รวม 7 วิธีใช้เงินคนละครึ่ง “800 บาท” ให้พอใน 2 เดือน

โครงการคนละครึ่ง เฟส 5 ให้วงเงินคนละ 800 บาท โครงการนี้ใช้วงเงินรวมกว่า 21,200 ล้านบาท ระยะเวลาใช้สิทธิตั้งแต่ 1 กันยายน – 31 ตุลาคม 2565 ประชาชนส่วนใหญ่มองว่าไม่เพียงพอกับการใช้จ่ายเนื่องจากสินค้าราคาแพงขึ้นมาก ทำให้บรรยากาศไม่คึกคักเท่าที่ควร เพราะประชาชนส่วนใหญ่จะเก็บเงินไว้ใช้จ่ายซื้อสินค้าที่จำเป็นเท่านั้น

แต่ www.ThaiSMEsCenter.com มองว่าการได้สิทธิจากโครงการนี้ก็ยังเป็นเรื่องดีที่นำมาช่วยบรรเทาค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้มากขึ้น สิ่งที่ได้มาก็คงต้องมาบริหารจัดการกันให้ดีว่า “เงิน 800 บาท” จะใช้ยังไงให้พอกับการดำรงชีวิตในช่วง 2 เดือนที่สามารถใช้สิทธิในโครงการนี้ได้

1.นำมาเฉลี่ยใช้วันละ “26 บาท”

วิธีใช้เงินคนละครึ่ง

โครงการคนละครึ่งที่รัฐจ่ายให้ 800 บาท เราก็ต้องมีเงินอีก 800 บาท รวมเป็น 1,600 บาท หารตัวเลขนี้เฉลี่ยแล้วจะใช้ให้พอดีใน 2 เดือน ต้องใช้เฉลี่ยวันละ 26 บาท ซึ่งเงินจำนวนนี้ถือว่าไม่เยอะ แต่ก็ยังพอเอามาซื้ออาหารง่ายๆได้เช่น ซื้อบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปได้ 3 ซอง (ราคาซองละ 7 บาท รวมเป็น 21 บาท) หรือซื้อข้าวสวยนึ่งพร้อมทาน 3 ถ้วย 10 บาท ไข่ต้ม 3 ฟอง 15 บาท รวมเป็น 25 บาท หรือง่ายกว่านั้นก็ซื้อข้าวเหนียวหมูปิ้งไม้ละ 5-7 บาทได้ประมาณ 2-3 ไม้ พร้อมข้าวเหนียว ราคารวมประมาณ 24 บาท เป็นต้น และด้วยอาหารง่ายๆ เหล่านี้ก็คงพอให้เราอิ่มท้องในแต่ละวันได้บ้าง แม้บางคนจะบอกว่าอาหารแค่นี้กินได้แค่มื้อเดียวยังไม่อิ่มก็ตาม

2.ใช้ “คนละครึ่ง” ซื้อวัตถุดิบเก็บไว้

25

ข้อดีของสิทธิคนละครึ่งคือทำให้เราจ่ายราคาสินค้าถูกลงครึ่งหนึ่ง แม้เราจะต้องใช้เงินตัวเองอีกครึ่งก็ตาม แต่อย่างน้อยก็มีโอกาสให้เราซื้อของได้มากขึ้น ถ้าใครมองว่าเงินแค่ 800 บาท (ของเราอีก 800 บาท) นั้นน้อย ก็ให้เปลี่ยนวิธีคิดไม่ต้องนำไปซื้ออะไรจุกจิก ให้เน้นซื้อวัตถุดิบหลักในการทำอาหารเช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป , ปลากระป๋อง , ไข่ , ขนมปัง หรือวัตถุดิบประกอบอาหารประเภทของแห้งที่สามารถเก็บได้นาน ด้วยเงินจำนวนนี้ทำให้เราได้สินค้ามากขึ้น และทยอยนำมาใช้ก็คงจะช่วยให้เราประหยัดเงินค่าอาหารได้มากขึ้นไปสักระยะหนึ่งด้วย

3.ใช้ไปเรื่อยๆ อย่าให้เกินวันละ 150

17

เงื่อนไขของโครงการคนละครึ่งกำหนดให้ใช้ได้ไม่เกินวันละ 150 บาท สมมุติว่าถ้าเราใช้วันละ 150 บาทเต็มจำนวนอย่างต่อเนื่อง เราจะใช้ได้แค่ประมาณ 6 วันเงินจากโครงการนี้ก็จะหมด วิธีใช้ให้ได้นานมากขึ้นคือต้องกำหนดวิธีการใช้ให้น้อยกว่าวันละ 150 เช่นถ้าเรากำหนดว่าแต่ละวันเราจะใช้ แค่ 100 บาท เราก็จะใช้ได้ประมาณ 8 วัน หรือถ้ากำหนดให้น้อยลงกว่านั้นอีกคือใช้วันละไม่เกิน 50 บาท เราก็จะใช้ได้ประมาณ 13 วัน ในแต่ละวันยิ่งเราใช้น้อยเท่าไหร่ยอดก็จะเหลือให้ใช้ในวันอื่นต่อได้ จะใช้ได้นานแค่ไหน จะถึง 2 เดือนหรือไม่ก็ต้องมาบริหารจัดการค่าใช้จ่ายของเราเองด้วย

4.ใช้บ้างไม่ใช้บ้าง ถ้าของราคาไม่แพงเกินไปก็อย่าเพิ่งใช้

16

สิทธิคนละครึ่งบางคนหมดเร็วมากก็เพราะใช้จ่ายทุกอย่างตามสิทธิที่ใช้ได้ ซึ่งก็เป็นสิทธิส่วนบุคคลที่เราสามารถจะเลือกจ่ายอะไรก็ได้ตามที่ต้องการ แต่การจะใช้ให้นานขึ้น บางทีถ้าราคาสินค้าไม่แพงเกินไปก็อาจไม่ต้องใช้สิทธิคนละครึ่งในการจ่าย เช่นซื้อชานมไข่มุก 25 บาท จ่ายคนละครึ่งเหลือ 12.50 บาทแต่เงินในสิทธิคนละครึ่งเราก็จะหมดไปเช่นกัน ถ้าอยากเก็บไว้ใช้นานๆ บางทีก็อาจต้องยอมทำใจถ้าสินค้าราคาไม่แพงเกินไปเราอาจเลือกจ่ายเต็มจำนวนแทนได้

5.ใช้สิทธิคนละครึ่งสั่งอาหาร เครื่องดื่ม ผ่านแพลตฟอร์มเดลิเวอรี่

19

โครงการคนละครึ่งเปิดสิทธิให้ใช้ผ่านแพลตฟอร์มเดลิเวอรี่ที่ลงทะเบียนร่วมรายการได้ สำหรับบางคนที่อยากใช้คนละครึ่งให้คุ้มค่าได้มากขึ้น อาจใช้ช่องทางนี้ในการสั่งอาหาร เครื่องดื่ม ที่นอกจากจะได้ราคาคนละครึ่งแล้ว บางทียังมีโค้ดส่วนลด หรือการจัดแคมเปญของแต่ละค่ายที่ให้เราเก็บสิทธิไว้ใช้ได้ในโอกาสต่อไป เป็นอีกเทคนิคที่น่าสนใจในการใช้แต่การสั่งอาหารก็ควรจะเลือกเมนูที่ราคาไม่สูงเกินไปเพื่อจะได้ใช้ได้หลายครั้ง ได้นานมากที่สุด

6.นำไปซื้อวัตถุดิบนำมาแปรรูปเพื่อขาย

15

สิทธิคนละครึ่งในรอบนี้จำนวน 800 (เงินของเราอีก 800) ถือว่าไม่มาก ถ้าใช้ซื้อของทั่วไปแป๊บเดียวก็หมด ถ้าจะต่อยอดให้ได้ผลดีที่สุดอาจนำไปลงทุนกับวัตถุดิบแล้วนำมาขายต่อ เช่นซื้อเนื้อหมูกิโลกรัมละ 190 บาท ถ้าใช้สิทธิคนละครึ่งเราจะจ่ายเพียง 95 บาท และอาจนำเนื้อหมูนี้มาหมักเพื่อปิ้งขาย (ในกรณีที่มีอุปกรณ์การปิ้งอยู่แล้ว ไม่ต้องลงทุนเพิ่ม) เงินคนละครึ่งที่เหลือสิทธิก็นำไปซื้อวัตถุดิบอื่น ๆ ที่ต้องใช้ อย่างน้อยต้นทุนที่เราจ่ายก็จะลดลง และวัตถุดิบที่เราซื้อมาอาจแปรเปลี่ยนเป็นรายได้ที่ให้กำไรกับเรามากขึ้น แม้จะไม่มากแต่ก็ถือว่าเป็นการต่อยอดที่น่าสนใจ สามารถนำไปปรับใช้ได้

7.ใช้คนละครึ่งเฉพาะ “เสาร์-อาทิตย์”

21

คนละครึ่งในเฟส 5 ได้วงเงิน 800 /คน ถ้าใช้ทุกวันต่อเนื่องก็ได้ไม่นานก็หมด ดังนั้นถ้าอยากใช้นาน ๆ ต้องเลือกใช้เฉพาะวันเช่นใช้เฉพาะ เสาร์-อาทิตย์ ตอนไปตลาดนัด และควรเลือกช็อปปิ้งสินค้าที่นำมาประกอบอาหารนำไปรับประทานได้ในวันธรรมดา และใน 1 ครอบครัวอาจใช้สิทธิ์ได้มากกว่า 1 คนเช่นคู่สามี-ภรรยา ใช้สิทธิ์ต่อวันคนละไม่เกิน 150 บาทสามารถซื้อสินค้าได้ไม่เกิน 300/คน ถ้ารวมกัน 2 คนก็มียอดใช้สิทธิได้ 600 บาท ถ้าเลือกจับจ่ายเอาวัตถุดิบมาทำกินเอง หรือทำและนำไปกินที่ทำงานในวันธรรมดาจะทำให้ลดรายจ่ายในวันธรรมดาลงได้ และวิธีนี้อาจทำให้ใช้สิทธิ์คนละครึ่งได้นานขึ้นแม้อาจไม่ถึง 2 เดือนแต่ก็ถือว่าใช้ได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด

การใช้สิทธิคนละครึ่งมีสิ่งที่ต้องพึงระวังคือการสแกนจ่ายเงินผ่านโครงการ ต้องเป็นการสแกนที่มีการซื้อสินค้า/บริการจริงตรงตามมูลค่าที่มีการสแกนจ่าย และไม่อนุญาตให้ผู้ประกอบการทอนเงินสดหรือรับแลกสินค้า/บริการคืนเป็นเงินสดไม่ว่ากรณีใด ๆ ไม่เช่นนั้น ร้านค้าอาจถูกตัดสิทธิ และถูกเรียกเงินคืนเหมือนหลาย ๆ เคสที่ผ่านมา รวมถึงคนทั่วไปที่ลงทะเบียนใช้สิทธิต้องเริ่มใช้สิทธิครั้งแรกไม่เกินวันที่ 14 กันยายน มิฉะนั้นจะถูกตัดสิทธิเป็นโมฆะไม่สามารถใช้สิทธิในโครงการคนละครึ่งเฟสนี้ได้


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3DkHm0j , https://bit.ly/3xpozx5 , https://bit.ly/3RFui9n , https://bit.ly/3qjDEMo , https://bit.ly/3D4aBnC

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3xeKQx9

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด