ทำธุรกิจแฟรนไชส์ จดทะเบียนอะไรบ้าง

หลายคนอาจไม่รู้ว่าการทำธุรกิจแฟรนไชส์ จำเป็นต้องจดทะเบียนจัดตั้งกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือสำนักงานพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศด้วย ซึ่งในปัจจุบันการจดทะเบียนธุรกิจมีหลากหลายรูปแบบ แต่รูปแบบที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ก็คือ การจดทะเบียนแบบนิติบุคคล และการจดทะเบียนแบบบุคคลธรรมดา

อยากรู้หรือไม่ว่าการจดทะเบียนแต่ละแบบมีข้อดี-ข้อเสีย และเหมาะกับการทำแฟรนไชส์แบบไหน วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลมานำเสนอให้เจ้าของธุรกิจที่อยากขายแฟรนไชส์ และผู้ที่อยากมีธุรกิจด้วยการซื้อแฟรนไชส์ได้ทราบว่าต้อง จดทะเบียนอะไรบ้าง

#จดทะเบียนแบบนิติบุคคล

จดทะเบียนอะไรบ้าง

เป็นการดำเนินธุรกิจในรูปแบบหนึ่งซึ่งแตกต่างจากบุคคลธรรมดา โดยเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์สามารถจดทะเบียนนิติบุคคลได้ทั้งแบบห้างหุ้นส่วน และบริษัทจำกัด ซึ่งการจดทะเบียนแบบนิติบุคคลเป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะมีข้อดีหลายอย่าง ดังต่อไปนี้

  1. สร้างความน่าเชื่อถือ ให้กับนักลงทุน ลูกค้า ผู้บริโภค พันธมิตร ซัพพลายเออร์ สถาบันการเงินต่างๆ ในการอนุมัติปล่อยสินเชื่อในการดำเนินธุรกิจได้ง่าย
  2. ขอสินเชื่อธุรกิจได้ง่าย การจดทะเบียนนิติบุคคลจะได้รับความน่าเชื่อถือ และได้รับสิทธิต่างๆ มากกว่าแบบบุคคลธรรมดา ที่สำคัญสามารถทำเรื่องขอสินเชื่อจากธนาคารมาดำเนินธุรกิจได้ง่าย
  3. ขาดทุนไม่เสียภาษี การจดทะเบียนนิติบุคคลจะเสียภาษีประจำปีจากฐานกำไรจริง แต่จะไม่เสียภาษีเมื่อบริษัทขาดทุน รวมถึงยังสามารถสะสมผลขาดทุนในปีก่อนหน้าได้สูงถึง 5 ปี เพื่อนำมาหักลบผลกำไรในปีปัจจุบันและสามารถใช้ลดภาษีได้อีกด้วย
  4. เสียภาษีอัตราสูงสุด 20% โดยคิดจากกำไรทางภาษีอย่างเดียว และต้องจ่ายภายใต้กฎหมายไทยในอัตราสูงสุด 20% แตกต่างจากแบบบุคคลธรรมดาที่เสียภาษีสูงสุดถึง 35%
  5. จำกัดความรับผิดชอบต่อหนี้สิน หากเป็นบริษัทผู้ถือหุ้นจะรับผิดชอบเท่าที่หุ้นที่ถืออยู่ หากเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด หุ้นส่วนจะรับผิดชอบเท่าทีลงเงินไป
  6. ระดมทุนได้ง่าย สามารถระดมเงินทุนจากผู้เป็นหุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้น ทำให้สามารถมีเงินทุนหมุนเวียนในกิจการได้สูง
  7. ได้มุมมองและแนวคิดหลากหลาย มีการประชุมระดมความคิดมันสมองเข้ามาใช้ในการดำเนินกิจการ ทำให้เกิดความหลากหลายในความคิดและมุมมองในการขับเคลื่อนธุรกิจ
  8. รายจ่ายหักค่าใช้จ่ายได้ ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่สามารถทำกำไรได้ สามารถนำมาหักค่าใช้จ่ายได้เช่นกัน ส่วนรายจ่ายส่วนตัว หรือที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ไม่สามารถนำไปหักค่าใช้จ่ายได้

#จดทะเบียนแบบบุคคลธรรมดา

เป็นการใช้ชื่อเจ้าของกิจการเป็นคนดำเนินการทั้งหมด โดยเฉพาะเรื่องการทำนิติกรรมสัญญา หรือ การชำระภาษีเงินได้ประจำปี เป็นการดำเนินการในชื่อเจ้าของกิจการเอง และควรจดทะเบียนพาณิชย์ เพื่อบอกให้คนทั่วไปทราบว่า คุณทำธุรกิจแบบถูกต้องเปิดเผย มีสถานที่ตั้งประกอบกิจการชัดเจน และเป็นธุรกิจที่อยู่ในระบบถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งการจดทะเบียนแบบบุคคลธรรมดาก็มีข้อดีมากมายเช่นกัน โดยเฉพาะเรื่องของความคล่องตัวในการบริหารจัดการ

  1. จัดตั้งได้เร็ว เพราะการจดทะเบียนแบบบุคคลธรรมดา กิจการมีขนาดเล็ก เจ้าของธุรกิจลงทุนคนเดียว และต้องจดเบียนพาณิชย์ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่เริ่มประกอบกิจการ
  2. มีความคล่องตัวสูง กิจการคนเดียว ลงทุนคนเดียว ทำให้สามารถตัดสินใจได้รวดเร็ว ไม่ต้องรอขอความคิดเห็นจากหุ้นส่วน ช่วยให้การบริหารจัดการธุรกิจเดินหน้ารวดเร็ว
  3. ต้นทุนการบริหารต่ำ บริหารกิจการคนเดียว หรือทำร่วมกันกับสามี-ภรรยา อาจไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายในเรื่องค่าแรงของพนักงานในร้าน ถ้ามีก็จะเสียน้อยกว่านิติบุคคล
  4. ข้อบังคับด้านกฎหมายน้อย ธุรกิจที่มีเจ้าของคนเดียว ลงทุนคนเดียว จะมีข้อบังคับทางกฎหมายน้อย ในขณะเดียวกัน ก็มีความเสี่ยงสูง เนื่องจากเจ้าของต้องรับผิดชอบทั้งหมด
  5. มีรายได้คนเดียว หากธุรกิจมียอดขายและผลกำไรดี เจ้าของกิจการคนเดียวก็จะได้รับผลประโยชน์แต่เพียงผู้เดียว แต่ถ้าขาดทุนก็ต้องรับผิดชอบคนเดียว
  6. มีอำนาจการบริหารคนเดียว เจ้าของกิจการคนเดียวไม่ต้องรอการแนะนำและคำปรึกษาจากคนหุ้นส่วน สามารถตัดสินใจและบริหารจัดการธุรกิจได้อย่างเต็มที่ รวดเร็ว ไม่ต้องกลัวมีปัญหาขัดแย้งกับคนอื่น
  7. สามารถเลิก-ไม่เลิกกิจการได้ง่าย เจ้าของกิจการคนเดียวหากเบื่อการทำธุรกิจ อยากไปทำกิจการอย่างอื่น สามารถเลิกได้ง่ายเพราะสามารถตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องรอความคิดเห็นจากผู้อื่น

ข้อเสียจดทะเบียนนิติบุคคล

  1. ขั้นตอนจัดตั้งยุ่งยาก เนื่องจากต้องจัดตั้งโดยมี 2 บุคคลขึ้นไป อีกทั้งในกระบวนการจดทะเบียนยังมีหลายขั้นตอน ใช้ระยะเวลายาวนานในการจดทะเบียน ที่อาจจะซับซ้อนและยุ่งยากอีกด้วย
  2. หน่วยงานรัฐเข้มงวด ทั้งเรื่องของการผลิตสินค้า ภาษี การทุจริต เพื่อให้บริษัทปฏิบัติตามกฎหมาย ในขณะเดียวกัน หากบริษัทดำเนินธุรกิจถูกต้องตามกฎหมาย ก็จะได้รับการช่วยเหลือจากภาครัฐด้วยเช่นกัน
  3. ต้นทุนการบริหารสูง การจัดตั้งบริษัทจำกัดจะมีค่าธรรมเนียมในการดำเนินการหลากหลาย รวมไปถึงค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ทั้งค่าเช่าอาคาร สำนักงาน ค่าจ้างพนักงาน สวัสดิการพนักงาน เป็นต้น
  4. ต้องมีผู้ตรวจสอบบัญชี เมื่อต้องจัดทำบัญชี งบการเงินในแต่ละปี จัดประชุมผู้ถือหุ้น ส่งงบการเงิน โดยมีผู้ตรวจสอบบัญชีทุกปี พร้อมนำส่งภาษีประจำเดือน ประจำปี ให้กับกรมสรรพากร
  5. เกิดความขัดแย้งได้ง่าย การจดนิติบุคคลต้องมีผู้ถือหุ้น 2 คนขึ้นไป ในบางครั้งอาจจะมีความคิดเห็นต่างกัน อาจทำให้เกิดความขัดแย้ง และส่งผลเสียต่อการดำเนินธุรกิจในภายหลังได้
  6. ความลับถูกเปิดเผยง่าย เมื่อมีหุ้นส่วน และกรรมการหลายคน เมื่อเกิดปัญหา หรือหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งลาออก หรือถอนหุ้นออกไป อาจลุกลามถึงขั้นนำความลับของธุรกิจไปเปิดเผยให้กับคู่แข่งได้ หรือไปเปิดร้านแข่งขันกันได้

ข้อเสียจดทะเบียนบุคคลธรรมดา

  1. ความน่าเชื่อถือน้อย ไม่ว่าจะเป็นการขอสินเชื่อจากทางธนาคารได้ยากกว่านิติบุคคล เนื่องจากเป็นกิจการเจ้าของคนเดียวหรือครอบครัว ทำให้มีความเสี่ยงสูง เพราะต้องรับผิดชอบเองทั้งหมด อาจทำให้นักลงทุนไม่กล้าที่จะซื้อแฟรนไชส์
  2. เสียภาษีในอัตราสูง ธุรกิจแฟรนไชส์ที่จดทะเบียนแบบบุคคลธรรมดาจะเสียภาษีในอัตราสูงสุดถึง 35% สูงกว่าการจดทะเบียนแบบนิติบุคคล ที่จะต้องเสียภาษีอยู่ในอัตราสูงสุด 20%
  3. ขาดทุนต้องเสียภาษี การจดทะเบียนแบบบุคคลธรรมดาเป็นการเสียภาษีแบบเหมาจ่าย เมื่อขาดทุนเจ้าของกิจการคนเดียวก็ต้องต้องเสียภาษีเพิ่ม บางครั้งอาจถูกตรวจสอบจากกรมสรรพากร หากมีรายได้เข้ามามากเป็นพิเศษ
  4. ทำรายงานเงินสดรับ-จ่าย เพื่อให้ผู้ประกอบการทราบถึงรายได้ รายจ่าย ผลกำไร หรือขาดทุนจากการดำเนินธุรกิจในแต่ละเดือน ละใช้เป็นหลักฐานประกอบการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน และรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
  5. ค่าใช้จ่ายลดหย่อนภาษีไม่ได้ เนื่องจากมีเจ้าของธุรกิจคนเดียว รายได้ทั้งหมดจะไม่ถูกแบ่งแยกกับรายได้ส่วนตัว
  6. ขอสินเชื่อได้ยาก ธุรกิจที่จดทะเบียนแบบบุคคลธรรมดาจะขาดความน่าเชื่อถือในระยะยาว หาพนักงานยาก ไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อจากธนาคารได้ง่ายๆ และยากต่อการระดมทุนจากหุ้นส่วนทางธุรกิจ

นั่นคือ รูปของการจดทะเบียนในธุรกิจแฟรนไชส์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน ซึ่งการจดทะเบียนนิติบุคคลส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ขนาดใหญ่ ใช้เงินลงทุนสูง ส่วนการจดแบบบุคคลธรรมดาเป็นแฟรนไชส์ขนาดเล็ก ใช้เงินลงทุนต่ำ


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน

ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi

รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ข้อมูลจาก https://bit.ly/3C2LT61

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3X51xWF


 

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช