#รีวิวหนังสือ เทคนิคเรียนเก่งด้วยกระดาษโน้ต ฉบับเด็กโทโด

สิ่งที่จะได้รับใน รีวิวหนังสือ เทคนิค เรียนเก่งด้วยกระดาษโน้ต ฉบับเด็กโทโด เล่มนี้ กระดาษโน้ตไม่ใช่แค่อุปกรณ์เครื่องเขียนแต่เปรียบเสมือน “คู่หู” ที่คอยสนับสนุนการแสดงออกทางความคิด จัดระเบียบและฝึกให้เจาะลึกลงรายละเอียด

  • ลืมการท่องจำแบบเดิมๆ
  • ลดความสะเพร่า
  • จัดสรรเวลาได้อย่างดี
  • พัฒนาทักษะการเขียน
  • ระดมไอเดียได้ดีขึ้น

รีวิวหนังสือ เทคนิค

7

6

เขียน : ชิมิซุ อากิฮิโระ
แปล : อนิษา เกมเผ่าพันธ์

ราคา 225 บาท
จำนวน 146 หน้า


1. กระดาษโน้ตทำอะไรได้บ้าง?

5

1.ทำสัญลักษณ์

ใช้จัดลำดับความสำคัญของเนื้อหาด้วยสี หรือ ความยาวของปลายโน้ต

  • จดบันทึกการอ่าน
  • พจนานุกรมเสริมความรู้

2.กระตุ้นความคิด

จดโน้ตไว้เยอะๆ แล้วค่อยเลือก ว่าโน้ตนี้นำมา ใช้ได้ หรือ ไม่ได้

  • จำแนกคำอธิบาย

3.จัดระเบียบ

เขียนออกมา > จัดกลุ่ม > จัดลำดับ

  • เมตริกซ์ของการจัดสรรเวลา

4.จดบันทึก

กระดาษโน้ตช่วยสร้างตารางจดบันทึกในแบบของตัวเอง

  • จดข้อผิดพลาด
  • จดคำศัพท์
  • จดการอ่าน

2. ความสามารในการจำ

4

ประตูท่องจำ ช่วยทำให้การจดจำเป็นเรื่องสนุกประหนึ่งเล่นเกมแค่นำสิ่งที่อยากจดจำมาตั้งเป็นโจทย์คำถาม ติดไว้บนประตูหรือฝาตู้เย็นจากนั้น ห้ามเปิดประตูจนกว่าจะตอบโจทย์ได้ เก็บรวบรวมโจทย์ทั้งหมดและนำมาทบทวนทุกวันอาทิตย์

สิ่งสำคัญอันดับแรกคือ ต้องรู้จักคิดโจทย์คำถามด้วยตัวเอง และอย่าลืมว่า หลักพื้นฐานคือ “จำได้เมื่อไหร่ให้ดึงออก”


3. Input เก่งขึ้น

3

บันทึกการอ่าน Input เก่งขึ้น การอ่านพร้อมกับเขียนสิ่งที่ตัวเองคิดกำกับเอาไว้ต่างหากที่จะนำไปสู่การฝึกฝนทักษะการตีความและพลังความคิด

  • อ่านพร้อมคิดตามว่า ต้องกลับมาทบทวนเรื่องใด
  • ติดกระดาษโน้ตบนจุดที่ต้องการทบทวน
  • เขียนข้อสังเกตไว้ด้านหลังปก

เพิ่มคลังคำศัพท์

  • เตรียมพจนานุกรมและกระดาษโน้ต
  • ค้นหา “คำศัพท์ที่รู้อยู่แล้ว” และติดกระดาษโน้ต
  • ค้นหาคำศัพท์ที่อยากรู้
  • กล่าวชม หรือขอให้ใครกล่าวชม
  • ฝึกให้เป็นนิสัย

4. ลดความสะเพร่า

2

ลดความสะเพร่าด้วยการ “บันทึกจุดผิด” แค่เขียน “แนวโน้มความผิดพลาดและวิธีแก้ไข” ลงบนกระดาษโน้ตแล้วติดไว้ด้านหลังปกสมุดจด

  1. หาจุดผิดพลาด จากความสะเพร่า
  2. รวมคะแนนที่พลาด หาคะแนนที่ควรได้
  3. ค้นหาแนวโน้มข้อผิดพลาดของตัวเอง
  4. พิจารณาว่า “ต้องระวังเรื่องใดบ้าง”
  5. เขียนติดไว้ด้านหลังปกสมุดโน้ต
  6. ติดไว้บนประตูบ้านที่ความสูงระดับสายตา
  7. ติดไว้ในจุดที่มองเห็นได้ง่ายเมื่อเปิดกล่องดินสอ
  8. ติดไว้บนจุดสัมผัส เช่น ลูกบิดประตู

5.แบ่งเวลาได้ดียิ่งขึ้น

1

“เมตริกซ์ของการจัดสรรเวลา” มองเห็นสิ่งที่ต้องทำชัดเจนขึ้น!

  1. เขียนสิ่งที่ต้องทำลงบนกระดาษโน้ต
  2. สร้างเมตริกซ์ด้วยการลากเส้นแกนความสำคัญ
  3. จัดวางกระดาษโน้ตลงบนตำแหน่งทั้งสี่
  4. ดึงออกมาเรียงตามลำดับความสำคัญ

“ให้คำแนะตัวเองผ่านกระดาษโน้ต” รู้จักทบทวนตัวเองมากขึ้น

  1. เขียนจุดที่น่าชมเชยและจุดที่น่าตำหนิลงบนกระดาษโน้ต
  2. เขียนระบุว่าทำอย่างไรจำจะปฎิบัติได้ต่อเนื่อง หรือแก้ไขจุดบกพร่องได้

 

เรียบเรียงโดย : คุณปิยาพัชร ปกครอง (ปาร์มี่)

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3rb2oYV