ส่อง! ภาพรวมตลาดธุรกิจแฟรนไชส์ในไทย ปี 2562-2563

ธุรกิจแฟรนไชส์ ได้เริ่มเข้ามาในประเทศไทยเมื่อ 36 กว่าปีมาแล้ว ในช่วงแรกๆ ยังไม่ได้รับความสนใจมากนัก เนื่องจากมีการชะลอตัวในช่วงวิกฤตทางเศรษฐกิจ กระทั่งแฟรนไชส์เริ่มพัฒนาในช่วงที่รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมธุรกิจขนาดเล็ก หรือ SMEs

โดยระบบธุรกิจแฟรนไชส์เป็นระบบการทำงานที่รวมเอากลยุทธ์ข้อได้เปรียบจากการรวมตัว สร้างเป็นกำลังขององค์กรเล็กๆ มารวมกัน ถึงแม้ว่ามีโอกาสล้มเหลวได้เช่นเดียวกับธุรกิจอื่นๆ แต่ถ้าเมื่อใดมีการพัฒนาจนอยู่ในระดับที่ดีเพียงพอ

ธุรกิจแฟรนไชส์ก็จะสามารถยืนยาวได้มากกว่าธุรกิจอื่นๆ ดังนั้น การสร้างธุรกิจให้เป็นแฟรนไชส์ หรือการลงทุนในระบบแฟรนไชส์นั้น จำเป็นต้องต้องมีความรู้ความเข้าใจเพียงพอ เมื่อเข้าใจแล้ว ก็จะสามารถป้องกันข้อผิดพลาดที่ไม่ควรเกิดขึ้นได้

แล้วภาพรวมตลาดธุรกิจแฟรนไชส์ไทยเป็นอย่างไร วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลสถิติและทิศทางตลาดแฟรนไชส์ในประเทศไทยมานำเสนอให้ทราบกันครับ

รากเหง้าปัญหาระบบแฟรนไชส์ไทย

ธุรกิจแฟรนไชส์

ถึงแม้ว่าธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทยจะมีการริเริ่มมากว่า 36 ปี ตั้งแต่ปี 2526 ในขณะนั้นต้องยอมรับว่าระบบแฟรนไชส์ของคนไทยมีการเติบโตช้า ธุรกิจแรกๆ ที่พยายามผลักดันการขยายกิจการโดยใช้รูปแบบแฟรนไชส์ ก็คือ ร้านค้าแบบมินิมาร์ทและธุรกิจด้านอาหาร ระบบแฟรนไชส์ในช่วงนั้นได้รับความสนใจจากนักลงทุนบ้าง

แต่ส่วนใหญ่จะมีปัญหาในเรื่อง ความเข้าใจที่ถูกต้องของทั้งแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซีเข้ามาซื้อสิทธิ์ เช่น กรณีแฟรนไชส์ซีทำตัวเป็นผู้ลงทุนแบบซื้อเพื่อการลงทุน ไม่มีการมองถึงการสร้างธุรกิจตนเอง เมื่อไม่ลงทุนทำเองหรือเอาใจใส่ดูแลไม่ทั่วถึง ก็ทำให้ธุรกิจไปได้ไม่ดีเท่าที่ควร บางรายซื้อแฟรนไชส์มาแล้วไม่ตั้งใจบริหารธุรกิจ ก็ล้มเลิกกิจการ

40

หรือแฟรนไชส์ซอร์หลายราย ขายแฟรนไชส์โดยไม่ได้มองหาผู้ซื้อแฟรนไชส์ที่ทำจริงๆ เป็นการสร้างระบบธุรกิจที่เข้าใจผิดคิดว่าธุรกิจนั้น สามารถวางรูปแบบของธุรกิจที่จัดจ้างหรือหาคนทำได้

ซึ่งความจริงแล้วธุรกิจแฟรนไชส์ระยะแรกนั้นต้องลงทุนลงมือทำเอง เอาใจใส่เองเสียก่อนที่จะปรับปรุงธุรกิจให้เป็นระบบมากขึ้น แม้ตัวธุรกิจเองนั้นจะสามารถวางรูปแบบการทำงานด้วยการจัดจ้างทีมงานเข้ามาทำงานก็ตาม เจ้าของที่ลงทุนก็ต้องมีความเข้าใจเป็นอย่างดีและทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด

หลังจากสภาวะเศรษฐกิจซบเซาในช่วงปี พ.ศ.2536 ส่งผลให้ธุรกิจแฟรนไชส์ต่างๆ ได้รับผลกระทบ เช่น โดมิโนพิซซ่า ป็อบอาย หรือ เช็คกี้ เวนดี้ ที่ประสบปัญหาการขยายตัว และในที่สุดก็ต้องปิดกิจการ

ในประเทศไทยระบบแฟรนไชส์ได้รับความนิยมอีกครั้ง ในช่วงปี พ.ศ.2537 เรียกได้ว่าเป็นธุรกิจที่มีการเจริญเติบโตอย่างก้าวกระโดด แต่อีกไม่นานก็มีการหยุดการเติบโต เนื่องจากปัญหาด้านเศรษฐกิจที่ไม่อำนวยต่อการลงทุนแฟรนไชส์ ประกอบกับความเข้าใจในเรื่องของการสร้างระบบแฟรนไชส์ของคนไทยเอง ที่ไม่ได้รับการส่งเสริมอย่างจริงจัง

สถิติธุรกิจแฟรนไชส์ในเมืองไทย

37

จากข้อมูลในช่วงปี พ.ศ.2543 มีธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทยที่ยังคงดำเนินการอยู่ประมาณ 120 กิจการ จากที่มีประมาณ 180 ธุรกิจก่อนหน้านั้น โดยร้านระบบแฟรนไชส์ที่เหลืออยู่ สามารถแบ่งเป็นประเภทธุรกิจต่างๆ ได้ไม่เกิน 8 ประเภท

ได้แก่ ประเภทอาหาร ร้อยละ 34, ประเภทการขายสินค้าเฉพาะอย่าง เช่น ร้านขายยา ร้านเสื้อผ้า ร้อยละ 20, ประเภทการบริการ เช่น รับจ้างซักรีด รถเช่าร้อยละ 18, ประเภทการศึกษา ร้อยละ 17, ประเภทค้าปลีก ร้อยละ 5 และอื่นๆ ร้อยละ 6

ขณะที่ข้อมูลในช่วงปี พ.ศ.2548 มีธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทยดำเนินกิจการอยู่ประมาณ 60 กิจการ ถือว่าลดลงจากช่วงปี พ.ศ.2543 อาจเป็นเพราะผู้ประกอบการสร้างระบบแฟรนไชส์ยังไม่แข็งแกร่ง จึงทำให้ธุรกิจล้มหายตายจากไป โดยธุรกิจแฟรนไชส์เครื่องดื่มและไอศกรีมมีมากที่สุดถึง 17 กิจการ ตามมาด้วยอาหาร 16 กิจการ และการศึกษา 6 กิจการ

ปี พ.ศ.2555 พบว่า มีธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทยดำเนินกิจการเพิ่มขึ้นจำนวนมากกว่า 223 กิจการ เติบโตแบบก้าวกระโดดจากช่วงปี พ.ศ. 2548 โดยธุรกิจแฟรนไชส์อาหารมีถึง 54 กิจการ, เครื่องดื่มและไอศกรีม 52 กิจการ และการศึกษา 34 กิจการ

ปี พ.ศ.2561 พบว่า มีธุรกิจแฟรนไชส์ในไทยเปิดดำเนินการถึง 536 กิจการ เติบโตขึ้นเป็นสองเท่าจากปี พ.ศ.2555 โดยธุรกิจแฟรนไชส์ที่เปิดดำเนินการมากที่สุด คือ อาหาร 128 กิจการ, เครื่องดื่มและไอศกรีม 119 กิจการ และการศึกษา 96 กิจการ

36

สำหรับปี พ.ศ.2562 มีจำนวนธุรกิจแฟรนไชส์ที่เปิดดำเนินกิจการกว่า 584 กิจการ แบ่งออกเป็น แฟรนไชส์อาหาร 140 กิจการ, เครื่องดื่มและไอศกรีม 135 กิจการ, การศึกษา 104 กิจการ, เบเกอรี่ 45 กิจการ, บริการ 41 กิจการ, ค้าปลีก 35 กิจการ, โอกาสทางธุรกิจ 34 กิจการ, ความงาม 25 กิจการ, งานพิมพ์ 16 กิจการ, อสังหาริมทรัพย์ 7 กิจการ และหนังสือ, วิดีโอ 2 กิจการ

สรุปก็คือ ธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องทุกปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งในปี พ.ศ.2562 ภาพรวมธุรกิจแฟรนไชส์เกิดขึ้นใหม่เฉลี่ยประมาณ 19% ถ้าหากถุงสิ้นปีเชื่อว่าธุรกิจแฟรนไชส์ใหม่จะมีเพิ่มขึ้นอีกไม่น้อย

ทิศทางตลาดแฟรนไชส์ไทยปี 62-63

35

10 ปีที่ผ่านมา มีจำนวนธุรกิจแฟรนไชส์เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 20% ในปี 2561 มีมูลค่าตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์อยู่ที่ประมาณกว่า 2.3 แสนล้านบาท และหลายฝ่ายคาดการณ์ว่าในปี 2562 มูลค่าตลาดแฟรนไชส์ในเมืองไทยจะเติบโตขึ้นอีกราวๆ 2.5-3 แสนล้านบาท

โดยแฟรนไชส์ธุรกิจอาหารน่าจะมีสัดส่วนการลงทุนหรือเปิดกิจการมากที่สุด ทั้งแบรนด์แฟรนไชส์ไทยและต่างชาติ แต่ก็ยังมีแฟรนไชส์ธุรกิจบริการ ธุรกิจด้านการศึกษา ธุรกิจเบเกอรี่ และเครื่องดื่ม เป็นธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีการเติบโตสูงเช่นกัน

โดยภาพรวมตลาดธุรกิจแฟรนไชส์ในปี พ.ศ.2562 จนถึงปี 2563 จะเดินหน้าไปได้เรื่อยๆ ธุรกิจแฟรนไชส์จะเติบโตด้วยตัวของมันเอง ถือเป็นธุรกิจที่อาจจะไม่ได้รับผลกระทบจากนโยบายต่างๆ ของรัฐบาลมากนัก แบรนด์แฟรนไชส์ใดที่ขยายสาขาในต่างประเทศหรือในประเทศก็จะดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง เพียงแต่ว่าหมวดแฟรนไชส์กลุ่มไหนที่จะมีความพร้อมมากกว่ากัน

43

อีกทั้งในปี พ.ศ. 2562 ผู้ประกอบการแบรนด์แฟรนไชส์ระดับบน มีความพยายามนำธุรกิจแฟรนไชส์ไปเปิดตลาดในต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น หลังจากได้ออกไปเปิดตลาดและขยายสาขามาบ้างแล้วในช่วงที่ผ่านมา ขณะที่แบรนด์แฟรนไชส์ขนาดกลาง ที่มีจำนวนสาขา 20-30 สาขา จะให้ความสำคัญกับการมองหาทำเล และพันธมิตรทางธุรกิจมากเป็นกรณีพิเศษ

ส่วนแบรนด์แฟรนไชส์รายเล็ก ลงทุนต่ำ ในปี พ.ศ. 2562 จะเห็นการเข้า-ออกจากระบบมากขึ้น เพราะผู้ประกอบการบางรายเห็นคนอื่นทำแฟรนไชส์แล้วประสบความสำเร็จก็อยากทำบ้าง แต่พอตัวเองเข้ามาทำแฟรนไชส์จริงๆ กลับไม่สำเร็จ จึงต้องออกจากระบบไป ขณะที่นักลงทุนก็ยังเชื่อว่าการลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์มีประโยชน์ เพราะไม่ต้องเสียเวลาสร้างธุรกิจขึ้นมาเอง

42

ดังนั้น เจ้าของธุรกิจที่อยากทำแฟรนไชส์ จะต้องตั้งใจจริงๆ ในการเข้าระบบแฟรนไชส์ อย่ามองระยะสั้น เพื่ออยากได้เงินก้อนจากค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ หรือเห็นคนอื่นขายแฟรนไชส์ได้ ก็อยากขายบ้าง สุดท้ายจะส่งผลเสียมากกว่าผลดี

ข้อมูลสถิติแฟรนไชส์ในประเทศไทย https://bit.ly/2yGtjiX
คอร์สเรียนสร้างธุรกิจแฟรนไชส์ https://bit.ly/2YssgSV


คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

01

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php

อ้างอิงจาก https://bit.ly/314ea9U

01565898888

ท่านใดสนใจอยากให้สร้างระบบแฟรนไชส์ แจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช