12 ขั้นตอน สร้างแฟรนไชส์อย่างมีระบบ (ฉบับสมบูรณ์)

การเริ่มต้น สร้างระบบแฟรนไชส์นั้น ไม่ได้มีความซับซ้อนอะไรมากนัก เพียงแต่เจ้าของธุรกิจต้องการทีมงานที่มีความอดทน และการเข้าใจระบบงานแฟรนไชส์ในระดับที่ดีเป็นองค์ประกอบ

ขณะเดียวกันต้องมีแรงทุนทรัพย์เป็นตัวผลักดัน ขับเคลื่อนธุรกิจเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ เพราะก่อนที่จะขายแฟรนไชส์ได้นั้น ต้องมีร้านต้นแบบ ผ่านการลองผิดลองถูกมาก่อน และอื่นๆ

12 ขั้นตอน

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะขอนำเสนอ 12 ขั้นตอน การสร้างธุรกิจแฟรนไชส์อย่างเป็นระบบ เพื่อเป็นแนวทางให้กับเจ้าของธุรกิจที่สนใจอยากเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ มาดูกันว่ามีขั้นตอนอะไรบ้าง

การเริ่มต้น

ภาพจาก facebook.com/Tamsatansuang

1. ประเมินความเป็นได้ของธุรกิจที่ทำแฟรนไชส์

อย่าคิดว่าทุกธุรกิจสามารถทำเป็นแฟรนไชส์ได้ คิดจะขายแฟรนไชส์ก็ขายได้ทันที ธุรกิจที่จะทำเป็นแฟรนไชส์และขายสิทธิให้กับคนอื่นได้นั้น ต้องมีความพร้อมในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นที่นิยมชมชอบของลูกค้า เป็นที่ต้องการของตลาด เป็นกิจการที่มีผลกำไรมาแล้ว มีร้านสาขาอยู่บ้าง มีอายุธุรกิจนานพอที่จะสามารถนำเอาเทคนิคและรูปแบบบริหารมาถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้ และมีการสร้างทีมงานที่มีความรู้เรื่องระบบแฟรนไชส์

ดังนั้น ก่อนที่คุณคิดจะนำธุรกิจไปขายแฟรนไชส์ ต้องมีการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของธุรกิจ ว่ามีความพร้อมมากน้อยแค่ไหน อยู่ในระดับไหนแล้ว เพราะการขายแฟรนไชส์ต้องมีความพร้อม ถ้าไม่พร้อมก็จะเกิดปัญหาตามมามากมาย อาจต้องกลับไปเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ เรียกได้ว่าต้องวางรูปแบบของธุรกิจ กำหนด Concept ของธุรกิจให้คนรู้จัก ดึงดูดลูกค้าได้

2. การจดทะเบียนต่างๆ ตราสินค้า และลิขสิทธิ์

สิ่งหนึ่งที่สำคัญในการทำธุรกิจแฟรนไชส์ ก็คือ สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายการค้า หรือเครื่องหมายบริการของเจ้าของธุรกิจ ซึ่งเมื่อให้สัญญาแฟรนไชส์แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์แล้ว

สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายการค้าหรือ เครื่องหมายบริการของเจ้าของ ที่จะต้องใช้ควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจของผู้รับแฟรนไชส์ด้วย พร้อมกับการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพดีหรือมาตรฐานที่ดีของการให้บริการที่จะต้องควบคู่ไปพร้อมกับ การดำเนินธุรกิจดังกล่าวนั้นด้วย

12

ภาพจาก facebook.com/ChaTanyong

3. ร้านต้นแบบ

การสร้างร้านต้นแบบขึ้นมา 4-5 แห่ง ก็เพื่อนำมาศึกษาหาข้อดีข้อเสียของธุรกิจที่คุณกำลังทำ ว่ามีความสามารถเพียงใด ต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งเท่าใด ระบบการขายอย่างไร ระบบเก็บเงินอย่างไร หลายๆ อย่างจะได้จากร้านต้นแบบ

แต่ถ้าคุณมีร้านอยู่แล้ว ก็ต้องสร้างระบบควบคุมให้รัดกุม และ เป็นระบบที่สามารถกระจายการทำได้อย่างมีหลักมีเกณฑ์ เมื่อมีร้านต้นแบบ คุณก็จะสามารถคำนวณได้แล้วว่า จะมีของอะไรบ้าง ป้ายโฆษณา โลโก้ ขาดไม่ได้เลยทีเดียว

4. ระบบการจัดการธุรกิจ และการอบรม

การอบรมให้ทำธุรกิจได้ก็เป็นเรื่องสำคัญ คุณภาพของสินค้าของเราจะดีหรือไม่ก็ขึ้นกับคุณภาพของแฟรนไชวส์ซีด้วยว่า รับรู้วิธีการและเข้าใจในการดำเนินการธุรกิจมากน้อยเพียงใด ดังนั้น การอบรม จึงเป็นวิธีการพื้นๆ แต่ได้ผลในการทำให้ระบบงานทั้งระบบ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

11

ภาพจาก facebook.com/Yangimim

5. สัญญาและมูลค่าแฟรนไชส์

การตั้งราคามูลค่าแฟรนไชส์ ก็ควรตั้งให้เหมาะสมกับธุรกิจแฟรนไชส์ของตัวเอง การทำสัญญาให้รัดกุมก็เป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ปรึกษาทนาย และดูจากสัญญาของระบบงานอื่นดูบ้างก็ได้

6. การจัดหาวัตถุดิบ และควบคุมคุณภาพ

สินค้าจะมีคุณภาพหรือไม่ วัตถุดิบก็มีส่วนสำคัญ คุณภาพของวัตถุดิบที่เราจะนำมาทำนั้น เป็นคุณภาพแบบไหน ความชื้นเท่าได ต้องรักษาและดูแลอย่างไรถึงจะรักษาคุณภาพของวัตถุดิบ ให้เป็นไปตามกำหนดได้ การจัดซื้อจากแหล่งใดก็ต้องหา Supplier ที่สามารถควบคุมคุณภาพให้เราได้เช่นกัน

10

ภาพจาก facebook.com/rajaporkball

7. การจัดการเรื่องการรับ-ส่งวัตถุดิบ

คุณต้องเข้าไปดูแลตั้งแต่การรับสินค้าจาก Supplier การเก็บเข้าคลัง และการกระจายสินค้าออกไปสู่ แฟรนไชส์ซี การจัดทำ Packaging ที่ทำจากเครื่องเลย ก็มีส่วนช่วยให้ลดแรงงานลงไปได้ เช่น น้ำจิ้ม หรือ สูตรสำเร็จที่จะใส่ในน้ำซุปเป็นต้น

8. ราคาวัตถุดิบที่จะขายให้แฟรนไชส์ซี

ราคาวัตถุดิบที่จะขายนั้น ควรจะเป็นราคาที่ไม่สูง หรือ ต่ำจนเกินไป ต้องรับรู้ว่าจริงๆแล้ว เราต้องการสิ่งเหล่านี้ไปโดยตลอด เป็นรายได้หลักของเราที่จะเข้ามาทุกวัน หากคุณภาพและราคาไม่เหมาะกันแล้ว คุณอาจจะเสียลูกข่ายไปได้ง่ายๆ หรือ แฟรนไชส์ซี เล่นกลซื้อของอย่างอื่นมาใช้แทน คุณก็จะเสียรายได้หลักไปโดยปริยาย

9

ภาพจาก bit.ly/2RB8MHd

9. การวางแผนด้านการตลาด

การวางแผนการตลาดที่จะสนับสนุนการยอมรับตราสินค้าได้อย่างดี ทั้งด้านการสร้างตราธุรกิจ การสร้างลูกค้าที่เป็นผู้บริโภค รองรับการขยายของธุรกิจที่มีสาขามากขึ้น การตลาดที่ว่านี้ จะต้องรวมถึงการนำเสนอธุรกิจให้กับนักลงทุนได้อย่างดี น่าสนใจมากพอ ผู้ที่เป็นลูกค้าประจำของเราเองก็อาจจะ มีโอกาสที่จะกลายมาเป็นแฟรนไชส์ซีของคุณต่อไปก็ได้

10. วิเคราะห์วางแผนทางการเงิน

ร้านต้นแบบจะเป็นตัวช่วยในการวางโครงสร้างทางการเงิน เช่น ถ้าการเปิดแฟรนไชส์ 1 แห่ง จะมีรายละเอียดในการลงทุนอย่างไร มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง จุดคุ้มทุนจะอยู่ที่ลูกค้ากี่คน ยอดขายที่จะคุ้มค่าใช้จ่ายต่อเดือนอยู่ที่ตัวเลขประมาณเท่าไหร่ และเป้าหมายควรมีลูกค้าขั้นต่ำเท่าไหร่

โอกาสที่จะได้เงินลงทุนคืนประมาณกี่ปี และคุ้มไหมที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะลงทุนทำธุรกิจนี้  ร้านต้นแบบจะทำให้ได้ภาพที่ชัดขึ้น และมีตัวเลขที่เข้าใกล้ความเป็นจริงที่จะเกิดขึ้น ซึ่งส่วนนี้จะมีความสำคัญต่อการกำหนด การเก็บค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ (Franchise Fee) และค่าธรรมเนียมรายเดือน (Royalty Fee) ด้วย

8

ภาพจาก facebook.com/Pangaiyathailand

11. สร้างแบรนด์แฟรนไชส์ให้เป็นที่รู้จัก

หากคุณคิดจะทำธุรกิจให้เป็นแฟรนไชส์ ต้องลองสำรวจตลาดก่อนว่า แบรนด์สินค้าและบริการธุรกิจของคุณเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปหรือไม่ ถ้าคนไม่รู้จัก ธุรกิจคุณก็ไม่สามารถขายแฟรนไชส์ได้

ดังนั้น การสร้างแบรนด์สินค้าให้เป็นที่รู้จัก ก็เท่ากับว่าเป็นการสร้างรายได้ให้กับธุรกิจคุณด้วย ถ้าแบรนด์สินค้าของคุณดีก็จะมีคนบอกต่อปากต่อปาก ขยายฐานตลาดให้กว้างขึ้น นำไปสู่ยอดการขายที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

เพราะแบรนด์จะเป็นหน้าตาของธุรกิจคุณ เมื่อขายให้แฟรนไชส์ซีไปแล้ว แบรนด์นั้นก็จะติดไปด้วย ถ้าลูกค้ารู้จักแบรนด์คุณมาก่อน ก็จะทำให้แฟรนไชส์ซีขายสินค้าได้เหมือนกับคุณ ไม่ว่าจะไปตั้งร้านอยู่ที่ไหนก็ตาม นั่นก็จะสร้างความมั่งคงกลับมาให้กับธุรกิจคุณด้วย

12. จัดทำคู่มือการถ่ายทอดระบบแฟรนไชส์

ระบบแฟรนไชส์จำเป็นต้องมีคู่มือการดำเนินธุรกิจ ที่เป็นมาตรฐานเดียวกันกับร้านต้นแบบ คู่มือดังกล่าวจะเป็นไกด์หรือรูปแบบการบริหารธุรกิจ ที่เจ้าของแฟรนไชส์ใช้ในการถ่ายทอดประสบการณ์ทางธุรกิจที่มีมานานให้แก่ผู้อื่น

คู่มือเล่มนี้จะสามารถควบคุมให้การบริหารงานในระบบแฟรนไชส์มีความง่ายและราบรื่นขึ้น ไม่ว่าคุณจะขายแฟรนไชส์ไปกี่สาขา ทุกสาขาแฟรนไชส์ก็จะยึดแนวทางการปฏิบัติ แนวทางการบริหารธุรกิจ และการให้บริการในรูปแบบเดียวกัน เป็นมาตรฐานเดียวกัน

ถ้าคุณต้องการทำแฟรนไชส์ ต้องอย่าลืมจัดทำคู่มือการดำเนินงาน ตามแบบธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการบริการ การตกแต่งร้าน การทำตลาดและประชาสัมพันธ์ โปรโมชั่นต่างๆ การบริหารจัดการด้านการเงิน บริหารสต็อก เป็นต้น

สรุปก็คือ หลักการสร้างธุรกิจแฟรนไชส์อย่างเป็นระบบ ไม่ใช่อยู่ๆ จะลุกขึ้นมาเปิดขายแฟรนไชส์ได้เลย คุณต้องทำการศึกษาโอกาสและกระบวนการแฟรนไชส์ให้เข้าใจถ่องแท้ นอกจากการสร้างธุรกิจให้มีชื่อเสียง ลูกค้าชื่นชอบ คุณอาจจะต้องเข้าคอร์สอบรมการทำธุรกิจแฟรนไชส์จากองค์กรที่เกี่ยวข้อง หรือกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ด้วย

***** รวมคอร์สเรียนแฟรนไชส์ สร้างรายได้! ตลอดปี 2563 คลิก https://bit.ly/2PuE7IV

24


คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

TFC2022-1

TFC2022-2

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php

Franchise Tips

  1. ประเมินความเป็นได้ของธุรกิจที่ทำแฟรนไชส์
  2. การจดทะเบียนต่างๆ ตราสินค้า และลิขสิทธิ์
  3. ร้านต้นแบบ
  4. ระบบการจัดการธุรกิจ และการอบรม
  5. สัญญาและมูลค่าแฟรนไชส์
  6. การจัดหาวัตถุดิบ และควบคุมคุณภาพ
  7. การจัดการเรื่องการรับ-ส่งวัตถุดิบ
  8. ราคาวัตถุดิบที่จะขายให้แฟรนไชส์ซี
  9. การวางแผนด้านการตลาด
  10. วิเคราะห์วางแผนทางการเงิน
  11. สร้างแบรนด์แฟรนไชส์ให้เป็นที่รู้จัก
  12. จัดทำคู่มือการถ่ายทอดระบบแฟรนไชส์

อ้างอิงจาก  https://bit.ly/3d5CAFU

01565898888

ท่านใดสนใจอยากให้สร้างระบบแฟรนไชส์ แจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช