ส่องแฟรนไชส์ระดับโลก บริหารธุรกิจแก้ปัญหา Covid-19

สหรัฐอเมริกาถือเป็นประเทศเดียวก็ว่าได้ ที่บริษัทแฟรนไชส์ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดต่างๆ ไม่ได้ปิดร้านชั่วคราว เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เหมือนกับในประเทศอื่นๆ ทั่วโลก

แม้แต่ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ยังยกย่องให้ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดในอเมริกา เป็นกำลังสำคัญในการช่วยให้ชาวอเมริกันสามารถสู้ศึกเอาชนะการระบาดของไวรัสโควิด-19 ในครั้งนี้ได้

หากถามว่าเมื่อแฟรนไชส์ร้านฟาสต์ฟู้ดเหล่านี้ ไม่ปิดให้บริการในสหรัฐอเมริกา บริษัทแม่แฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดในอเมริกา จะมีวิธีการบริการจัดการเครือข่ายแฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซี) ของตัวเองอย่างไร ให้อยู่รอดและก้าวพ้นวิกฤตโควิด-19 ไปได้

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลและกรณีศึกษาแฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดในอเมริกา ว่าเขามีการ บริหารธุรกิจแก้ปัญหา ระบบแฟรนไชส์ของพวกเขาอย่างไร ให้สามารถอยู่รอดได้ในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19 มาดูพร้อมๆ กันเลย

บริหารธุรกิจแก้ปัญหา

ภาพจาก bit.ly/39gYwJp

เริ่มต้นกันที่แบรนด์แฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ด Subway ผู้นำด้านแซนด์วิช สลัด และอาหารทานเล่นต่างๆ มากมาย ได้พิจารณาลดค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่บริษัทได้เรียกเก็บจากแฟรนไชส์ซี โดยเฉพาะค่าลิขสิทธิ์ หรือ Royalty Fee ที่เรียกเก็บรายเดือนจากแฟรนไชส์ซีจาก 8% ลดลงเหลือ 4%

ไม่เพียงเท่านี้ Subway ยังจะไม่เก็บค่าธรรมเนียมแอดเวอร์ไทซิ่ง ฟี ประมาณ 4.5% (Advertising Fee) ค่าธรรมเนียมที่แฟรนไชส์ซีจะต้องจ่ายให้กับแฟรนไชส์ซอร์ เพื่อไปใช้ดำเนินการในการโฆษณาประชาสัมพันธ์อีกด้วย ซึ่งจะครอบคลุมเครือข่ายแฟรนไชส์ Subway ในสหรัฐอเมริกากว่า 23,500 แห่ง ที่จะได้รับการช่วยเหลือให้รอดพ้นวิกฤตโควิด-19

นอกจากแฟรนไชส์ Subway ที่ออกมาตรการช่วยเหลือแฟรนไชส์ซีในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ยังมีแฟรนไชส์ แมคโดนัลด์ ที่ได้ออกมาตรการให้ทุกสาขาในอเมริกา ทำการปิดให้บริการห้องรับประทานอาหารในร้านอาหารกว่า 13,850 แห่ง ซึ่งจะเปิดให้บริการเฉพาะลูกค้าที่ซื้อกลับไปทานที่บ้านเท่านั้น

82

ภาพจาก bit.ly/2WGopQb

นอกจากนี้ แมคโดนัลด์กำลังพิจารณาให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่แฟรนไชส์ซี ในรูปแบบของการชะลอการเช่าซื้อ (ค่าเช่าพื้นที่รอการตัดบัญชี) และเตรียมพิจารณาลดค่าธรรมเนียม, ค่าสิทธิต่างๆ อีกด้วย

81

ภาพจาก bit.ly/3dCrXcm

ขณะเดียวกัน MTY Food Group ซึ่งเป็นบริษัทแม่หรือเจ้าของ Thai Express แฟรนไชส์ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด ก็ได้ได้ประกาศว่าจะหยุดเก็บค่าลิขสิทธิ์ (Royalty Fee) จากแฟรนไชส์ซี เป็นเวลา 4 สัปดาห์เริ่มตั้งแต่วันอังคารที่ 17 มีนาคม 2563

แม้แต่แฟรนไชส์กาแฟสตาร์บัคส์ ออกมาตรการให้ร้านกาแฟทุกสาขาในสหรัฐอเมริกา เลิกให้บริการแก้วและถ้วยกาแฟที่ใช้นั่งดื่มกาแฟในร้าน โดยให้ใช้แก้พลาสติกและถ้วยกระดาษแทนแก้วนั่งดื่มในร้าน และทำความสะอาดร้านทุกๆ ครึ่งชั่วโมง

80

ภาพจาก bit.ly/2WIdcPc

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากอาหารฟาสต์ฟู้ดถือเป็นอาหารหลักของชาวอเมริกัน หากปิดร้านก็จะยิ่งซ้ำเติมธุรกิจในสหรัฐอมริกา ที่สำคัญประชาชนไม่สามารถหาอาหารรับประทานได้ ดังนั้น คาดว่าร้านอาหารในรูปแบบซื้อกลับไปทานที่บ้าน ยังคงเปิดให้บริการ ขณะที่แบรนด์แฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดต่างๆ จะถูกบังคับให้ลดค่าธรรมเนียมต่างๆ เพื่อช่วยเหลือแฟรนไชส์ซีของตัวเอง

สำหรับแฟรนไชส์ในประเทศไทยนั้น เชื่อว่าผู้ประกอบการแฟรนไชส์หลายๆ แบรนด์ (แฟรนไชส์ซอร์) กำลังพิจารณาให้การช่วยเหลือแฟรนไชส์ซีของตัวเองด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อให้แฟรนไชส์ซีก้าวผ่านวิกฤตโควิด-19 ในครั้งนี้ได้


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

bno3

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/2xeeHKi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ข้อมูล https://bit.ly/2WEGvSI

อ้างอิงข้อมูล  https://bit.ly/2UC4Fun

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช