อยากมีรายได้เพิ่มยุค “เงินเฟ้อ” ทำอะไรได้บ้าง?

ท่ามกลางสถานการณ์ทั้งเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวชัดเจน ปัญหาใหญ่คือคนไทยมีรายได้น้อยลงแต่มีรายจ่ายมากขึ้น และไม่รู้ว่าปัญหานี้จะลากยาวไปถึงเมื่อไหร่ คาดการณ์ว่าการกลับมาเหมือนเดิมคงเป็นเรื่องยาก

เท่ากับว่าการใช้ชีวิตของคนนับแต่นี้ต้องหาวิธีเอาตัวรอดและหาวิธีสร้างรายได้ชนิดที่ต้องปรับตัวกันใหม่ www.ThaiSMEsCenter.com เข้าใจความรู้สึกของคนไทยอย่างดีและต้องการหาวิธีสร้างรายได้ที่ดีที่สุดเพื่อเป็นทางออกให้กับคนไทย ผ่อนหนักให้เป็นเบาได้ก็ยังดี

เงินเฟ้อ” ปัญหาใหญ่! ของคนทั้งประเทศ

เงินเฟ้อ

เงินเฟ้อ (Inflation) หมายถึง ภาวะที่ราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งยิ่งเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ส่งผลโดยตรงต่อประชาชนจำนวนมาก ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ ระบุว่า อัตราเงินเฟ้อไทยปรับตัวขึ้นต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมาประเมินเฉลี่ยทั้งปี 2565 จะเร่งตัวขึ้นถึง 4.9% สูงที่สุดในรอบ 14 ปี จึงเป็นปัญหาต่อการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนที่ต้องแบกรับภาระค่าครองชีพที่สูงขึ้น

แต่รายได้ยังเท่าเดิม เช่น พนักงานออฟฟิศเคยกินข้าวกลางวันเฉลี่ยมื้อละ 35 บาท แต่พอเมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนของวัตถุดิบเช่น หมู ไก่ ข้าว น้ำมัน หรือการขนส่งปรับตัวสูงขึ้นจึงทำให้ข้าวกลางวันปรับสูงขึ้นเฉลี่ยมื้อละ 50 – 60 บาท เป็นต้น ในขณะที่รายได้ของพนักงานออฟฟิศยังเท่าเดิม จึงส่งผลกระทบต่อการจับจ่ายใช้สอยของกินของใช้ได้น้อยลง เป็นต้น

นอกจากนี้ข้อมูลยังระบุว่าสัดส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ของครัวเรือนไทยในกลุ่มที่มีรายได้รวม 25,000 -50,000 บาทต่อเดือนอยู่ประมาณ 75% ในปี 2565 และสำหรับครัวเรือนกลุ่มที่มีรายได้รวมอยู่ที่ 15,000 – 25,000 บาท จะมีรายจ่ายอยู่ประมาณ 87% และข้อมูลยังระบุต่ออีกว่ามีประชาชนมากกว่า 9 ล้านครัวเรือน (41% ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมด) ที่ไม่ได้มีความพร้อมในการรับมือปัญหาเงินเฟ้อครั้งนี้

อยากมีรายได้เพิ่มยุค “เงินเฟ้อ” ทำอะไรได้บ้าง?

6

ความเป็นจริงที่โหดร้ายสะท้อนชัดเจนว่าสังคมไทยยัง “รวยกระจุก จนกระจาย” ข้อมูลระบุว่าครัวเรือนไทยโดยรวมจะมีภาระผ่อนส่งหนี้สินราว 4,400 บาทต่อเดือน ขณะที่ครัวเรือนกลุ่มรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท มักมีรายได้ไม่เพียงพออยู่แล้ว ส่วนใหญ่จึงมักเป็นหนี้นอกระบบ ไม่ต้องพูดถึงเงินเก็บเงินออมยามฉุกเฉินที่มีน้อยมาก

โดยเฉพาะครัวเรือนกลุ่มรายได้รวมต่ำกว่า 25,000 บาทลงมาที่ส่วนใหญ่ไม่เหลือเงินเก็บแค่ให้พอใช้แบบเดือนชนเดือนก็ยังไม่ได้ด้วย สิ่งที่ทำได้ดีที่สุดตอนนี้คือ “การหารายได้เพิ่ม” แบบที่ “ไม่ต้องลงทุนเพิ่ม” คำถามคือเราจะทำอะไรได้บ้าง ลองไปดูกัน

1.ทำงานประจำ

5

ในกรณีของคนที่ยังมีงานประจำทำอยู่ให้ยึดงานประจำที่ทำเอาไว้ก่อน แม้เงินเดือนจะไม่สูงมาก แต่ก็ยังดีกว่าไม่ได้อะไรเลย เช่นคนที่ทำงานบริษัทได้เงินต่อเดือนประมาณ 15,000 -20.000 แม้งานจะหนัก มีปัญหามาก แต่ก็ให้คิดซะว่ายังพอได้เงินมาประคับประคองสถานการณ์ในตอนนี้ ถ้าตัดสินใจลาออกหวังมาสร้างรายได้มากขึ้นอาจได้ไม่คุ้มเสียในช่วงนี้

2.เปลี่ยนวิธีการใช้เงิน

4

การเปลี่ยนวิธีใช้เงินก็คือการสร้างรายได้เพิ่มในอีกรูปแบบหนึ่ง ยุคนี้ต้องเน้นการรัดเข็มขัดให้มากขึ้นคือลดทั้งการบริโภค , เปลี่ยนไปซื้อของที่ราคาถูกลง รวมถึงชะลอการตัดสินใจซื้อ เพื่อให้สถานะการเงินที่มีนั้นได้รับผลกระทบน้อยที่สุดและเพื่อให้ดำเนินชีวิตต่อไปในระยะยาวได้อย่างมีคุณภาพ

3.อย่าสร้างหนี้เพิ่ม

3

การไม่มีหนี้เพิ่มก็เท่ากับว่ารายจ่ายเราไม่เพิ่มแม้รายได้จะไม่เพิ่มแต่ก็พอจะทำให้สถานะการเงินเราคล่องตัวขึ้นได้ แม้คาดว่าเมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อเช่นนี้จะยิ่งดันให้ตัวเลขหนี้ครัวเรือนสูงขึ้นอีกมาก ในระยะยาวจะมีปัญหาการชำระคืนอย่างชัดเจน ดังนั้น ทางที่ดีควรวางแผนการใช้เงินให้ดีและหากเป็นไปได้ชะลอการก่อหนี้เพิ่มต่างๆ เพื่อจะได้ไม่ต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น

4.ลงทุนสร้างรายได้เพิ่มที่ใช้งบน้อยที่สุด

2

สำหรับคนงบน้อยการสร้างรายได้เพิ่มด้วยการลงทุนมากย่อมเป็นไปไม่ได้ แต่ข้อดีของยุคนี้คือมีแฟรนไชส์หลายแบรนด์ที่ให้เราเลือกลงทุนได้ในราคาไม่แพง บางแฟรนไชส์ลงทุนเริ่มต้นไม่เกิน 5,000 ก็สามารถเปิดร้านได้ หรือบางที่ก็ไม่มีค่า แฟรนไชส์แค่สั่งวัตถุดิบมาเพื่อขาย อุปกรณ์มีอะไรก็หยิบมาใช้ได้ รวมไปถึงการลงทุนด้วยการขายของออนไลน์ที่ไม่จำเป็นต้องใช้งบลงทุนมาก อาศัยการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ ซึ่งในช่วงแรกอาจไม่ใช่เรื่องง่าย และไม่สร้างรายได้ในทันที แต่หากทำซ้ำๆ ทำบ่อยๆ ทำต่อไปเรื่อยๆ รายได้เพิ่มที่เราต้องการก็จะค่อยๆมากขึ้นได้เช่นกัน

5.ทำงานทุกอย่างที่ได้ “เงิน” + วางแผนการเงิน

1

สำหรับคนงบน้อย คนไม่มีทุน วิธีการที่ดีที่สุดคือ “ขยัน” แต่ความขยันก็ต้องให้ถูกที่ ขยันแบบมีเป้าหมาย คนส่วนใหญ่บอกว่าก็ทำงานแทบไม่มีเวลาพัก แต่รายได้ก็ยังไม่พอรายจ่าย การวางแผนการใช้เงินอาจไม่ทำให้เรารวยขึ้นทันทีแต่อย่างน้อยก็ช่วยให้การเงินเรามีเสถียรภาพมากขึ้น ในยุคเงินเฟ้อ การหาเงินควรมุ่งไปที่ความรู้สึกของคนที่ต้องการความมั่นคงในชีวิต

ดังนั้นอาชีพอย่างขายประกันก็ถือว่าน่าสนใจ การเป็นตัวแทนประกันในยุคนี้ก็มีเครื่องมือช่วยให้ทำงานง่ายขึ้นมากแม้การขายจะยากเพราะคนส่วนใหญ่เน้นรัดเข็มขัด แต่ถ้าเจอลูกค้าที่ต้องการก็จะทำให้เรามีรายได้มากขึ้น ที่สำคัญไม่ต้องลงทุนอะไรมาก ขอแค่ขยันและตั้งใจทำจริงเท่านั้น

ปัญหาเงินเฟ้อหรือเรียกว่าของแพงขึ้น สำหรับชาวบ้านธรรมดาคงไม่มีอะไรดีกว่าการพึ่งตัวเอง การรอความหวังจากภาครัฐมาช่วยเหลือก็เป็นไปได้ยาก เรื่องการวางแผน การหาไอเดียในการลงทุน การพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสคือสิ่งที่คนยุคนี้ต้องพยายามศึกษาและลงมือทำ เพราะเชื่อได้เลยว่าเราจะต้องอยู่กับวิกฤติแบบนี้ไปอีกยาวๆที่ไม่รู้ว่าจะหนักขึ้นยิ่งกว่านี้อีกหรือเปล่าในอนาคต


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3QmINxO

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด