“สมาร์ทโชห่วย” ทางรอดของโชห่วยไทยยุค 4.0

สมัยก่อนนั้นหากจะซื้อขนม อาหาร หรือของใช้เล็กๆ น้อยๆ ผู้คนก็จะนิยมเข้าร้านค้าปลีกใกล้บ้านที่เรียกกันอีกอย่างว่า “โชห่วย” ซึ่งส่วนมากจะมีตั้งอยู่ในชุมชน

หรือท้องถิ่นซึ่งคนในพื้นที่นั้นๆ ก็จะนิยมเข้าไปซื้อของกัน ทว่าเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ร้านสะดวกซื้อต่างๆ เริ่มเข้ามามีบทบาทแข่งกับร้านโชห่วยมากขึ้น

สมาร์ทโชห่วย

ภาพจาก bit.ly/2p8zfzI

จะเห็นได้ว่าในสมัยนี้ผู้คนเริ่มนิยมหันมาเข้าร้านสะดวกซื้อ อาจเพราะว่ามีสินค้าที่เป็นหมวดหมู่ให้เลือกซื้อได้ง่ายมากกว่า หรืออาจเป็นเพราะพนักงานร้านสะดวกซื้อบริการดีกว่าเจ้าร้านโชห่วยที่บางคนอาจไม่ได้มีใจในการบริการถึงขนาดนั้นก็เป็นได้

แต่ว่าถ้าหากสถานการณ์มันเป็นอย่างงั้นแล้ว โชห่วยไทยตอนนี้จะเป็นอย่างไรบ้างล่ะ? ยังขายดีอยู่เหมือนเดิมหรือไม่ และยังอยู่รอดดีหรือเปล่า?

14

ภาพจาก bit.ly/329ftTa

จริงอยู่ที่ใครหลายคนอาจเห็นว่ามีร้านสะดวกซื้อผุดขึ้นมามากมายเต็มไปหมดราวกับดอกเห็ดที่งอกในหน้าฝน แต่ในความจริงแล้ว โชห่วยหลายๆ แห่งก็ยังอยู่ได้ ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะกลุ่มเป้าหมายของโชห่วยนั้นคือคนในท้องถิ่น หรือชุมชนนั้นๆ ที่ค่อนข้างมีความผูกพันกับโชห่วยมากกว่าร้านสะดวกซื้อ

เพราะเมื่อลองดูบทบาทของโชห่วยดีๆ ก็พบว่ามันไม่ได้เป็นแค่ร้านขายของที่ลูกค้าจะมาซื้อของแล้วเดินจากไปเท่านั้น แต่ด้วยความที่โชห่วยเป็นร้านที่ค่อนข้างใกล้ชิดกับชุมชนมากกว่าสะดวกซื้อ

จึงมีบทบาทอีกอย่างหนึ่งก็คือการเป็นศูนย์รวมของคนในชุมชน เป็นแหล่งพบปะพูดคุย ซึ่งบางทีเจ้าของร้านอาจเข้าร่วมวงสนทนานั้นๆ ด้วย ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าอย่างไรก็ตามร้านโชห่วยก็ยังไม่หายไปจากสังคมไทยซะทีเดียวด้วยความใกล้ชิดกับชุมชนนั่นเอง

13

ภาพจาก bit.ly/2B0GCff

แต่ก็ต้องยอมรับอีกอย่างหนึ่งว่าร้านโชห่วยมีจุดตรงที่ร้านโชว์ห่วยส่วนมากยังมีการจัดการร้านที่ไม่เป็นระบบเท่าไหร่นักด้วยความที่ยุคสมัยเปลี่ยน เทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ ก็เปลี่ยนผันตามไปด้วย แน่นอนว่าสักวันหนึ่งโชห่วยก็ต้องปรับตัวไปตามยุคสมัย พัฒนาให้ดีขึ้น

ซึ่งในที่นี้ก็จะขอยกตัวอย่างการผลักดันโชห่วยให้เป็น “สมาร์ทโชห่วย” ของกระทรวงพานิชย์ที่ผลักดันให้มีการพัฒนาร้านโชห่วยของไทยให้มีระบบการจัดการร้านที่ดีมากขึ้น ซึ่งจากการลงพื้นที่สอบถามก็พอจะทราบอย่างคร่าวๆ ว่าปัญหาของร้านโชห่วยคือไม่มีระบบการบริหารจัดการร้านค้าที่ดี

การจัดร้านไม่เป็นระเบียบทำให้ลูกค้าหาสินค้าลำบาก ไม่มีระบบการตรวจเช็คสต็อกสินค้าทำให้บางครั้งสินค้าที่ซื้อมาจำหน่ายมีมากเกินความจำเป็นหรือสินค้าหมดอายุ นอกจากนี้ไม่สามารถจัดโปรโมชั่นเพื่อดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาซื้อสินค้าในร้านได้ ดังนั้นจึงต้องมีการให้ความรู้กับเจ้าของร้านโชห่วยเกี่ยวกับการจัดการระบบที่ดี เพื่อยกระดับโชห่วยไปอีกขึ้น

12

ภาพจาก bit.ly/2p67EPD

ถึงจะมีร้านค้าสะดวกซื้อเปิดขึ้นมามากมายและอาจจะมีเบียดร้านโชห่วยไปบ้าง แต่กระนั้นร้านโชห่วยคงจะยังไม่สูญหายไปซะทีเดียว ด้วยความที่ร้านชำเล็กๆ ซื้อขายง่ายๆ เหล่านี้มีความใกล้ชิดกับชุมชน และบทบาทของโชห่วยก็มีมากกว่าร้านค้า แต่เป็นเสมือนแหล่งพบปะพูดคุยของคนในชุมชนไปในตัว

แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องยอมรับว่าเหล่าร้านโชห่วยนั้นยังต้องแก้ไขช่องโหว่ของตัวเองเพื่อความอยู่รอดตามยุคสมัยอยู่ดี ดังนั้นหากร้านค้าเหล่าสามารถปรับตัว พัฒนาคุณภาพในการบริการและการจัดการสินค้าได้ แน่นอนว่าร้านโชห่วยก็จะสามารถคงอยู่ได้อีกนานอย่างแน่นอน


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

01

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ goo.gl/Io5k2S

แหล่งที่มา

กองบรรณาธิการเว็บไซต์

ยินดีสนับสนุน SMEs ไทยทุกแบรนด์ ที่ต้องการสร้างความเข้มแข็ง อยากเรียนรู้ พัฒนาธุรกิจ ส่งเสริมความเข้าใจในการตลาด มีความคิดสร้างสรรค์ แบ่งปันเพื่อสังคม ต่อยอดธุรกิจ ให้ประสบความสำเร็จในอนาคต