หมดยุคเสือนอนกิน! ธุรกิจโทรทัศน์

ในยุคหนึ่งสื่อโทรทัศน์เคยมีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวันของเราอย่างมาก สมัยก่อนบ้านไหนมีโทรทัศน์เรียกว่ารวย คนไหนที่บ้านไม่มีโทรทัศน์ก็ต้องไปอาศัยดูกับคนอื่น ร้านค้าร้านโชห่วยบางทีก็เอาโทรทัศน์มาเป็นจุดขายมาเปิดรายการต่างๆให้คนเข้ามานั่งดู

จนถึงยุคที่โทรทัศน์เข้าถึงได้ง่ายขึ้นพฤติกรรมเหล่านี้ก็เปลี่ยนไปแต่อิทธิพลของโทรทัศน์ก็ยังมีอยู่เพราะยุคนั้น ยังไม่มี “โซเชี่ยล” ไม่น่าแปลกใจที่เราจะเรียกธุรกิจโทรทัศน์ในยุคนั้นว่าเป็น “เสือนอนกิน” คือผลิตคอนเทนต์อะไรออกมายังไงคนก็ต้องดู เม็ดเงินโฆษณาเรียกว่าเข้ามาอย่างมหาศาล

www.ThaiSMEsCenter.com มองว่าทุกอย่างต้องมีการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะที่เริ่มมีโซเชี่ยลเข้ามาแย่งเวลาคนดู ประกอบกับการเข้ามาของทีวีดิจิทัลที่กลายเป็นจุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ที่ทำให้ “เสือนอนกิน” ในอดีตต้องแปรสภาพมาดิ้นรนเพื่อดึงคนเข้ามาดูให้ได้เรตติ้งเพิ่มมากขึ้น

ธุรกิจทีวียุคยังบูม ใครๆก็อยากเข้ามาทำงานด้านนี้

19

ภาพจาก bit.ly/2lFO4rC

หากจำได้มหาวิทยาลัยสมัยก่อนแทบทุกที่เอาจริงเอาจังกับสาขาวิชานิเทศศาสตร์ ผลิตคนออกมาแต่ละปีไม่ต่ำกว่า 2,000 อัตรา แบ่งสายงานง่ายๆตามสื่อคือ TV, printing, Radio, Advertising ด้วยมองว่าวงการสื่อในยุครุ่งเรืองค่าตัวสูง รายได้ดี โบนัสดี

แถมมีการซื้อตัวย้ายค่ายกันอย่างสนุก ทีวี 1 ช่อง มีคนทำงานเหยียบ 1,000 หรือบางที่มากกว่านั้น ตีเฉลี่ยก่อนประมูล ทีวีหลักมี 6 ช่อง มีคนทำงาน 6 ช่องนี้ไม่ต่ำกว่า 5,000 ยังไม่นับรวมทีวีดาวเทียมอีกมหาศาล

18

ภาพจาก bit.ly/2lVo5N0

เรตติ้งละครหลังข่าวสมัยก่อนคือจุดชี้วัดว่าช่องไหนเจ๋งกว่าช่องไหน ในยุคที่ช่อง 3 กับช่อง 7 ยังมีแต่ระบบอนาล็อค กำไรของแต่ละช่องแตะระดับ 5,000 ล้านต่อปี

เกิดการจ้างงาน จ้างผู้ผลิต จ้างบริษัทหนัง อย่างมหาศาล เรียกว่ายุคนั้นใครอยากดังก็ต้องไปออกรายการช่อง 3 หรือชอ่ง 7 เรตติ้งพุ่งกระฉูดด้วยดาราระดับแม่เหล็กและบทละครเข้มข้นหลังข่าว ที่หลายบ้านติดกันงอมแงม

อิทธิพลของโซเชี่ยลและทีวีดิจิทัลคือจุดเปลี่ยนสำคัญ

17

ภาพจาก bit.ly/2lYxELa

อุตสาหกรรมทีวีดิจิทัลเริ่มต้นในปี 2557 กับความหวังของผู้ประกอบการที่มองเห็นเม็ดเงินโฆษณาทีวีปีละ 60,000 – 70 ,000 ล้านบาท ในยุคทีวีที่ยังเป็นอนาล็อค ช่อง 3 กับ ช่อง 7 ทำกำไรระดับ 5,000 ล้านบาทต่อปี แต่ในความเป็นจริงนับแต่ปีแรกที่ออกอากาศรูปแบบใหม่ ด้วยจำนวนช่องที่เพิ่มขึ้นกว่า 6 เท่าตัว ผู้ชมกระจายตัวในดิจิทัลสารพัดช่อง รวมทั้งยังมีสื่อออนไลน์โซเชี่ยลมีเดีย

เข้ามาแย่งตลาด และเวลาของผู้ชม ไม่น่าแปลกที่ “เรตติ้ง” ของทีวีจะลดลงต่อเนื่อง แม้แต่ผู้นำอย่างช่อง 3 ช่อง 7 เม็ดเงินค่าโฆษณาก็ลดลงเช่นกัน ขณะที่การลงทุนทีวีดิจิทัลแต่ละช่องอยู่ที่หลักร้อยถึงพันล้านต่อปี สิ่งที่ตามมาคือภาวะ “ขาดทุนอย่างหนัก

16

ภาพจาก bit.ly/2lC5WUm

กลุ่มที่มีกำไรอยู่บ้างเช่น ช่อง 7HD แม้ยังกำไรแต่ตัวเลขก็ลดลงโดยในปี 2557 รายได้ 10,428 ล้านบาท กำไร 5,510 ล้านบาท แต่ในปี 2561 รายได้ 5,750 ล้านบาท กำไร 1,633 ล้านบาท

หรือช่อง โมโน 29 ที่เริ่มต้น 3 ปีแรกขาดทุนเรื่องเนื่องแต่จากการปรับคอนเทนต์ที่นำภาพยนตร์และซีรี่ย์ต่างประเทศมาเป็นจุดขาย พลิกมาทำกำไรตั้งแต่ปี 2560 รายได้ 1,582 ล้านบาท กำไร 90 ล้านบาท และในปี 2561 รายได้ 3,806 ล้านบาท กำไร 32 ล้านบาท

15

ภาพจาก bit.ly/2klHVRo

ในกลุ่มช่องที่ขาดทุนหนึ่งในนั้นก็มี PPTV ที่ลงทุนทั้งลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดฟุตบอลต่างประเทศและกีฬาต่างๆ แม้จะขาดทุนต่อเนื่องมาในระยะ5ปี แต่ตัวเลขในปี2561 รายได้ก็พอจะดีขึ้นขาดทุนน้อยลง โดยรายได้ปี 2561 อยู่ที่ 495 ล้านบาท ขาดทุน 1,837 ล้านบาท หรือจะเป็นช่อง ONE 31 รายได้ปี 2561 2,033 ล้านบาท ขาดทุน 9.3 ล้านบาท

ซึ่งการประกาศคืนใบอนุญาตของทีวีดิจิทัล 7 ช่อง มีการประเมินว่าจะต้องเลิกจ้างพนักงานไปด้วยรวมกันไม่ต่ำกว่า 500 คนหรืออาจจะมากกว่านี้ ไม่นับรวมวิชาเรียนในสมัยนี้ที่ทุกมหาวิทยาลัยแทบจะไม่ได้เน้นการผลิตคนทำสื่อออกสู่ตลาด

คณะนิเทศศาสตร์ที่เคยเป็นเป้าหมายของใครหลายคนก็เริ่มถูกลืมเลือน บางมหาวิทยาลัยต้องเพิ่มหลักสูตรด้านการตลาดออนไลน์ การผลิตสื่อออนไลน์ออกมา เพราะมองว่าเข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันและในอนาคตมากกว่า

14

ภาพจาก bit.ly/2kxIvvb

ตามการคาดการณ์วงการโทรทัศน์ในยุคต่อจากนี้ บทบาทของทีวีจะลดน้อยลง คนจะเสพข่าวและคอนเทนต์ต่างๆ ผ่านโทรศัพท์มือถือมากขึ้น ทีวีก็จะกลายเป็นแค่ส่วนหนึ่งของบ้านที่ยังไงก็ต้องมีแต่คนจะไม่จมปลัก ไม่จำเป็นต้องรีบกลับเพื่อไปดูละคร เพราะเดี๋ยวนี้ดูย้อนหลังก็ยังได้

เม็ดเงินโฆษณาก็จะเปลี่ยนทิศทางจากทีวีสู่ออนไลน์มากขึ้น การคงอยู่ของสื่อโทรทัศน์ก็ต้องปรับคอนเทนต์ให้คนดูรู้สึกอยากติดตามดังที่เราจะเห็นรายการรูปแบบใหม่ๆ เกิดขึ้นจำนวนมาก นั่นคือเหตุผลว่าทำไมถึงหมดยุคเสือนอนกินของสื่อโทรทัศน์เพราะยุคนี้คนดูไม่ต้องง้อโทรทัศน์อีกต่อไปแล้ว


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

01

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ goo.gl/Io5k2S

กองบรรณาธิการเว็บไซต์

ยินดีสนับสนุน SMEs ไทยทุกแบรนด์ ที่ต้องการสร้างความเข้มแข็ง อยากเรียนรู้ พัฒนาธุรกิจ ส่งเสริมความเข้าใจในการตลาด มีความคิดสร้างสรรค์ แบ่งปันเพื่อสังคม ต่อยอดธุรกิจ ให้ประสบความสำเร็จในอนาคต