ร้านชา 25 บาท กับกลยุทธ์ Follower Marketing

ต้องยอมรับว่าการแข่งขันในธุรกิจเครื่องดื่มชาเย็น แก้วละ 25 บาท ราคาเดียวทุกเมนู มีความร้อนแรงเหมือนอากาศในเมืองไทยไม่มีผิด ไม่ว่าจะในห้าง นอกห้าง ตามตรอก ซอก ซอย ถนนหนทางต่างๆ ทั่วประเทศ ที่ผู้คนสัญจรผ่าน

จะเห็นแต่ร้านเครื่องดื่มชาเย็นเกลื่อนตาไปหมด จนผู้บริโภคไม่รู้จะเลือกซื้อยี่ห้อไหนดี เพราะต่างมีรูปแบบร้านค้า ภาชนะบรรจุ แก้วส่วนผสมต่างๆ ที่คล้ายคลึงกัน อีกทั้งรสชาติก็ไม่ได้แตกต่างกันมากเท่าไหร่นัก

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จึงอยากนำเสนอข้อมูล รวมถึงการวิเคราะห์ ว่า มีกลยุทธ์ หรือ ปัจจัยอะไรบ้าง ที่จะชี้เห็นว่าร้านเครื่องดื่มชาเย็น 25 บาท ทุกแก้ว ทุกเมนู โดยเฉพาะยี่ห้อชาเย็นที่มีโลโก้คล้ายคลึงกัน ส่วนผสมคล้ายๆ กัน เมนูก็ไม่แตกต่างกันมากนัก รสชาติเหมือนกันเป็นส่วนใหญ่ สามารถเติบโต ขยายสาขา มีฐานกลุ่มลูกค้าเป็นจำนวนมาก

25 บาท

ภาพจาก https://goo.gl/UwuPIr

nn5

ภาพจาก https://goo.gl/i4i2l8

การแข่งขันในธุรกิจเครื่องดื่มต่างๆ ช่วงที่ผ่านมา ที่เห็นส่วนใหญ่จะเดินเกมในลักษณะ “ใครเร็วกว่าได้เปรียบ” หรือ Speed Advantage ไม่ว่าจะเป็นน้ำดื่ม น้ำอัดลม นมเปรี้ยว ชาเขียว เครื่องดื่มชูกำลัง ฯลฯ ต่างงัดกลยุทธ์ออกมาฟาดฟันกัน ใครไวกว่าได้เปรียบ ใครออกตัวก่อนทำให้ผู้บริโภคจดจำได้ดี ไม่ว่าจะเป็นการออกแคมเปญแจกรางวัล จับสลาก ชิงโชค

แต่สำหรับการแข่งขันในสมรภูมิเครื่องดื่มชาเย็น แก้วละ 25 บาท ทุกเมนู ได้มีการพัฒนาขึ้นจากเดิม มีความยุ่งยาก ซับซ้อน แต่ดูเหมือนทำได้ง่าย เพราะมีผู้นำ มีผู้ตาม อยู่ในสมรภูมิเดียวกัน มาดูกันว่าธุรกิจร้านชาราคาเดียว 25 บาท เขาเดินเกมกลยุทธ์อะไรในการทำธุรกิจ ถ้าผู้บริโภคไม่สังเกตให้ดี มองแบบผิวเผิน อาจจำยี่ห้อผิดก็เป็นได้

กลยุทธ์ Follower Marketing

nn6

ภาพจาก https://goo.gl/AxTaQl , https://goo.gl/ruWFIc

การทำธุรกิจในยุคปัจจุบัน ใครหลายคนก็อยากจะประสบความสำเร็จทางธุรกิจในระยะเวลาอันรวดเร็ว จึงได้มีการทำธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์มากมาย

เพราะเป็นการซื้อความสำเร็จของธุรกิจที่สนใจมาบริหาร ซึ่งปัจจุบันในเมืองไทยก็มีธุรกิจแฟรนไชส์หลากหลายประเภท ให้คนที่อยากประสบความสำเร็จเร็วได้เลือกซื้อ อาทิ อาหาร เครื่องดื่ม ไอศกรีม เบเกอรี่ บริการ การศึกษา ความงาม ค้าปลีก งามพิมพ์ อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น

โดยผู้ซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว ถือว่าได้ใช้กลยุทธ์ Follower marketing ในการทำธุรกิจ พูดให้เข้าใจง่ายๆ คือ เป็นผู้ตามที่ดี ทำตามระบบ ตามตามทุกขั้นตอนที่ทำให้เขาประสบความสำเร็จมา

jj1

ภาพจากhttps://goo.gl/wNwiVM

nn8

ภาพจาก https://goo.gl/DOjrj2

ปัจจุบันในเมืองไทย กลยุทธ์ Follower marketing Strategies ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งธุรกิจแฟรนไชส์ และธุรกิจประเภทอื่นๆ เพราะทำง่าย ทำได้เร็ว “ใครทำอะไรก่อนแล้วประสบความสำเร็จ มักมีผู้ตามลอกเลียนแบบทันทีทันใด” เห็นได้จากร้านเครื่องดื่มชาเย็น แก้วละ 25 บาท ทุกเมนู

นอกจากรูปแบบ เอกลักษณ์ของร้าน รวมถึงรสชาติที่เหมือนๆ กันแล้ว “โลโก้” หรือเครื่องหมายการค้า ที่ติดข้างแก้ว และหน้าร้าน ยังมีความคล้ายคลึงกัน หากไม่สังเกตดีๆ อาจแยกแยะไม่ออก ว่าเป็นแบรนด์ไหน ยี่ห้อไหน เพราะมันคล้ายๆ กัน

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ เช่น ชาพะยอม กับ ชาพะเยา, ชาขุนพล กับ ชาจอมพล และยังมีชายี่ห้ออื่นๆ อีกหลายแบรนด์ที่มีการออกแบบ “โลโก้” ที่คล้ายคลึงกับยี่ห้อชาที่ได้กล่าวไป ซึ่งภาพรวมทั้งหมดจะคล้ายกันทุกๆ ด้านเลย

Product Imitation (การลอกเลียนแบบสินค้า)

nn9

ภาพจาก https://goo.gl/O5hHpI

หากใครที่ได้ลองสัมผัสกับร้านชาเย็น 25 บาท มาแล้ว คงเห็นแล้วว่า รูปแบบของร้านค้า ภาชนะบรรจุ โทนสี โดยเฉพาะแก้วใส่เครื่องดื่มนั้น มีการออกแบบมาให้เหมือนกัน ทั้งรูปร่าง ขนาดบรรจุของแก้ว ยิ่งหากดูลึกไปกว่านั้น จะเห็นตรายี่ห้อหรือโลโก้แต่ละแบรนด์ ที่ติดไว้ข้างแก้วมีลักษณะการวางตำแหน่งเหมือนๆ กัน

ตรงนี้ถือเป็น Product Imitation ที่สามารถกระทำกันได้ในเมืองไทย ไม่น่าจะเกิดการฟ้องร้องกัน เหมือนกับร้านกาแฟแบรนด์ดังระดับโลกอย่าง “สตาร์บัคส์” กับ “สตาร์บัง” ยี่ห้อกาแฟตามท้องถนน

แม้ว่าผู้บริโภคจะไม่สับสน คิดว่าสตาร์บังเป็นสตาร์บัคส์ แต่ก็ฟ้องเพื่อเป็นการคุ้มครองเครื่องหมายการค้าของตัวเอง ไม่ให้ถูกลอกเลียนแบบ หรือล้อเลียน เพราะแบรนด์สตาร์บัคส์เป็นร้านกาแฟที่ได้ลิขสิทธิเปิดขายทั่วโลก ย่อมได้รับการคุ้มครองตราสินค้าเป็นธรรมดา

nn10

แต่สาหรับร้านชา ราคา 25 บาท ถือเป็นแบรนด์ที่ได้จดเครื่องหมายการค้าอย่างถูกต้อง ตามกฎหมายและข้อบังคับ ของกรมทรัพย์สินทางปัญหา กระทรวงพาณิชย์ แม้ว่าจะมีความคล้ายคลึงกัน

หากผู้บริโภครู้จักสังเกต สามารถแยกแยะออก ก็อาจไม่เกิดความสับสน แต่การทำธุรกิจด้วยกลยุทธ์ Follower marketing อาจไม่ช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืนมากนัก

ที่สำคัญในวินาทีนี้ ไม่รู้ว่า “ใครเป็นผู้นำ ใครเป็นผู้ตาม” แต่ก็คงต้องเหนื่อยตามๆ กันเพราะต้องงัดกลยุทธ์ทางการตลาดมาเชือดเฉือนกัน แย่งส่วนแบ่งทางการตลาดที่มีผู้เล่นมากมาย

แต่ก็ลืมนะครับ หัวใจสำคัญในการทำธุรกิจ คือ การรักษาฐานลูกค้าเก่า เจาะตลาดใหม่ๆ เพื่อหาลูกค้ารายใหม่ๆ ด้วย พยามสร้างความแตกให้ลูกค้ารู้สึกว่า “ยี่ห้อ” ของคุณ ดีจริงๆ สุดท้ายก็จะทำให้ความเหมือน กลายเป็นความแตกต่างได้

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช