วิกฤติธุรกิจของ GOPro! ยอมเล็กแต่ไม่ยอมล้ม

ในปี 2560 ถือว่าเป็นมรสุมสำหรับบางคนที่ทำธุรกิจยิ่งการเข้ามาของกระแสออนไลน์ที่ทำให้ค้าปลีกหลายแห่งปรับตัวไม่ทันถึงขั้นต้องเลิกกิจการกันจำนวนมาก บางรายที่อยู่ได้ก็ต้องปรับขนาดตัวเองให้เล็กลงเพื่อลดรายจ่ายจะได้มีกำไรเหลือบ้าง ไม่ใช่แค่แวดวงค้าปลีกอุตสาหกรรมหลายแห่งก็จำเป็นต้องรัดเข็มขัดตัวเองมากขึ้น

ดังจะเห็นจากกระแสปรับลดพนักงานหรือปิดสาขาถือเป็นมาตรการเพื่อความอยู่รอดที่ฮอตฮิตมาก และหนึ่งในธุรกิจระดับที่ไม่พลาดเทรนด์ยอมเล็กแต่ไม่ยอมล้มที่ www.ThaiSMEsCenter.com นำมาเรียบเรียงให้ได้อ่านนี้คือ GoPro ที่ปลุกกระแสกล้องถ่ายวีดีโอรุ่นจิ๋วให้คนฮิตติดใจในสมัยที่ยังรุ่งเรือง

วิกฤติธุรกิจของ
ภาพจาก goo.gl/SbwJKR

GoPro นั้นก่อตั้งโดย Nick Woodman ผู้ที่ผ่านการทำธุรกิจอย่างอื่นเจ๊งมาแล้วถึง 2 ครั้ง การลงทุนใน GoPro ครั้งนี้เขาก็หมายมั่นปั้นมือเอาประสบการณ์ที่ล้มเหลวมาใช้ให้เกิดประโยชน์เพื่อหวังว่าจะไม่ได้ชื่อว่าล้มเหลวอีกเป็นครั้งที่ 3

และก็ดูเหมือนว่าในระยะแรกทุกอย่างจะสวยงามกับสินค้ายอดฮิตอย่าง GoPro HERO ที่ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า และทำให้ GoPro นั้นขึ้นมาผงาดในทำเนียบของฟอร์บด้วยรายได้ที่เกินกว่า 1.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ

แต่จุดเปลี่ยนจากฟ้าสู่เหวของ GoPro มันเริ่มจากการที่บริษัทหันไปเอาดีด้านการผลิตโดรน เปิดตัวรุ่นแรกก็คือ Karma ที่ขายคู่กับ GoPro HERO 5 ในระยะแรกก็คือว่าฮือฮา โดรนของ GoPro กลายเป็นสินค้าขายดีอันดับ 2 ในอเมริกา แม้จะมีราคาสูงกว่า 1,000 ดอลลาร์ก็ตาม

วิเคราะห์ถึงปัญหาว่าทำไมสินค้าที่คิดว่าดีแต่ในความจริงกลับไม่ดีอย่างที่คิด

gp2

ภาพจาก goo.gl/9PmrRh

1. GoPro วางแผนผิดด้วยคิดจะเอากล้อง Action Cam ที่เป็นจุดเด่นของตัวเองไปผนวกเข้ากับโดรนที่กำลังเป็นสินค้ายอดฮิตโดยมุ่งหวังว่าจะช่วยเพิ่มยอดขายได้ทั้งกล้องและโดรน

2.การไม่มี Knowhow ด้านการผลิตโดรนจึงต้องไปเจรจากับบริษัทผู้ผลิตรายอื่นแต่สุดท้ายการเจรจาไม่เป็นผลแต่ GoPro ก็ยังดึงดันที่จะผลิตเองและกลายมาเป็น GoPro KARMA โดรนรุ่นแรกที่วางขาย

3.ไม่สามารถแชร์ส่วนแบ่งการตลาดจากยักษ์ใหญ่อย่าง DJI ของจีนที่เปิดตัวสุดยอด Drone พกพาอย่าง Mavic Pro ที่เหนือกว่า KARMA แทบจะทุกด้านในราคาที่พอๆ กัน

เมื่อการเทงบประมาณที่ผิดพลาด ย่อมส่งผลต่อภาพรวมของธุรกิจในทันทีรายงานตัวเลขกำไรขาดทุนของ GoPro จึงเริ่มติดลบตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมา วิธีการที่ GoPro ต้องงัดออกมาใช้ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไปคือการลดขนาดธุรกิจตัวเองลงในทันที

gp3
ภาพจาก goo.gl/YFBD97

GoPro ประกาศปลดพนักงานอย่างน้อย 300 ตำแหน่งเพื่อให้โครงสร้างบริษัทนั้นมีพนักงานไม่เกิน 1,000 ตำแหน่งจากที่เคยมีพนักงานทั้งสิ้น 1,254 ตำแหน่ง และยังได้ปรับลดคาดการณ์รายได้ตัวเองให้น้อยลงจากเคยตั้งเป้าไว้ 470 ล้านดอลลาร์ก็เหลือตั้งเป้าไว้แค่ 340 ล้านดอลลาร์เท่านั้น

ถ้าลองมาดูที่ตัวเลขจะพบว่าหลังการปรับลดพนักงานออกไปทำให้ตัวเลขรายได้ของบริษัทนั้นพอจะกระเตื้องขึ้นมาบ้างโดยมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น 218.6 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 19.1% จากการขาดทุนในครั้งแรกแต่ตัวเลขขาดทุนโดยรวมก็ยังคงอยู่มากกว่า 111.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

gp4
ภาพจาก goo.gl/T29M79

ซึ่งมาตรการปรับลดตัวเองให้เล็กลงของ GoPro นี้ก็ไม่ได้ทำแค่ในส่วนของพนักงานเท่านั้นแม้แต่ผู้บริหารอย่าง Nick Woodman ก็ยังตัดรายจ่ายในส่วนที่เป็นเงินเดือนของตัวเองออกไปโดยเหลือเพียง 1 ดอลลาร์สหรัฐสำหรับตำแหน่งซีอีโอซึ่งเรียกว่าแทบจะไม่เอาเงินเดือนเลยด้วยซ้ำ

จากทุกมาตรการที่พยามทำทั้งหมดนี้กำไรของ GoPro ก็ยังไม่ได้เพิ่มขึ้นแต่การปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ก็ต้องดูกันที่เวลาปัญหาแรกคือต้องลดตัวเลขขาดทุนให้น้อยที่สุดซึ่งก็ต้องมาดูกันว่าในปี 2018 นี้ GoPro จะขยับตัวเลขรายได้ของตัวเองขึ้นมาได้มากน้อยเพียงใดหรือจะต้องเลือกอีกวิธีคือการขายกิจการให้คนอื่นมาดูแลแทนเพื่อรักษา GoProให้คงอยู่ต่อไป

สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมาย ติดตามได้ที่ goo.gl/Io5k2S

ขอบคุณข้อมูล goo.gl/hnyH7e

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด