หลักการคิดค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ (Franchise Fee)

ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ คือสิ่งที่ทั้งผู้ลงทุนและคนที่สร้างระบบนั้น จะต้องทำความเข้าใจให้ดีเสียก่อน เพราะการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์นั้น จะต้องหาจุดสมดุลให้ได้ แพงเกินไปก็ไม่มีคนซื้อ ถูกเกินไปก็ไม่คุ้มการลงทุน รวมทั้งคุณภาพของแฟรนไชส์ซีที่จะมาลงทุนก็ต้องเหมาะสมตามราคาค่าธรรมเนียมด้วย 

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จึงอยากนำผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ ผู้สนใจลงทุนในระบบแฟรนไชส์ ไปทำความรู้จักกับค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ ว่าในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์จากแฟรนไชส์ซี เขามีหลักการคิดอย่างไร

ใช้หลักการบวกเพิ่มจาก “ต้นทุน” ค่าใช้จ่าย

ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์

วิธีบวกเพิ่มให้เพียงพอกับค่าใช้จ่าย เป็นวิธีการหนึ่งที่กำหนดอัตราขั้นต่ำไว้เป็น “ฐาน” ในการกำหนดค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ โดยแฟรนไชส์ซอร์คำนวณจากค่าใช้จ่ายการตลาดทั้งหมด

ไม่ว่าจะเป็น ค่าอบรม ค่าสำรวจสถานที่ ค่าใช้สนับสนุนในระยะแรกเข้าที่เกี่ยวกับการขยายแฟรนไชส์ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่สมเหตุสมผล โดยมีปัจจัยเบื้องต้นในการพิจารณาดังนี้

1.ต้นทุนเกี่ยวกับกระบวนการหาแฟรนไชส์ซี

pp10

ในการหาแฟรนไชส์ซีแต่ละรายนั้น แฟรนไชส์ซอร์จะต้องมีงบประมาณด้านต่างๆ เช่น การสัมมนา การออกงานแสดงสินค้า การฝึกอบรม เป็นต้น สมมติว่าแฟรนไชส์วอร์ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 500,000 บาท ผ่านกิจกรรมต่างๆ ข้างต้น

แล้วได้ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมดังกล่าว ทำให้แฟรนไชส์ซอร์ได้แฟรนไชส์ซีจำนวน 5 ราย นั่นแสดงว่า แฟรนไชส์ซอร์มีต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการหาแฟรนไชส์ซีมาได้ 1 ราย เป็นมูลค่าเงินจำนวน 100,000 บาท หรือคิดง่ายๆ จากสมการ ต้นทุน = งบประมาณที่ใช้ในการหาแฟรนไชวส์ซี หารด้วย จำนวนแฟรนไชส์ที่ได้

2.ต้นทุนเกี่ยวกับค่าฝึกอบรม

pp8

การฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้ในการดำเนินธุรกิจให้กับแฟรนไชส์ซีนั้น ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมากในระบบแฟรนไชส์ ดังนั้น ปัจจัยนี้จึงต้องพิจารณาเช่นกัน เช่น แฟรนไชส์ซีจะต้องเข้ารับการฝึกอบรมกับแฟรนไชส์ซอร์ 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงก่อนเปิดดำเนินการ จะต้องเข้ารับการฝึกอบรมที่สำนักงานของแฟรนไชส์ซอร์จำนวน 30 วัน

โดยให้สิทธิ์แฟรนไชส์ซีส่งบุคลากรเข้ารับการอบรมจำนวน 5 คน และอบรมช่วงที่เริ่มเปิดดำเนินกิจการจำนวน 15 วัน มีโดยบุคลากรของแฟรนไชส์ซอร์จำนวน 2 คนเป็นผู้ให้การฝึกอบรม จากตัวอย่างสามารถคิดต้นทุนที่เกิดขึ้นดังนี้

ต้นทุนการฝึกอบรมที่สำนักงานแฟรนไชส์ซอร์จำนวน 30 วัน แฟรนไชส์ซอร์มีต้นทุนที่เกิดขึ้นจากค่าวิทยากรวันละ 5,000 บาท ค่าอาหารกลางวัน วันละ 300/คน ค่าเอกสาร คนละ 2,000 บาท

ดังนั้น แฟรนไชส์ซอร์จะมีต้นทุนที่เกิดขึ้น คือ ค่าวิทยากร = 5,000 x 30 = 150,000 บาท, ค่าอาหาร = 300 x 30 x 5 = 45,000 บาท และค่าเอกสาร = 2,000 x 5 = 10,000 บาท รวมเป็นต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการฝึกอบรมที่สำนักงานแฟรนไชส์ซอร์ จำนวน 30 วัน เท่ากับ 150,000 + 45,000 + 10,000 = 205,000 บาท

และต้นทุนการฝึกอบรมที่ร้านสาขาของแฟรนไชส์ซีจำนวน 15 วัน แฟรนไชส์ซอร์มีต้นทุนจากการส่งบุคลากรจำนวน 2 คน ระยะเวลา 15 วัน มีค่าใช้จ่ายจากค่าเดินทาง ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าที่พัก เบื้องต้นรวม 20,000 บาท

3.ต้นทุนเกี่ยวกับการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีในระยะเริ่มต้น

pp9

ธุรกิจของแฟรนไชส์ซีในช่วงเริ่มต้น จะต้องได้รับการสนับสนุนจากแฟรนไชส์ซอร์เป็นอย่างมาก ถึงแม้ว่าแฟรนไชส์ซีจะได้รับการฝึกอบรมแล้วก็ตาม ดังนั้น แฟรนไชส์ซอร์จึงคำนวณต้นทุนที่จะเกิดขึ้นไว้ในอัตรา 5-10% ของค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายที่แฟรนไชส์ซอร์ต้องส่งบุคลากร ไปช่วยให้คำปรึกษา แนะนำ รวมถึงการช่วยสนับสนุนในด้านต่างๆ

เมื่อพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ ข้างต้น จะเห็นได้ว่าอัตราค่าเนียมแฟรนไชส์ที่เกิดขึ้นจากตัวอย่างข้างต้น “วิธีการบวกเพิ่มจากต้นทุนค่าใช้จ่าย” นั้น มีอัตราเท่ากับ

ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ (100,000 + 205,000 + 20,000) = 325,000 บาท + 5% (16,250 บาท) = 341,500 บาท
อย่าลืมที่สำคัญมาก คือ ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ ไม่ควรมีการจัดทำโปรโมชั่น

เช่น จองสิทธิ์แฟรนไชส์ในช่วงนี้ ลดค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ 50% หรือไม่เรียกเก็บ เพราะถ้าไม่มีการเรียกเก็บแล้ว จะทำให้แฟรนไชส์ซอร์ไม่สามารถให้การสนับสนุนแฟรนไชส์ซีได้อย่างเต็มที่ ตามที่ควรจะเป็น

อ่านบทความเกี่ยวกับแฟรนไชส์ คลิก goo.gl/odFa1s
หรือสนใจลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ต่างๆ คลิก goo.gl/FukN04

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/39rnA4j

01565898888

ท่านใดสนใจอยากให้สร้างระบบแฟรนไชส์ แจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช