ส่องร้านโกโก้ แรงต้น แผ่วปลาย?

หากย้อนกลับไปเมื่อช่วงประมาณ 3-4 ปีที่ผ่านมา เชื่อว่าหลายๆ คนคงได้เห็นร้านชาเขียวราคาเดียว 25 บาทต่อแก้วเกิดขึ้นมากมายหลากหลายแบรนด์ตามถนน ตรอก ซอก ซอยทั่วประเทศ ราวๆ 30-40 แบรนด์ด้วยกัน แต่ละแบรนด์งัดกลยุทธ์แข่งขันกันด้วยวิธีการขายแฟรนไชส์ เพื่อสร้างแบรนด์และขยายกิจการให้เติบโตอย่างรวดเร็ว

แต่พอมาปัจจุบันบรรยากาศความคึกคักของตลาดชาเขียวราคาเดียว 25 บาท เริ่มเงียบเหงาลงไปอย่างน่าใจหาย หลายๆ ร้านที่เคยเห็นก็ปิดกิจการไป เพราะไม่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเหมือนแต่ก่อน อีกทั้งมีเครื่องดื่มใหม่ๆ เป็นตัวเลือกให้กับผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นชาเย็น กาแฟ ชานมไข่มุก น้ำผลไม้

ส่องร้านโกโก้

รวมไปถึงโกโก้ที่เป็นกระแสและมาแรงตั้งแต่ช่วงต้นปี 2565 ปัจจุบันมีมากกว่า 30 แบรนด์ที่มีการพูดถึงกันมากบนโลกออนไลน์ อาทิ โกโก้ร้านไอ้ต้น, โกโก้ไอ้เหี้ย, โกโก้อีก้อย, โกโก้อาม่า, โกโก้อินทนิล, มิดไนท์อะโกโก้, โชโก้, Cocoa Cart, Everyday COCOA, Cocoa Bar ฯลฯ

ถ้าถามว่าร้าน “โกโก้” จะได้รับความนิยมจากผู้บริโภคไปอีกยาวนานแค่ไหน หรืออาจมีชะตากรรมเช่นเดียวกันกับ “ชาเขียวราคาเดียว 25 บาทต่อแก้ว” วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลมาวิเคราะห์ให้ทราบครับ

จุดกระแส “โกโก้” ให้ดัง

14

ถ้าพูดถึงร้านชาเขียวราคาเดียว 25 บาทต่อแก้ว ที่เรียกว่าจุดกระแสให้เครื่องชาเขียว 25 บาทได้รับความนิยมในช่วงแรกๆ จนมีคนพูดถึงกันมาก นั่นคือ ชาพะยอม เป็นแบรนด์แรกๆ ที่ทำให้ตลาดชาเขียว 25 บาทเกิดความคึกคัก หลังจากนั้นไม่นานก็มีอีกหลายแบรนด์เข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งตลาด ไม่ว่าจะไปที่ไหนก็ซื้อชาเขียว 25 บาทต่อแก้วได้

แต่ถ้าเป็น “โกโก้” ต้องยกให้ “โกโก้ร้านไอ้ต้น” เป็นตัวจุดกระแสให้ร้านโกโก้กลับมามีชีวิตชีวา เป็นตัวสร้างสีสันให้กับตลาดเครื่องดื่มโกโก้กลับมาได้รับความนิยมใหม่อีกครั้ง จนหลายๆ ร้านทั้งแบรนด์ใหญ่แบรนด์เล็กเปิดตัวเมนูเครื่องดื่มโกโก้ตามสูตรลับของตัวเองเพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคที่กำลังเห่อเครื่องดื่มโกโก้ อีกหนึ่งเมนูเครื่องดื่มไม่แพ้ชานมไข่มุก

17

“โกโก้ร้านไอ้ต้น” ถือเป็นแฟรนไชส์ที่มีคนค้นหามากที่สุดอันดับ 1 ประจำปี 2565 โดยช่วงที่คนสนใจมากที่สุดอยู่ระหว่างวันที่ 1-7 พ.ค. 2565 เป็นช่วงเวลาที่แฟรนไชส์โกโก้ร้านไอ้ต้นมาแรง ได้รับความนิยม และมีคนพูดถึงกันเป็นจำนวนมาก หลังจากเปิดให้บริการเมื่อช่วงต้นเดือนมกราคม 2565 จากนั้นเปิดขายแฟรนไชส์ไม่มีค่าธรรมเนียมรายเดือน

แต่ผู้ซื้อแฟรนไชส์โกโก้ร้านไอ้ต้นต้องซื้อผงโกโก้จากเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ โดยในช่วงแรกๆ ขายแฟรนไชส์ราคา 35,900 บาท ปรากฏว่าได้ลูกค้า 100 คนภายใน 1 เดือน ซึ่งคนซื้อแฟรนไชส์ไปขายแค่ 2-3 วันก็สามารถคืนทุนได้ ต่อมาเจ้าของแบรนด์ปรับค่าแฟรนไชส์เป็น 55,900 บาท ปัจจุบันมีมากกว่า 210 สาขาทั่วประเทศ

อย่างไรก็ตาม หากมองดูจำนวนสาขาของ “โกโก้ร้านไอ้ต้น” กว่า 210 สาขาภายในปีเดียว ถือว่าไม่แผ่วเลยทีเดียว ขณะที่แบรนด์อื่นๆ ก็ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน มีร้านโกโก้ที่เปิดให้บริการในประเทศไทยราวๆ กว่า 30 แบรนด์ แต่ละแบรนด์ แต่ละร้านก็จะมีแฟนคลับที่เหนียวแน่นและชื่นชอบเครื่องดื่มโกโก้ ส่วนคนที่ไม่ชอบก็มองว่าโกโก้มีรสชาติหวานเกินไป

เทคนิคเปิดร้านโกโก้ให้ปัง

16

ถ้าจะขายเครื่องดื่มโกโก้สำคัญมาก คือ ผงโกโก้ที่นำมาชง รสชาติของแต่ละแบรนด์จะไม่เหมือนกันเลย แน่นอนว่าการขายเครื่องดื่มโกโก้ไม่ควรจะเป็นโกโก้ธรรมดาอย่างเดียวหรือมีแค่เมนูเดียว ควรนำโกโก้ไปผสมกับเครื่องดื่มอื่นๆ ที่ดูเข้ากันได้ให้เกิดเป็นเมนูใหม่ๆ แปลกๆ หรือจะสร้างสรรค์เมนูใหม่ที่ลูกค้าคิดไม่ถึงว่าร้านของคุณจะสามารถนำโกโก้มาทำสิ่งนี้ได้ เพื่อสร้างความแปลกใหม่และเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้า

นอกจากนี้ การเปิดร้านขายเครื่องดื่มโกโก้ในยุคนี้ ต้องบอกว่าคู่แข่งขันในตลาดมีมากมากหลากหลายแบรนด์ ถ้าหากร้านของคุณรสชาติไม่อร่อย ไม่เด็ดจริงจนมีลูกค้าประจำมากพอ ร้านของคุณก็จะอยู่ยากในตลาดโกโก้ ดังนั้น ก่อนที่ลูกค้าจะรู้ว่าร้านคุณอร่อย ก็ต้องมีวิธีเรียกลูกค้าให้เข้ามาซื้อก่อนด้วยการสร้างเอกลักษณ์ของร้านตัวเอง ซึ่งทำได้หลายรูปแบบดังนี้

  • การตกแต่งร้าน ต้องเลือกว่าอยากให้ร้านเป็นสไตล์ไหน อยากให้ลูกค้าเห็นร้านแล้วนึกถึงอะไร และอาจจะใช้โทนสีเป็นตัวบ่งบอกสไตล์และเอกลักษณ์ของร้านก็ได้
  • โลโก้ร้าน เป็นอีกสิ่งที่สำคัญมาก เพราะเป็นตัวบ่งบอกตัวตนของร้านเลยก็ว่าได้ ดังนั้นต้องไม่เหมือนใครและเป็นสไตล์ตัวเอง และที่ยากมากคือทำยังไงให้คนจดจำได้นั่นเอง
  • เพิ่มกิมมิคเก๋ๆ ของร้าน ถ้าร้านไหนสร้างความแตกต่างมีความสร้างสรรค์ อาจทำให้จากร้านเล็กๆ ข้างทางกลายเป็นร้านที่มีแฟรนไชส์หลายสาขาเช่นเดียวกับ “โกโก้ร้านไอ้ต้น” ที่มีกว่า 210 สาขาทั่วประเทศ

ดังนั้น ต้องมองหาสิ่งรอบๆ ตัวหรือค้นหาอะไรที่ตัวเอง มีเพื่อนำมาเป็นจุดเด่นและมาเป็นกิมมิคให้กับร้าน เพื่อเป็นการดึงดูดลูกค้า

15

สรุปก็คือ ร้านโกโก้ กระแสยังไม่ได้แผ่วลงไป แต่ละร้านยังมีฐานกลุ่มลูกค้าที่เป็นแฟนคลับของตัวเองอย่างเหนียวแน่น และแต่ละร้านก็มีเมนูโกโก้หลากหลายเมนูที่เป็นสูตรเฉพาะของตัวเอง ทำให้ดึงดูดลูกค้าได้เหนียวแน่นและลูกค้าไม่รู้สึกเบื่อ

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3V9r2ob


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช