใช้เวลาขายช่วงหลังเลิกงาน ช่วงวันหยุด ไม่ว่าจะขายเครื่องสำอาง อุปกรณ์ไฟฟ้า ของเด็กเล่น อาหารทะเล เครื่องดื่ม ฯลฯ ผ่านช่องทางเฟสบุ๊ค ไลน์ ไอจี ไลฟ์สด เป็นต้น

2.นายหน้า

8

อีกหนึ่งงานที่สามารถทำได้ที่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นนายหน้าขายที่ดิน ขายบ้าน ขายรถยนต์ เป็นงานแบบจับเสือมือเปล่าทำเงินได้เร็ว รวยได้จริง สามารถรับเงินก้อนใหญ่สร้างรายได้เป็นกอบเป็น

3.ปลูกผัก / ต้นไม้

7

ใครมีพื้นที่ข้างๆ บ้านหรือหลังบ้านสามารถสร้างรายได้เสริมจากการปลูกผักสวนครัว หรือเพราะพันธุ์กล้าไม้ขายได้ ไม่ว่าจะเป็นการปลุกผักสลัดไฮโดร หรือเพาะกล้าพืชผักขาย ก็อาจสามารถสร้างรายได้หลักล้านต่อปี

4.ขายอาหาร / เครื่องดื่ม

6

หลังจากเลิกงานถ้าที่บ้านมีตลาดนัดอยู่ใกล้ๆ หรือปากซอย หรือหน้าบ้าน สามารถทำอาหารหรือเครื่องดื่มขายได้เลย หากมีความสามารถในด้านการทำอาหาร และรสชาติอร่อย

5.ขายขนม

5

ถ้าใครมีหน้าบ้านหรือตลาดอยู่ใกล้ๆ ก็สามารถขายขนมเล่นๆ หลังเลิกงานหรือช่วงวันหยุด ถ้าใครทำขนมไม่เป็นก็สามารถไปรับจากแหล่งผลิตมาขายก็ได้ หรือถ้าไม่ขายหน้าบ้านก็สามารถขายออนไลน์สร้างเพจร้านขนมเองก็ได้

6.สอนออนไลน์

เป็นอีกหนึ่งงานที่สามารถทำได้ที่บ้าน เพียงแค่มีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เครื่องเดียวก็สามารถสอนออนไลน์ได้ ไม่ว่าจะเป็นการสอนภาษา สอนทำอาหาร สอนออกกำลังกาย สอนการขายออนไลน์ สอนเทรดหุ้น ฯลฯ

7.ทำยูทูป

เป็นงานทำที่บ้านที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก สามารถสร้างรายได้หลักแสนหลักล้านบาทต่อเดือนหากมียอดคนติดตามจำนวนมาก ดังจะเห็นได้ทั้งจากอินฟลูเอนเซอร์หน้าใหม่และเก่าที่ต่างผลิตผลงานออกมาเพื่อป้อนแฟนๆ ทางช่องยูทูบของตัวเอง แม้กระทั่งในยุคที่โควิด-19 แพร่ระบาดจะส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจและอาชีพต่างๆ ไปทั่ว แต่อาชีพยูทูปกลับเป็นอาชีพที่ไม่ค่อยได้รับผลกระทบเท่าไร หากเจ้าของช่องขยันคิดหาคอนเทนต์มาทำได้ถูกใจคนดู

8.รีวิวสินค้า

4

การหารายได้แบบไม่ต้องลงทุน แถมเป็นรายได้แบบ Passive Income ด้วยแล้วย่อมเป็นวิธีการที่น่าสนใจไม่ใช่น้อยเลยใช่ไหม ทำงานแค่ครั้งเดียวแต่มีรายได้เข้ามาแบบเรื่อยๆ แบบทีไม่ต้องไปทำซ้ำในช่องทางเดิมอีก

9.ซื้อมาขายไป

เคล็ดลับหาของมาขายคือขายของที่เรามีความรู้อยู่แล้ว ขายของที่เรารู้จัก ขายของที่มีคุณภาพ เชื่อถือได้ อย่างน้อยเราคือผู้ขาย เราก็ต้องเชื่อก่อนว่าสินค้าดี มีคุณภาพจริง

10.ตัวแทนจำหน่าย

3

เป็นงานทำที่บ้านแบบสบายๆ ไม่ต้องสต็อกสินค้า ไม่ต้องลงทุนเป็นอีกหนึ่งช่องทางการสร้างรายได้ที่ตอบโจทย์ได้ดี เพราะเป็นการเปิดโอกาสให้คนว่างงานหรือต้องการหารายได้ ได้เข้าลงทุนเพื่อสร้างกำไรได้แบบง่ายๆ

11.ทำกราฟิก

กราฟิกดีไซน์งานทพำที่บ้าน อาชีพสร้างรายได้บนแพลตฟอร์มออนไลน์ แทบจะเรียกได้ว่างานกราฟิกนั้นอยู่ในชีวิตประจำวันของเราทุกคนที่เห็นจนชินตา ไม่ว่าจะเป็นโลโก้ ป้ายโฆษณา หรือแม้แต่ Infographic ให้ความรู้ในอินเตอร์เน็ต ดังนั้นงานกราฟิกจึงเป็นงานที่มีเรื่อยๆ ไม่มีวันหมดไปอย่างแน่นอน

12.แอดมินเพจ

2

กลายมาเป็นอาชีพที่สำคัญในการทำตลาดออนไลน์ ใครที่สนใจอาชีพนี้ต้องรีบอัพสกิลให้รอบด้านเพื่อเพิ่มโอกาสในการทำงานให้มากขึ้น รวมถึงยังสามารถแสดงความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างคอนเทนท์ได้มากขึ้นอีกด้วย

13.ตัดต่อวิดีโอ

หากใครมีความสามารถในการสร้างสรรค์ ตัดต่อ หรือถ่ายทำวิดีโอ แน่นอนว่าการรับจ้างผลิตวิดีโอคอนเทนต์ถือเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่มาแรงสุด ๆ เพราะความต้องการในการรับชมคอนเทนต์ใหม่ๆ ของผู้ชมที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง

14.ทำงานฝีมือ

1

งานฝีมือไม่เพียงแต่เป็นงานอดิเรกที่ช่วยสร้างความผ่อนคลายได้เท่านั้น แต่ยังเป็นอีกหนึ่งช่องทางของการหารายได้เสริมตากที่บ้านได้อีกด้วย ไม่จำเป็นต้องมีเงินลงทุนสูงๆ ขอเพียงแค่มีพื้นฐานความรู้ และไอเดียในการต่อยอด พลิกแพลง และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับชิ้นงานเท่านั้น

15.ทำงานโหล

การรับงานจากโรงงานมาทำ ส่วนมากจะเป็นพวกงานโหล เช่น การพับถุงกระดาษ การพับเหรียญโปรยทาน ร้อยลูกปัด แยกสีกระดุม เย็บผ้า ฯลฯ ซึ่งอาจจะต้องมี Skill เล็กน้อย แต่หากทำคล่องแล้วรับรองว่ารับงานได้เรื่อยๆ


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3gOMy30


 

8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช