มาตรฐานแฟรนไชส์ กับการสร้างความสัมพันธ์

มาตรฐานแฟรนไชส์ ที่ผู้ประกอบการแฟรนไชส์มองเป็นอันดับแรกคือระบบการปฏิบัติงาน มองถึงคุณภาพของสินค้าและมาตรฐานการให้บริการ มองข้ามการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแฟรนไชส์ซอร์ (เจ้าของแบรนด์) และแฟรนไชส์ซี (ผู้ซื้อสิทธิแฟรนไชส์) คือเกณฑ์ มาตรฐานแฟรนไชส์ ที่สำคัญมากเช่นกัน

โดยหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพมาตรฐานแฟรนไชส์ ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ จะใช้เกณฑ์เดียวกับ เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ เพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ โดยสำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ทั้งนี้ได้มีการปรับเกณฑ์ให้เหมาะสมกับธุรกิจแฟรนไชส์ ตาม มาตรฐานแฟรนไชส์

มาตรฐานแฟรนไชส์

โดยทีมที่ปรึกษาโครงการยกระดับมาตรฐานคุณภาพการบริหารจัดการธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพการตลาดธุรกิจแฟรนไชส์ ปีงบประมาณ 2558 ซึ่ง คุณเศรษฐพงศ์ ผดุงพิสุทธิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท จีโนซิส จำกัด เป็นหนึ่งในทีมที่ปรึกษา และผู้ตรวจประเมินเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์มาตั้งแต่ปี 2553 และได้บรรยายในหลักสูตร เกณฑ์มาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์ ให้กับผู้ประกอบการแฟรนไชส์ วันที่ 8 มิถุนายน 2558

หลักเกณฑ์สำคัญของ มาตรฐานแฟรนไชส์ ได้แก่

  1. การนำองค์กร (120 คะแนน)
  2. การวางแผนเชิงกลยุทธ์ (100 คะแนน)
  3. การมุ่งเน้นลูกค้า (120 คะแนน)
  4. การวัด วิเคราะห์ และการจัดการความรู้ (80 คะแนน)
  5. การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล (100 คะแนน)
  6. การมุ่งเน้นการปฏิบัติการ (130 คะแนน)
  7. ผลลัพธ์ทางธุรกิจ (350 คะแนน)

คะแนนรวม 1,000 คะแนน คะแนนมาตรฐาน คือ 650 คะแนน

เมื่อธุรกิจแฟรนไชส์ได้กำหนดแผนกลยุทธ์โดยมีผู้นำแสดงวิสัยทัศน์และเป้าหมายที่ชัดเจนแล้ว การดำเนินงานรักษาฐานลูกค้า สร้างลูกค้าใหม่ และการพัฒนาสินค้าและบริการให้สอดคล้องกับความต้องการและความคาดหวังของลูกค้า คือการรักษาฐานให้แฟรนไชส์เติบโตได้อย่างต่อเนื่อง มาตรฐานแฟรนไชส์

w3

ทั้งนี้การจำแนกกลุ่มลูกค้าและตลาด จะช่วยให้การกำหนดทิศทางกลยุทธ์ธุรกิจตอบสนองได้ตรงประเด็น ตรงใจลูกค้า และความหมายของลูกค้าไม่ใช่เพียงแค่ ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้ใช้บริการเท่านั้น แต่หมายรวมถึง แฟรนไชส์ซี หรือ ผู้ซื้อสิทธิ์แฟรนไชส์ไปดำเนินธุรกิจตามที่หวังผลสำเร็จเหมือนกับแฟรนไชส์ซี

มาตรฐานแฟรนไชส์ ควรคำนึงถึงทุกมิติ

ดังนั้นการฟังเสียงลูกค้า (Voice of Customer) และการประเมินความพึงพอใจของลูกค้า การจัดการข้อเรียกร้องต่างๆ ในหัวข้อการมุ่งเน้นลูกค้า (Customer Focus) ในเกณฑ์ มาตรฐานแฟรนไชส์ จะส่งเสริมให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างแฟรนไชส์ซอร์ แฟรนไชส์ซี และลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิผล

มาตรฐานแฟรนไชส์สภาพแวดล้อมในการทำงานจะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นและสร้างผลกำไรได้ เช่น สภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย ไม่เกิดอุบัติเหตุในการทำงาน ไม่เกิดค่าใช้จ่ายในการรักษาตัว พนักงานมีความสุขในการทำงาน บรรยากาศส่งเสริมให้มีความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น

ธุรกิจแฟรนไชส์จะดำรงอยู่ได้เมื่อมีความสัมพันธ์ระหว่างแฟรนไชส์ซอร์ และแฟรนไชส์ซี หากแฟรนไชส์ซอร์จะหวังรวยอยู่ข้างเดียวปล่อยให้แฟรนไชส์ซีซื้อสิทธิไปแล้วทิ้งขว้าง อนาคตของแฟรนไชส์ซอร์นั้นก็ไปได้ไม่นานหรอก เมื่อจะยกระดับธุรกิจแฟรนไชส์ให้มี มาตรฐานแฟรนไชส์ ต้องยกระดับความสัมพันธ์จนกระทั่งให้เกิดความผูกพันกันได้

แฟรนไชส์ซอร์จะประสบความสำเร็จได้เมื่อแฟรนไชส์ซีประสบความสำเร็จแล้ว นี่คือเกณฑ์มาตรฐานแฟรนไชส์ ที่ยอมรับกันทั่วโลก

 

ลิขสิทธิ์รูปภาพโดย ThaiSMEsCenter.com

บทความโดย อ.เศรษฐพงศ์ ผดุงพิสุทธิ์ บริษัท จีโนซิส จำกัด