ไขปริศนา! Boost Juice Bars ยังไม่ขายแฟรนไชส์

หากพูดถึงร้านเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพสุดฮิตในเมืองไทยตอนนี้ หนึ่งในนั้นคงหนีไม่พ้น Boost Juice Bars แบรนด์ร้านน้ำผักผลไม้และสมูทตี้ส่งตรงจากประเทศออสเตรเลีย เรื่องราวและความโดดเด่นของ Boost Juice Bars มีความน่าสนใจอย่างไร รวมถึงคนที่สนใจอยากเปิดร้าน Boost Juice Bars สามารถซื้อแฟรนไชส์ได้หรือไม่ วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลมานำเสนอให้ทราบครับ

จุดเริ่มต้น Boost Juice Bars

Boost Juice Bars

ภาพจาก https://bit.ly/3z0dO4l

Boost Juice Bars เกิดขึ้นจากแนวความคิดของผู้หญิงชาวออสเตรเลียที่ชื่อ Janine Allis โดยในช่วงปี 1999 เธอมีโอกาสเดินทางไปสหรัฐอเมริกาได้เห็นผู้คนชอบน้ำผลไม้และสมูทตี้เพื่อสุขภาพ ขณะที่ในประเทศออสเตรเลียของเธอมีแต่ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดซึ่งไม่ดีต่อสุขภาพ เพราะมีทั้งบริการน้ำหวานและน้ำอัดลม เธอจึงตัดสินใจเปิดร้าน Boost Juice Bars แห่งแรกเมืองแอดิเลด รัฐเซาท์ออสเตรเลียในปี 2000 หลังจากนั้นทำการขยายสาขาได้อย่างรวดเร็วด้วยระบบแฟรนไชส์

เรื่องราวของความสำเร็จร้านเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ Boost Juice Bars ต้องใช้ระยะเวลานานพอสมควร ประมาณ 4 ปี ที่ Janine Allis ได้เริ่มธุรกิจก่อนจะขยายแบรนด์ไปทั่วโลกด้วยการเปิดแฟรนไชส์ที่มีมากกว่า 600 สาขา 15 ประเทศ โดยโมเดลธุรกิจของ Boost Juice Bars จะเน้นเป็นแบบการขายแฟรนไชส์ ทำให้มีการขยายสาขาได้รวดเร็ว โดยไม่ต้องลงทุนเองทั้งหมด นอกจากนี้ยังเป็นแบรนด์น้ำปั่นและน้ำผลไม้ที่ใหญ่ที่สุดในซีกโลกใต้ ติด Top 5 ของโลกอีกด้วย

ยังไม่ขายแฟรนไชส์

ภาพจาก เพจ FB : Boost Juice Bars Thailand

Boost Juice Bars มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นกว่าร้านเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพทั่วไป คือ มีเมนูเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพมากมาย อาทิ น้ำแอปเปิ้ล, น้ำส้ม, น้ำสตอเบอร์รี่ ฯลฯ รวมถึงเมนูสมูทตี้ต่างๆ เช่น All Berry Bang, Strawberry Squeeze, Banana Buzz ฯลฯ นอกจากนี้ ยังมีเมนู Frozen Yoghurt เป็นโยเกิร์ตไขมันต่ำ พร้อมท๊อปปิ้งเป็นผลไม้สดต่างๆ ไว้พร้อมเสิร์ฟบริการลูกค้าที่ต้องการความสดชื่นด้วยเมนูรักสุขภาพที่หลากหลาย

ความน่าสนใจของตัวสินค้าที่เป็นน้ำผลไม้ปั่น ก็คือ ความหลากหลายของเมนูที่ทำให้ไม่รู้สึกน่าเบื่อหรือจำเจ พร้อมกับความเข้าใจว่าความหมายของ “สุขภาพ” แต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน เลยสะท้อนออกมาเป็นเครื่องดื่มในร้านที่มีให้เลือกหลากหลาย เช่น เครื่องดื่มที่ผสมโปรตีน สำหรับคนที่ต้องการสร้างกล้ามเนื้อ หรือการผสมกับช็อกโกแลตเอาใจคนรักโกโก้

ยังไม่ขายแฟรนไชส์

ภาพจาก เพจ FB : Boost Juice Bars Thailand

สำหรับในประเทศไทยนั้น Boost Juice Bars เข้ามาเปิดสาขาแรกที่ห้างสยามพารากอน เดือนพฤศจิกายน ปี 2564 หลังจากนั้นมีการขยายสาขาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตามห้างสรรพสินค้าชั้นนำ ปัจจุบันมีจำนวน 22 สาขา ซึ่งล่าสุดเปิดสาขาที่ ชั้น G โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ ราชพฤกษ์

Boost Juice Bars ยังไม่ขายแฟรนไชส์

ยังไม่ขายแฟรนไชส์

ภาพจาก เพจ FB : Boost Juice Bars Thailand

แม้ว่า Boost Juice Bars จะดำเนินธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ และมีการขยายสาขาไปในหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงไทย แต่รูปแบบธุรกิจเป็นการให้สิทธิมาสเตอร์แฟรนไชส์ หรือตัวแทนในแต่ละประเทศ รับหน้าที่บริหารจัดการธุรกิจเพียงผู้เดียว ไม่ได้ขายสิทธิแฟรนไชส์ให้กับนักลงทุนและประชาชนทั่วๆ ไป

สำหรับในเมืองไทยนั้น Boost Juice Bars มีจำนวนสาขา 22 สาขา บริหารจัดการธุรกิจโดยมาสเตอร์แฟรนไชส์ในประเทศมาเลเซีย และ ยังไม่ขายแฟรนไชส์ ในประเทศไทยด้วยเช่นกัน

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ข้อมูล

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช