10 แบรนด์แฟรนไชส์จีน ที่คนไทยให้ความสนใจมากที่สุด

นับตั้งแต่ช่วงปี 2565 เป็นต้นมา ธุรกิจแฟรนไชส์จากจีนได้สร้างกระแสให้กับแวดวงธุรกิจในไทยได้เป็นอย่างมาก ด้วยกลยุทธ์ลงทุนแฟรนไชส์ต่ำ ขายสินค้าราคาถูก ทำให้รับความนิยมและขยายสาขาได้อย่างรวดเร็ว

มีทั้งแฟรนไชส์กลุ่มอาหาร เครื่องดื่ม ไอศกรีม ไม่ว่าจะเป็นไก่ทอด ชาบูหมาล่า กาแฟ ชานม ชาผลไม้ และไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟ มาดูกันว่ามีแฟรนไชส์จากจีนแบรนด์ไหนบ้าง ที่คนไทยค้นหาและให้ความสนใจมากที่สุด

1. Mixue

10 แบรนด์แฟรนไชส์จีน

MIXUE ภายใต้บริษัท มี่เสวี่ย (ประเทศไทย) จำกัด ถือเป็นแฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้จากจีนที่เข้ามาเปิดตลาดในไทยแบรนด์แรกๆ สาขาแรกเปิดที่รามคำแหง 53 ช่วงเดือน ก.ย. 2565 ปัจจุบันน่าจะมีราวๆ 250 สาขาทั่วประเทศ

กลยุทธ์ช่วงแรกปักหมุดทำเลขยายสาขาใจกลางกรุง ย่ายคนพลุกพล่าน สถานศึกษา ต่อมาบุกขึ้นห้างท้าชนแบรนด์ดังอย่างแดรี่ควีน ก่อนขยายอาณาจักรไปตามจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ เอกลักษณ์ของ Mixue อยู่ที่ขายไอศกรีมและชาผลไม้ราคาถูก เริ่มต้นที่ 15-50 บาท ส่วนการลงทุนแฟรนไชส์ในไทยอยู่ที่ประมาณ 1,557,500 บาท

Mixue เป็นที่รู้จักในหมู่ผู้บริโภครุ่นใหม่จากมาสคอต Snow King มนุษย์หิมะสวมมงกุฎและเสื้อคลุมสีแดง ช่วยสร้างเอกลักษณ์ให้กับแบรนด์ ปัจจุบัน Mixue มีร้านค้าประมาณ 45,000 สาขา

จำนวนราว 40,000 สาขาอยู่ในจีนแผ่นดินใหญ่ และที่เหลืออยู่ในอีก 11 ประเทศ โดยในช่วง 9 เดือนแรกปี 2024 Mixue ขายเครื่องดื่มได้กว่า 7,100 ล้านแก้ว และสาขาของ Mixue กว่า 99% จากทั้งหมด 45,000 แห่ง เป็นร้านแฟรนไชส์

2. Wedrink

10 แบรนด์แฟรนไชส์จีน

Wedrink แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ ก่อตั้งในปี 2557 ภายใต้บริษัท Runxiang Catering Company ให้บริการด้านไอศกรีมสด ชาผลไม้เป็นหลัก เมื่อเปิดตัวก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากและเป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภค ปัจจุบันมีจำนวนกว่า 5,000 สาขาทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นจีน, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, บรูไน, ลาว และประเทศไทย

โดยในไทยเข้ามาเปิดสาขาช่วงต้นปี 2567 สาขาแรกอยู่แถวรามคำแหง ปัจจุบันมีมากกว่า 150 สาขาทั่วประเทศ ภายใต้การบริหารของบริษัท ซินเจิ้ง เมนเนจเม้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด ถือเป็นแฟรนไชส์ไอศกรีมและชาจากจีนอีกแบรนด์ที่เติบโตอย่างรวดเร็วในไทย ใช้เงินลงทุนเปิดร้านแฟรนไชส์เริ่มต้น 1.5-2 ล้านบาท

3. Bing Chun

10 แบรนด์แฟรนไชส์จีน

BING CHUN แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ ก่อตั้งในจีนเมื่อปี 2555 ที่มณฑลเหอหนาน ก่อนขยายสาขาไปยังมณฑลต่างๆ เช่น เหอเป่ย ซานตง ซานซี ส่านซี อานฮุย กุ้ยโจว ยูนนาน เหลียวหนิง ซินเจียง และเมืองอื่นๆ มีสาขาในจีนกว่า 1,500 แห่ง และสาขาทั่วเอเชียมากกว่า 3,000 แห่ง เน้นขายสินค้าราคาถูกเหมือน MIXUE และ WEDRINK ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ ให้ความสำคัญในเรื่องรสชาติและบริการที่ดี

BING CHUN เข้ามาขยายตลาดในประเทศไทยเมื่อช่วงเดือน ส.ค. 2567 ภายใต้บริษัท ปิงฉุน ฟู้ด แมเนจเม้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดสาขาแรกที่แฟชั่นไอส์แลนด์ ใกล้กับบันไดเลื่อนชั้น 3

และเปิดเพิ่มอีก 3 สาขา ได้แก่ อุดรธานี (ตรงข้าง รพ.กรุงเทพอุดร), เชียงใหม่ (เข้าซอยยูนิลอฟ) และ ห้างยูเนี่ยนมอลล์ กรุงเทพฯ เปิดติดกับร้าน MIXUE ปัจจุบันมีมากกว่า 14 สาขาทั่วประเทศ ขายเมนูไอศกรีมและชาผลไม้เริ่มต้น 15-50 บาท ส่วนเงินลงทุนแฟรนไชส์ประมาณ 845,000 บาท

4. Zhengxin Chicken Steak

10 แบรนด์แฟรนไชส์จีน

แฟรนไชส์ไก่ทอด Zhengxin Chicken Steak ก่อตั้งโดยคุณ Chen Chuanwu ที่เมืองเหวินโจว มณฑลเจ้อเจียง ประเทศจีน เริ่มขายแฟรนไชส์ในปี 2556 ตอนนี้มีมากกว่า 20,000 สาขาในจีน และได้รับเลือกเป็น 1 ใน 100 แบรนด์อาหารจีนชั้นนำอีกด้วย Zhengxin Chicken

เข้ามาเปิดตลาดในไทยปี 2567 เปิดสาขาแรก One Connex ภายใต้การบริหารบริษัท แอลที เอฟแอนด์บี จำกัด ปัจจุบันมีจำนวน 4 สาขา ชูกลยุทธ์ขายสินค้าหลากหลายเมนู ราคาถูก เช่น สเต็กไก่ ไก่ทอด ไอศกรีม ขายเริ่มต้น 15-50 บาท เหมือน MIXUE และ WEDRINK ตกแต่งร้านด้วยโทนสีแดง ในจีนลงทุนแฟรนไชส์ราวๆ 814,669 บาท หรือ 173,864 หยวน

5. Wallace Burger

ภาพจาก www.facebook.com/wallacethailand

แฟรนไชส์ไก่ทอดและเบอร์เกอร์ Wallace ก่อตั้งปี 2000 สาขาแรกอยู่ในมหาวิทยาลัยครูฝูเจี้ยน เมืองฝูโจว โดยสองพี่น้อง หัว หวยหยู (Hua Huaiyu) และ หัว หวยชิง (Hua Huaiqing) ใช้เงินทุนเพียงแค่ 80,000 หยวน ในตอนแรกทั้งสองทำธุรกิจลอกเลียนแบบแฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดตะวันตกอย่าง KFC และ McDonald’s แต่ผลตอบรับกลับไม่ดี

ต่อมาทั้งสองตัดสินใจปรับกลยุทธ์ราคาถูก เข้าถึงง่าย เปลี่ยนจากร้านใหญ่เป็นร้านเล็ก และเปิดตัวโปรโมชั่น 123 คือ โค้ก 1 หยวน ขาไก่ 2 หยวน แฮมเบอร์เกอร์ 3 หยวน ทำให้ Wallace ขยายกิจการได้อย่างรวดเร็ว
สำหรับในไทย Wallace

เปิดตัวเมื่อช่วงวันที่ 11 ม.ค. 2568 สาขาแรกที่มหาวิทยาลัยหัวเขียว สาขา 2 ที่ท่าน้ำนนท์ วันที่ 10 ก.พ. 2568 โดยบริษัท ซีเอฟจี แอนด์ เจอีทีไอ (ไทยแลนด์) จำกัด เป็นผู้นำเข้ามาในฐานะมาสเตอร์แฟรนไชส์เพียงผู้เดียวในไทย ปัจจุบันมี 4 สาขา ชูจุดเด่นไก่ทอดทั้งตัวมาคู่กับแฮมเบอร์เกอร์ ราคาสินค้าเริ่มต้น 39 บาท

6. Haidilao

10 แบรนด์แฟรนไชส์จีน

Haidilao ร้านอาหารแนวหม้อไฟสัญชาติจีน ก่อตั้งปี 1994 โดย 2 สามีภรรยาจากมณฑลเสฉวน ตัดสินใจเปิดร้านหม้อไฟ ให้บริการน้ำซุปรสเผ็ด ที่ลูกค้าสามารถปรุงเนื้อสัตว์และผักได้ที่โต๊ะ เนื่องจากเป็นอาหารที่ค่อนข้างธรรมดา Haidilao จึงตัดสินใจทำร้านที่แตกต่างจากคู่แข่ง

ตั้งแต่ช่วยถือหิ้วถุงให้ลูกค้า รวมถึงช่วยดูแลเด็กน้อยที่เดินทางมาด้วย บริการไม่ธรรมดาเหล่านี้ประสบความสำเร็จจนทำให้คู่แข่งใกล้เคียงเริ่มปิดร้านไป ส่งให้ Haidilao เติบโตขึ้นเป็นสุดยอดร้านหม้อไฟที่ยิ่งใหญ่กว่าเดิม ปัจจบันมีสาขามากกว่า 1,600 แห่งทั่วโลก

Haidilao เปิดสาขาแรกในไทยปี 2562 ที่เซ็นทรัลเวิล์ด ภายใต้บริษัท ไฮ้ ดิ เหลา พร็อพไพรเอทเทอร์รี่ (ไทยแลนด์) จำกัด ปัจจุบันมีจำนวน 10 สาขา ชูกลยุทธ์บริการประทับใจ, ใช้วัตถุดิบคุณภาพดีม แบรนด์แข็งแกร่ง โดยมีเมนูฮิตฟองเต้าหู้ทอด

7. CHAGEE

10 แบรนด์แฟรนไชส์จีน

CHAGEE (ชาจี) แบรนด์ชาพรีเมียมจากจีน มีจุดเริ่มต้นในมลฑลยูนนาน ประเทศจีน เปิดสาขาแรกปี 2560 ในเมืองคุณหมิง มีจุดเด่นอยู่ที่การนำเสนอเครื่องดื่มชาทำจากใบชาสดแท้ คุณภาพระดับพรีเมียม หลากหลายชนิด อาทิ ชาเขียว

เช่น ชาเขียวใบข้าว และชาเขียวมะลิ, ชาอู่หลง ชาจีนที่คนชื่นชอบในรสชาติและกลิ่นหอม มีให้เลือกทั้งอู่หลงทิกวนอิม, อู่หลงไวท์พีช อู่หลงต้าหงเผา เปรียบเสมือนราชันแห่งชาอู่หลง, อู่หลงดอกกุ้ยฮวา และชาผู่เอ๋อร์ ชาจีนที่ให้ความสดชื่น และช่วยคลายเครียด

ล่าสุด CHAGEE เข้าระดมทุนในตลาดหุ้น Nasdaq สหรัฐอเมริกาได้สำเร็จ สามารถระดมทุนจากการขายหุ้น IPO ไปได้ถึง 411 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยตั้งราคาหุ้นที่ราคาสูงสุดของช่วงที่กำหนด หลังเปิดการซื้อขายวันแรก หุ้น CHAGEE พุ่งขึ้น 16% ปิดตลาดที่ราคาหุ้นละ 32.44 ดอลลาร์สหรัฐ ดันมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของ Zhang Junjie คนก่อตั้ง ขึ้นแตะ 2,100 ล้านดอลลาร์

ปัจจุบัน CHAGEE มีร้านชากว่า 6,440 สาขา โดยส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในจีน สำหรับในไทย CHAGEE เข้ามาเปิดตลาดเมื่อปี 2565 สาขาแรกเซ็นทรัลเวิลด์ ภายใต้บริษัท อีสบริดจ์ จำกัด และบริษัท ที เนชั่น จำกัด ราคาเริ่มต้น 85 บาท ชูกลยุทธ์เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ สร้างภาพจำด้วยดีไซน์ และมีทิมมิกดึงดูดลูกค้า มีเมนูฮิตชานมมะลิ

8. Taning

10 แบรนด์แฟรนไชส์จีน

Taning (ถาหนิง) แฟรนไชส์ชามะนาวมีต้นกำเนิดมาจากกวางโจว ประเทศจีน เข้ามาเปิดตลาดในไทยปี 2565 สาขาแรกเซ็นทรัลเวิลด์ และสาขา2 ที่ไอคอนสยาม ภายใต้การบริหาร บริษัท ยาเน็ท เอเชีย พีทีอี จำกัด

โมเดลร้านดีไซน์โดดเด่นสะดุดตา มีเมนูชามะนาวเป็นมนูซิกเนเจอร์ มีการสกัดมะนาวโดยใช้วิธีการ Smash ถึง 25 ครั้ง ทำให้ได้กลิ่นหอมแตกต่างจากแบรนด์อื่น ชูกลยุทธ์ขายความออร์แกนิก, เน้นโชว์กรรมวิธี, เสิร์ฟปริมาณคุ้มค่า

9. Naixue

NAIXUE แฟรนไชส์เครื่องดื่มชาจีนระดับพรีเมียม มีสาขามากกว่า 1,900 สาขาทั่วโลก เปิดสาขาแรกในไทยเมื่อปลายปี 2566 ที่ Emsphere สุขุมวิท ได้สร้างกระแสให้ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เกิดความสนใจต่อคิวยาว เพื่อลิ้มลองรสชาติเครื่องดื่มต้นตำรับที่ส่งตรงจากประเทศจีน

ส่วนสาขา 2 ได้เปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่ในเซ็นทรัลเวิลด์ เมื่อเดือน ส.ค. 67 ได้สร้างสถิติใหม่ เปิดบริการเพียง 3 วัน ยอดขายเกือบ 1 ล้านบาท ชูกลยุทธ์โฮมเมดแบบพรีเมียม, สร้าง Vibe ความจริงใจ, ไอเดียเมนูแบบฟิวซัน มีเมนูฮิต ทาร์ตไข่, ชาอู่หลง

10. Molly Tea

ภาพจาก https://www.mollytea.com

Molly Tea แฟรนไชส์เครื่องดื่มชาสุดฮิตจากจีน ก่อตั้งในปี 2564 โดยคุณ Zhang Bocheng เปิดสาขาแรกที่เซินเจิ้น ปัจจุบันมีสาขาทั่วโลกกว่า 600 แห่ง เปิดสาขาแรกในไทยช่วงเดือน ก.ย. 2567 ที่สยามสแควร์ ซอย 3 ภายใต้บริษัท มอลลี่ ที (ประเทศไทย) จำกัดขายราคาเครื่องดื่มเริ่มต้น 110 บาท

Molly Tea วาง Position ให้ตัวเองเป็นแบรนด์เครื่องดื่มชาแบรนด์แรกที่เน้นชามะลิ โดยดึงเอกลักษณ์ของความเป็นชาตะวันออก ให้เข้ากับชีวิตประจำวันของคนยุคใหม่ ชูกลยุทธ์แพ็คเกจจิ้งน่าดึงดูด, สินค้าตอบโจทย์ลูกค้า, พนักงานเป็นกันเอง มีเมนูฮิตชานมมะลิพรีเมียม

ทั้ง 10 แบรนด์แฟรนไชส์จีน ที่คนไทยให้ความสนใจมากที่สุด ด้วยเหตุผลแฟรนไชส์จีนส่วนใหญ่ ชูจุดขายราคาเริ่มต้นไม่แพง เช่น ไอศกรีมเริ่มต้น 15 บาท ทำให้โดนใจกลุ่มวัยรุ่น นักเรียน นักศึกษา ส่วนเครื่องดื่มชาผลไม้ ชูชาพรีเมียมต้นตำรับจากจีน

ที่สำคัญสินค้ากินง่าย เหมาะกับไลฟ์สไตล์ไทย ทั้งชานม ไอศกรีม ของทอด หรือหม้อไฟ ล้วนเป็นสิ่งที่คนไทยนิยมอยู่แล้ว ยิ่งมีรสชาติแบบจีนฟิวชันที่ไม่ฉุนหรือเผ็ดจัดเกินไป ทำให้ถูกใจคนไทยได้ง่าย

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช