ย้อนรอย “โรตีบอย” กับ กระแสต่อคิว ที่มาแรงสุดๆ

พอได้เห็นข่าว “สตาร์บัคส์-คริสปี้ครีม” ได้ออกโปรโมชั่น ลด แลก แจก แถม เพื่อดึง กระแสต่อคิว ของลูกค้าให้กลับมาอีกครั้ง ก็เลยทำให้ www.ThaiSMEsCenter.com นึกถึง “โรตีบอย” แฟรนไชส์ขนมปังอบสัญชาติมาเลเซียขึ้นมาทันที

กระแสต่อคิว
ภาพจาก goo.gl/Z8xyA1 ,ภาพจาก www.facebook.com/krispykremethailandfanpage

เพราะ “โรตีบอย” ถือเป็นตำนานแห่ง Mexican Bun ที่แม้ว่าเด็กๆ หลายคนอาจจะเกิดไม่ทัน แต่ก็เชื่อว่ามีน้องๆ หลายคนต้องเคยได้ยินชื่อเสียงกันมาบ้างแล้ว โดยเฉพาะการเป็นแฟรนไชส์จากต่างชาติเจ้าแรกๆ ที่เข้ามาในประเทศไทย แล้วได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม ชนิดที่คนต้องต่อคิวรอซื้อกันแบบยาวเหยียด

boyy2
ภาพจาก www.facebook.com/krispykremethailandfanpage

หากย้อนกลับไป เมื่อช่วงปลายปี 2548-2549 ถ้าใครได้มาเดินเที่ยวแถวสยามสแควร์ซอย 4 หรือสีลม คิดว่าคงจะไม่มีใครที่ไม่ได้กลิ่นหอมๆ อันยั่วยวนของขนมปังที่อบร้อนๆ พร้อมกับภาพของฝูงชนที่พากันยืนต่อคิวเป็นแถวยาวเหยียด เป็นชั่วโมงๆ เพื่อที่จะได้มาซึ่งขนมปังหนึ่งก้อนมาลองลิ้มรสชาติ ว่าเป็นเช่นไร อร่อยสมคำร่ำลือหรือไม่

แต่ทว่าก็ดังเปรี้ยงป้างอยู่ได้ไม่นาน หลังจากเปิดตัวในไทยในช่วงปลายปี 2548 สุดท้ายก็ต้องปิดตัวลงในปี 2550 ทั้ง 4 สาขา คือ สยามสแควร์ สีลม เซ็นทรัลลาดพร้าว และข้างบิ๊กซีรามคำแหง

ที่กระแสซาลงอย่างรวดเร็ว นักการตลาดต่างก็วิเคราะห์กันว่า อาจเป็นเพียงกระแสความ “เห่อ” ที่มาเพียงวูบเดียวแล้วดับไป รวมถึงร้านไม่สร้าง Brand Royalty ให้ผู้บริโภคจงรักภักดี ทำให้ลูกค้าหันไปซื้อเจ้าอื่น

boyy3
ภาพจาก www.facebook.com/krispykremethailandfanpage

เพราะแม้ว่ารสชาติขนมปัง “โรตีบัน” จะเป็นเอกลักษณ์กับการสอดไส้เนยแบบเบาๆ ราดหน้าด้วยกาแฟ แต่โรตีบอยกลับไม่ใช้โอกาสนี้ให้เป็นประโยชน์กับตนเอง ทั้งที่เข้ามาในเมืองไทยเป็นเจ้าแรก เพราะหลังจากนั้นไม่นานคู่แข่งในตลาดก็สามารถพัฒนารสชาติได้ใกล้เคียงมาก แถมขายในราคาที่ถูกกว่า ทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือก

wefghnm,mhgfd

ภาพจาก goo.gl/bCGbyx

อย่างเช่น ร้านมิสเตอร์บัน สัญชาติไทยแท้ๆ ได้ทำออกมาขายในราคาที่ถูกกว่ามาก โดยโรตีบอยขายชิ้นละ 25 บาท มิสเตอร์บัน 10 บาท แต่โรตีบอยชิ้นใหญ่กว่า ที่สำคัญนิสัยการบริโภคของคนไทย มักจะไม่ยึดติดกับแบรนด์มากนัก

จึงมีการเลือกในสิ่งที่ “ถูกกว่า” แม้รสชาติจะไม่ใช่ แต่ก็ใกล้เคียง หลังๆ มายอดขายจึงเริ่มตก และสุดท้ายก็ปิดตัวไปในที่สุด ทำให้เด็กรุ่นหลัง ไม่มีโอกาสที่จะได้ลองลิ้มชิมรส ว่ามันอร่อยขนาดไหนกันเชียว อีกทั้งยังมีร้านลักษณะ Mexican Bun เกิดขึ้นเป็นคู่แข่งมากมาย อาทิ Rotimom และ Papa Roti แต่แบรนด์ Mr.Bun ยังคงอยู่ให้คนรุ่นหลังได้เห็น ได้ลิ้มรสชาติ

“โรตีบอย” กำเนิดขึ้นในปี 2541 ณ เมือง Bukit Mertajam ในรัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย โดย Hiro Tan เป็นผู้ก่อตั้งได้รับความช่วยเหลือจากทั้งพี่สาว และน้องชาย (Tan LH และ Tan YC) ผู้ซึ่งคลุกคลีอยู่ในวงการเบเกอรี่มาเกือบ 20 ปี

boyy4
ภาพจาก www.facebook.com/krispykremethailandfanpage

โดยคำว่า “โรตี” (Roti) นั้นหมายถึง “ขนมปัง” (bread) (ส่วนโรตีแผ่นแบนๆ ที่คนไทยคุ้นกันนั้น เรียกว่า Roti canai)

ในปี 2545 ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของธุรกิจ “โรตีบอย” ได้ย้ายสาขาไปตั้ง ณ เมืองหลวงของประเทศมาเลเซีย คือ กลางกรุงกัวลาลัมเปอร์ โดยมียอดขายของขนมปังชนิดหนึ่งในร้าน (ที่เรียกว่า Mexican Bun) เพียงอย่างเดียวพุ่งสูงขึ้นเกือบ 20,000 ชิ้นต่อวัน โดยไม่มีทีท่าว่าจะตกลงตลอดช่วงเวลา 2 ปี (วันแรกๆ ที่เริ่มเปิดขายได้ประมาณ 300 ชิ้นต่อวัน)

ปัจจุบันโรตีบอยมีสาขาทั้งในมาเลเซียและต่างประเทศ 200 แห่ง มีการอบขนมปังมากกว่า 400 ล้านชิ้น โดยมีสาขาอยู่ในประเทศอินโดนีเซีย เกาหลีใต้ ซาอุดีอาระเบีย พม่า และจีน สำหรับในไทยก็คงเป็นแค่ตำนานที่ทำให้คนนึกถึงเท่านั้น

boyy5
ภาพจาก www.facebook.com/StarbucksThailand/

เห็นได้ว่า จัดทำโปรโมรชั่นของร้านค้าต่างๆ ที่ให้ผู้บริโภคมายืนต่อแถว เพื่อรอซื้อสินค้านั้น นับวันจะมีให้เราได้เห็นบ่อยขึ้นไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ไทยหรือแบรนด์นอก เพราะสามารถสร้าง Brand Awareness ให้เกิดการรับรู้ ทำให้เกิดการแชร์ภาพและการบอกต่อในโลก Social นำมาซึ่งการรับรู้ เกิดการอยากลอง อยากเป็นเจ้าของ

ขณะเดียวกัน ต้องวางแผนควบคุมการผลิต ไม่ให้ผลิตออกมามากจนเกินความต้องการของผู้บริโภค และต้องเพิ่มไลน์ผลิตภัณฑ์ตัวอื่นๆ เช่น การเพิ่มรสชาติ หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นทางเลือกเลือกของผู้บริโภคด้วย

boyy6
ภาพจาก www.facebook.com/StarbucksThailand

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ http://www.thaifranchisecenter.com/home.php

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/2KSZx3G

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช