เผย 10 วิธีที่ผู้ประกอบการทำลาย แบรนด์ ตัวเองโดยไม่รู้ตัว!

การมี แบรนด์ สินค้าเหมือนเป็นการปรับปรุงชื่อเสียงและสร้างความสัมพันธ์ร่วมกันระหว่างกลุ่มลูกค้าและผู้ประกอบการธุรกิจ Warren Buffett กล่าวว่า “It takes 20 years to build a reputation and five minutes to ruin it” มันต้องใช้เวลากว่า 20 ปีในการสร้างชื่อเสียงแต่ใช้เพียงแค่ 5 นาทีในการทำลาย

นั้นหมายถึงว่ามีอีกหลายอย่างที่ผู้ประกอบการทำไปโดยไม่ได้ตั้งใจแต่การกระทำนั้นไม่ต่างจากการทำลายแบรนด์ของตัวเองอย่างไม่รู้ตัว www.ThaiSMEsCenter.com จึงขอนำเสนอ 10 ต้องห้ามที่เราไม่ควรทำถ้าอยากให้ธุรกิจที่ลงทุนนั้นประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว

แบรนด์

ภาพจาก http://goo.gl/zQ3hDb

1. คุณไม่ได้ทำธุรกิจด้วยความรู้สึกที่แท้จริง

งานทุกงานเราต้องเริ่มจากความรักและรู้สึกดี เหมือนที่ James T. Noble กล่าวในหนังสือ KISSMetrics ว่า “means staying true to who you are, what you do and who you serve.” เมื่อคุณไม่ได้จริงใจกับสิ่งที่ทำ ก็คงไม่มีใครอยากมาใช้บริการจากคุณ

แม้บางครั้งเราอาจสร้างแบรนด์ได้อย่างสวยงามแต่ถ้าขาดความเป็นตัวตนธุรกิจนั้นๆก็อาจดูด้อยค่าเป็นช่องทางให้คู่แข่งก้าวขึ้นมาเป็นเบอร์หนึ่งแทนสินค้าเราได้และหากจะเริ่มจุดนี้ได้อย่างถูกต้องขั้นแรกเราต้องรู้จักตัวเองมากพอ ใจกว้างกับเพื่อนร่วมธุรกิจ รับผิดชอบทุกอย่างที่เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ทั้งนี้เพื่อทำให้ลูกค้ามั่นใจในความเป็นแบรนด์ของเรามากขึ้น

2. การสร้างเนื้อหาของสินค้าที่ไม่ถูกต้อง

สิ่งจูงใจในการนำเสนอเป็นเหมือนดาบสองคม ดังนั้นต้องทำให้เกิดความสมดุล การสร้างเนื้อหาควรน่าสนใจแต่ก็ต้องไม่มากเกินไปจนเป็นเรื่องเกินจริง ตามหลักของเศรษฐศาสตร์ทฤษฏี “80/20 Rule” หมายถึง เนื้อหาที่เป็นความจริง 80 กับสิ่งที่เสริมเติมแต่งให้น่าสนใจที่ 20 ถ้ามากหรือน้อยกว่านี้สินค้าก็จะขาดความน่าเชื่อถือโดยปริยาย

sa2

ภาพจาก http://goo.gl/ePmj8h

3. ปราศจากการตอบสนองในช่องทางการสื่อสารต่างๆ

นี่คือสิ่งที่เรียกว่าเป็นผลกระทบโดยตรงกับการเพิกเฉยต่อการตอบคำถาม หรือไขข้อข้องใจจากผู้ที่สนใจในธุรกิจ ซึ่งอาจมาได้หลายช่องทางในโลกของโซเชี่ยล

นักวิชาการเศรษฐศาสตร์กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า “It only takes a couple of minutes, but it will develop long-lasting relationships with influencers and clients.” หรือเพียงแค่คุณเอื้อมมือในเพียงไม่กี่นาทีแต่มันสามารถพัฒนาความสัมพันธ์ที่ยาวนานกับลูกค้าในธุรกิจของคุณได้

4. สร้างความน่าสนใจในแบรนด์น้อยครั้งเกินไป

บางครั้งเราคิดว่ามันเป็นเรื่องที่มากเกินพอกับการนำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจของผลิตภัณฑ์แต่ที่จริงมันคือความต่อเนื่องที่เราควรทำอย่างสม่ำเสมอ อย่าพยายามสร้างจุดเด่นเพียงครั้งเดียว เพราะการสร้างความจดจำนั้นต้องมาเป็นระลอกเพื่อให้กระตุ้นความรู้สึกทางธุรกิจได้อย่างเป็นธรรมชาติ

sa3

ภาพจาก http://goo.gl/vNIVJX

5. ไม่รู้จริงในสินค้าด้านคุณภาพและบริการอย่างชัดเจน

มีนักลงทุนไม่น้อยที่ไม่เคยรู้จักสินค้าตัวเองมาก่อน แต่สามารถบอกต่อหรือนำเสนอให้ผู้ที่สนใจ นี่คือพลังทำลายที่จะสะท้อนกลับมาในภายหลัง การเป็นมืออาชีพที่แท้จริงคุณต้องรู้เกี่ยวกับสิ่งที่จะนำเสนออย่างละเอียดและแน่ใจได้ว่าสินค้าหรือบริการนั้นมีประโยชน์กับคนที่ต้องการ เพราะเมื่อกระบวนซื้อขายเริ่มขึ้นเราจะย้อนกลับมาทำในจุดนี้ไม่ได้อีกแล้ว

6. การให้รายละเอียดสินค้าและบริการมากเกินไปก็ไม่ใช่สิ่งที่จำเป็น

การให้ข้อมูลที่ละเอียดแม้เป็นเรื่องดีที่ทำให้คนซื้อรู้สึกเหมือนได้เปิดใจคุยกัน แต่ในอีกแง่มุมหนึ่งการพูดเกินความจำเป็นหรือรายละเอียดที่ไม่เกี่ยวข้องก็สะท้อนให้เห็นภาพลักษณ์อีกด้านที่ทำให้เกิดแง่มุมที่ไม่เหมาะสม

บางคนอาจจะแค่อยากรู้เท่านั้นการขายที่ดีคือทำให้คนซื้อรู้สึก “ต้องการ” และเริ่มตามหาสินค้า นักธุรกิจระดับโลกที่ประสบความสำเร็จในเรื่องนี้กล่าวว่า “Bombarding their accounts with too much information is a guaranteed way to turn people off.” ข้อมูลที่มากเกินไปก็ทำให้คนรู้สึกว่าไม่จำเป็นและไม่ต้องการ

sa4

ภาพจาก http://goo.gl/Tkwn7L

7. การใช้ภาพที่มีแต่ความสวยงามแต่ไม่ใช่สินค้าที่ต้องการนำเสนอ

การสื่อสารที่ดีต้องใช้ภาพสินค้าที่ต้องการขายเพื่อเจาะกลุ่มลงไปให้ชัดเจนถึงความต้องการนั้น บางครั้งการนำเสนอที่สวยงามแต่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสินค้าอาจดูน่าสนใจแต่คนจะไม่ต้องการสินค้าที่เรานำเสนอเช่นกัน การถ่ายภาพเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก ภาพที่สินค้าที่สวยงามย่อมนำมาซึ่งการซื้อขาย บางครั้งคนไม่ได้ดูเนื้อหามากแต่สนใจที่ภาพประกอบเป็นอันดับแรก

8. เว็บไซต์สวยงามแต่ยากต่อการติดต่อ

ในขณะที่สื่อออนไลน์อื่นๆอย่าง Facebook หรือTwitter มีปัญหาในเรื่องนี้น้อยกว่า แต่เว็บไซต์ที่เป็นเหมือนบ้านหลังที่สองของธุรกิจดังนั้นการจัดวางต้องให้ง่ายต่อแขกผู้มาเยือน การมีเว็บไซต์ที่สีสันฉูดฉาดไม่ได้การันตีว่าคนจะสนใจ การออกแบบควรเรียบง่ายเข้าถึงง่าย ที่สำคัญต้องไม่รกจนเกินไปก็จะทำให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้ง่ายขึ้น

sa5

ภาพจาก http://goo.gl/9AKCVJ

9. การเคลื่อนไหวทางธุรกิจที่น้อยเกินไป

บางครั้งเราอาจจะยุ่งกับการทำธุรกิจมากจนละเลยเรื่องความเคลื่อนไหวที่มีอีกหลายคนกำลังติดตาม นี่คือการสูญเสียโอกาสที่ยิ่งใหญ่ การหยุดนิ่งในเรื่องการอัพเดทอาจทำให้ความเข้าใจนั้นคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับธุรกิจที่เรากำลังทำอยู่

นักวิชาการทางธุรกิจพูดถึงเรื่องนี้ว่า “If you don’t make your presence known, someone else will step-in and take away any momentum that you’ve had going for you. ถ้าคุณขาดการนำเสนอที่ต่อเนื่องให้คนที่อยากรู้จัก โมเมนตัมทางธุรกิจของคุณที่เริ่มดีก็จะเปลี่ยนแปลงไป

10. มองข้ามตัวเลขผู้ที่สนใจในธุรกิจที่กำลังทำอยู่

แม้บางครั้งการเข้าถึงข้อมูลจะเป็นเพียงการเข้ามาดูรายละเอียด แต่ตัวเลขที่ขยับนี้ก็เป็นตัวบ่งชี้ถึงความน่าสนใจในอนาคตหลายคนมุ่งมั่นที่จะสนใจเอาแต่คนที่ต้องการสินค้าแต่ไม่พัฒนาเรื่องยอดคนที่เข้ามาติดตามสินค้า

นั้นหมายถึงการลดอำนาจแห่งการซื้อขายที่จะเกิดขึ้นต่อไปเพราะกลุ่มที่ยังไม่ตัดสินใจนี้อาจมีกำลังซื้อที่มากพอจะเปลี่ยนแปลงธุรกิจให้ดีขึ้นในวันข้างหน้าก็เป็นไปได้ ดังนั้นทางที่ดีเราควรดูแลและแบ่งปันข้อมูลอย่างเป็นระบบเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจที่ดีต่อไป

นี่คือรายละเอียดของ 10 วิธีที่หลายคนอาจมองข้าม ความจริงก็ดูเหมือนเป็นเรื่องเล็กน้อยแต่ถ้าคิดจะทำธุรกิจอย่างจริงจังรายละเอียดที่ดูไม่น่าสนใจอาจหมายถึงผลประกอบในอนาคต บางครั้งการปรับเปลี่ยนเทคนิคเพียงเล็กน้อยอาจมีผลให้ธุรกิจที่ลงทุนเกิดการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดดก็เป็นได้

ขอบคุณข้อมูลจาก https://goo.gl/79bRhY

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด