ส่อง “คอร์ปอเรท แฟรนไชส์” (Corporate Franchise) น่าลงทุนที่สุดในยุคนี้!

การซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ที่ได้รับความนิยมในยุคนี้ มีทั้งแบบแฟรนไชส์ลงทุนสูง ซึ่งเราเรียกว่า Corporate Franchise หรือ Business Format Franchise และแฟรนไชส์ลงทุ่นต่ำ Micro Franchise หรือ Product Franchise

โดยเฉพาะ Corporate Franchise ถือเป็นประเภทแฟรนไชส์ที่ลงทุนแล้วมีโอกาสประสบความสำเร็จสูงมาก เนื่องจากผู้บริหารแบรนด์แฟรนไชส์จะเป็นบริษัทขนาดใหญ่ ที่มีประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ ทีมงานสนับสนุน และระบบแฟรนไชส์ที่มีคุณภาพมาตรฐาน

ทำไม? Corporate Franchise หรือ Business Format Franchise น่าลงทุนที่สุด วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลมานำเสนอให้ทราบ เพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาตัดสินใจก่อนเลือกซื้อแฟรนไชส์ครับ

Corporate Franchise หรือ Business Format Franchise ดีอย่างไร

คอร์ปอเรท

ภาพจาก facebook.com/chesterthai

ต้องยอมรับว่าเป็นรูปแบบแฟรนไชส์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากบริษัทแฟรนไชส์ขนาดใหญ่ หรือแฟรนไชส์ซอร์ จะกำหนดระบบการปฏิบัติหรือระบบการดำเนินธุรกิจภายในร้านให้ใช้เหมือนกันทั่วโลก ทั้งรูปแบบของร้าน การตกแต่ง สีสินค้าและบริการ เครื่องหมายการค้า วิธีบริหารระบบการเงิน ระบบงานต่างๆ พนักงาน รวมถึงแผนการตลาด เป็นต้น

ขณะที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ หรือแฟรนไชส์ซี ก็จะได้รับสิทธิ์ในการใช้ตราสินค้า การให้บริการ หรือ ทำการผลิตสินค้าที่มีสูตรหรือส่วนประกอบเฉพาะ หรือ จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ภายใต้รูปแบบร้าน และเครื่องหมายทางการค้าของแฟรนไชส์ซอร์ หากนึกภาพไม่ออกให้นึกถึง ร้านฟาสต์ฟู้ดชื่อดังต่างๆ ในเมืองไทย หรือ ร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven, เชสเตอร์, ออฟฟิศเมท ฯลฯ

24

ภาพจาก facebook.com/kamukamu.tea

สำหรับระบบการทำงานของ Corporate Franchise นั้น บริษัทแม่แฟรนไชส์จะมีการถ่ายทอดระบบและวิธีการดำเนินธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ นำไปปฏิบัติตามให้เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน

โดยสาขาแฟรนไชส์ซีต่างๆ จะใช้คู่มือปฏิบัติงานในร้านแบบเดียวกันที่บริษัทแฟรนไชส์เป็นผู้กำหนด เพื่อรักษาภาพลักษณ์และศักยภาพในการแข่งขันทางการตลาดของบริษัทแฟรนไชส์ หรือแฟรนไชส์วอร์ ทั้งนี้ ภาระหน้าที่และความรับผิดชอบของแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี จะมีการระบุไว้อย่างชัดเจนในสัญญาแฟรนไชส์ โดยยึดถือประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่าย

23

ภาพจาก facebook.com/jwashcarcare

รูปแบบ Corporate Franchise ถือเป็นการซื้อระบบธุรกิจที่สมบูรณ์แบบจากแฟรนไชส์ซอร์ โดยผู้ซื้อแฟรนไชส์นอกจากจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์แรกเข้า (Franchise Fee) ค่าออกแบบตกแต่งร้านแล้ว ยังต้องจ่ายเงินค่าสิทธิต่อเนื่อง (Royalty fee) และค่าการตลาด (Marketing Fee) เป็นรายเดือนที่หักเปอร์เซ็นต์จากยอดขาย (3-10%) ให้กับแฟรนไชส์ซอร์ด้วย

เมื่อได้รับสิทธิแล้วแฟรนไชส์ซีจะได้รับการสนับสนุนจากแฟรนไชส์ซอร์ ภายใต้แผนการและขั้นตอนการดำเนินธุรกิจโดยละเอียดในทุกแง่มุมของธุรกิจ การฝึกอบรม การสนับสนุน ให้คำปรึกษา ตั้งแต่เริ่มต้นธุรกิจไปจนหมดอายุสัญญาแฟรนไชส์

22

ภาพจาก facebook.com/kumonthailand

21

ภาพจาก facebook.com/extaplus

โดยส่วนใหญ่ Corporate Franchise หรือ Business Format Franchise จะเป็นธุรกิจที่พิสูจน์แล้วว่า สามารถทำกำไรได้ มีลักษณะของร้านโดดเด่น และคืนทุนได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด

ความน่าสนใจลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์แบบ Corporate Franchise คือ ช่วยยกระดับธุรกิจ สร้างทั้งผลกำไรและการสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจ พร้อมกับความได้เปรียบในการรวมกลุ่มของจำนวนเครือข่ายที่มี กลายเป็นความได้เปรียบทางการค้า ที่การใช้วิธีอื่นอาจจะทำได้ไม่ดีเท่า ความได้เปรียบทั้ง 3 ด้านจึงทำให้ธุรกิจในรูปแบบ Corporate Franchise เติบโตต่อเนื่อง

20

ภาพจาก facebook.com/officemate.co.th

นอกจากนี้ ผู้ซื้อแฟรนไชส์หรือแฟรนไชส์ซี มีโอกาสประสบความสำเร็จสูงมาก เนื่องจากบริษัทแม่แฟรนไชส์มีการสร้างระบบแฟรนไชส์เป็นมาตรฐาน และมีทีมงานพร้อมให้การสนับสนุนแฟรนไชส์ซีตลอดอายุสัญญา แต่การลงทุนแฟรนไชส์ประเภทนี้จะใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูง ตั้งแต่หลักแสนไปจนถึงหลักล้านบาท และต้องจ่ายค่าสิทธิต่อเนื่องทุกเดือนด้วย

19

ภาพจาก facebook.com/OCHAYA.Tea

ยกตัวอย่างแฟรนไชส์ในรูปแบบ Corporate Franchise น่าลงทุนที่สุดในยุคนี้

18

ภาพจาก facebook.com/wizard.auto.care.club

17

ภาพจาก facebook.com/banrakpasa

ทั้งหมดคือเหตุผล Corporate Franchise ทำไมถึงน่าลงทุนมากที่สุดในยุคนี้ เพราะโอกาสประสบความสำเร็จมีสูงมาก ได้ทั้งแบรนด์มีชื่อเสียง ระบบแฟรนไชส์ที่เป็นมาตรฐาน และทีมงานที่อยู่เคียงข้าง พร้อมให้การการสนับสนุนตลอดอายุสัญญา


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

 

อ้างอิงข้อมูล https://bit.ly/36XTPFY

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช