“ถูกดี มีมาตรฐาน” ธุรกิจที่ยกระดับ “โชห่วยทั่วประเทศ” ให้ “รวยมากขึ้น”

สังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากทำให้การค้าขายก็ต้องมีการปรับตัวตาม ทุกวันนี้เราพูดถึงโมเดิร์นเทรดกันมากขึ้น จนบางทีก็ลืมไปว่า “ร้านโชห่วย” คือร้านค้าในชุมชนที่อยู่คู่กับคนไทยมายาวนาน แต่แม้จะเปิดร้านมานานแต่บางทีก็มีรายได้แค่พอใช้ไปวันๆ ไม่มีเหลือกินเหลือเก็บ

www.ThaiSMEsCenter.com มั่นใจว่าร้านโชห่วยทั่วประเทศย่อมต้องการจะมีรายได้มากขึ้น ด้วยเหตุนี้ “ถูกดี มีมาตรฐาน” โดย บริษัท ทีดี ตะวันแดง จำกัด ภายใต้แนวคิด “ร้านค้าของชุมชน โดยชุมชน เพื่อชุมชน” จึงต้องการยกระดับร้านโชห่วยทั่วประเทศ ให้ทันสมัยด้วยความรู้และเทคโนโลยีการบริหารจัดการร้าน เพื่อให้ร้านค้าสามารถขายได้ มีกำไร และเป็นศูนย์กลางทุกความต้องการของชุมชน ทั้งด้านสินค้าและบริการมากขึ้น

ทำไมร้าน “โชห่วย” เมืองไทย ยอดขายไม่โต?

ถูกดี มีมาตรฐาน

จากข้อมูลพบว่าในประเทศไทยมีร้านโชห่วยขนาดเล็กประมาณ 400,000 ร้านค้า และโชห่วยขนาดกลาง จำนวน 18,735 ร้านค้า ร้านค้าเหล่านี้กระจายอยู่ในทุกชุมชนทุกจังหวัดทั่วประเทศ และปัญหาที่เหมือนๆ กันของร้านค้าเหล่านี้ที่ทำให้ยอดขายไม่โต ได้แก่

  • ต้นทุนสินค้าที่ปรับสูงขึ้น รวมถึงต้นทุนวัตถุดิบ ต้นทุนทางการเงิน ค่าจ้างแรงงาน ค่าขนส่ง และค่าสาธารณูปโภคทำให้กำไรของร้านที่ปกติก็น้อยอยู่แล้ว ยิ่งน้อยลงไปอีก
  • ไม่มีประสิทธิภาพในด้านการตลาด หลายร้านไม่มีการปรับรูปแบบร้านให้ทันกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป
  • การบริหารจัดการภายในร้านไม่มีประสิทธิภาพเช่นการทำบัญชี , การทำสต็อคสินค้า เป็นต้น
  • ไม่มีคนที่จะสืบทอดกิจการเพราะคนรุ่นใหม่หันไปทำอาชีพอื่นที่มองว่ามีรายได้ดีกว่า
  • ไม่มีเงินทุนในการพัฒนาร้าน ไม่สามารถของสินเชื่อเพื่อขยายธุรกิจได้

ซึ่งอันที่จริง “ร้านโชห่วย” มีศักยภาพในตัวเองและมีจุดเด่นตรงที่ใกล้ชิดคนในชุมชนมาก ข้อมูลจากสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้าระบุว่าร้านโชห่วยมีความจำเป็นต่อการซื้อสินค้าอุปโภค-บริโภคสำหรับการดำรงชีวิต โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรและผู้ที่มีรายได้ไม่สูงมากนัก ซึ่งจะซื้อสินค้าเล็กๆ น้อยๆ และค่อนข้างบ่อย ภายในวงเงินไม่เกิน 300 บาทต่อครั้ง

“ถูกดี มีมาตรฐาน” พร้อมยกระดับโชห่วยทั่วประเทศ “ให้รวยมากขึ้น”

ถูกดี มีมาตรฐาน

“เปิดร้านโชห่วย” ก็รวยได้ คือแนวคิดที่ชี้ชัดว่าหากมีการบริหารจัดการที่ดี มีการวางแผนและมีรูปแบบร้านที่พัฒนาขึ้น ร้านโชห่วยทั่วประเทศก็สามารถขายดีมีกำไรมากขึ้นได้ ซึ่งคอนเซ็ปต์ของถูกดี มีมาตรฐานโดยบริษัท ทีดี ตะวันแดง จำกัด ที่เปิดดำเนินกิจการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561

มีวิสัยทัศน์ในการสร้างเครือข่ายร้านค้าปลีกของชุมชน โดยชุมชน เพื่อชุมชน ซึ่งจนถึงขณะนี้มีร้านค้าที่เข้าร่วมเป็น ร้านถูกดี มีมาตรฐาน ทั้งหมดมากกว่า 5,000 ร้านค้า โดยรูปแบบการดำเนินธุรกิจเน้นระหว่างบริษัทฯ และ ผู้ดำเนินการร้านค้า คือ การที่บริษัทฯ จะเป็นผู้ลงทุนให้ในส่วนของสินค้าทุกชนิด และอุปกรณ์ทั้งหมดภายในร้าน

ถูกดี มีมาตรฐาน

ได้แก่ ชั้นวางสินค้า ตู้เย็น เครื่องคิดเงินอัตโนมัติ (POS) ป้ายสินค้า กล้องวงจรปิด ระบบที่ใช้ในการดำเนินการร้านค้ารวมมูลค่าต่อร้านค้าเกือบ 1,000,000 บาทและทางผู้ดำเนินการต้องลงทุนในส่วนของการปรับปรุงร้านค้าให้ได้ตามมาตรฐาน

โดยมีเงินค้ำประกันสัญญา 200,000 บาท ซึ่งรูปแบบธุรกิจนี้เกิดขึ้นมาจากการที่บริษัทต้องการที่จะแก้ปัญหาของร้านโชห่วยส่วนใหญ่ในประเทศที่มีเงินทุนในการซื้อสินค้าจำกัด จึงได้เป็นผู้ออกทุนในส่วนนี้เอง

นอกจากนี้ทางบริษัทฯ พร้อมร่วมกับคู่ค้าต่างๆ จัดรายการส่งเสริมการขาย และสื่อโฆษณา ณ จุดขาย เพื่อสนับสนุนการขายให้ร้านโชห่วยขายดีมีกำไรมากขึ้น

เจ้าของร้านพร้อมมีรายได้เงินปันผลจากกำไรถึง 85%

 

สิ่งที่เจ้าของร้านโชห่วยหลายคนสงสัยและสนใจมากที่สุดคือการพัฒนาร้านให้ดียิ่งกว่าเดิมของ “ถูกดี มีมาตรฐาน” จะทำให้เจ้าของร้านมีรายได้ดีขึ้นอย่างไร คำนวณจากยอดขายโดยเฉลี่ยของชุมชนที่มีบ้านเรือนอาศัยประมาณ 300-500 หลังคาเรือน มีการจับจ่ายใช้สอยทุกวัน

รายได้เฉลี่ยของร้านโชห่วยประมาณ 15,000 บาทต่อวัน รายได้โดยรวมต่อเดือนประมาณ 450,000 บาท กำไรเฉลี่ยขั้นต้นคิดที่ 12% เป็นเงินประมาณ 54,000 บาท เงินที่ผู้ลงทุนจะได้รับคือการปันผลจากกำไร 85% คิดเป็นเงิน 45,900 บาท

ซึ่งตัวเลขนี้ถือว่าดีมากสำหรับการเป็นร้านโชห่วยของชุมชน และเป็นตัวเลขที่อัพเกรดสูงกว่าร้านโชห่วยแบบเดิม เป็นรายได้ที่ดีกว่าคนทำงานประจำและพลิกชีวิตให้ร้านโชห่วย ไม่ใช่แค่ร้านค้าที่ขายของไปวันๆ แต่จะกลายเป็นธุรกิจที่ทำให้มีเงินเหลือกินเหลือเก็บแก้ปัญหายอดขายไม่โต รายได้ไม่ดี ไม่มีคนสืบทอดกิจการ และหากมีการวางแผนบริหารจัดการที่ดีก็อาจพัฒนาให้มียอดขายที่ดีมากยิ่งขึ้นได้ด้วย

อยากอัพเกรดร้านโชห่วยกับ “ถูกดี มีมาตรฐาน” ต้องทำอย่างไร?

ถูกดี มีมาตรฐาน

สำหรับร้านโชห่วยที่สนใจและต้องการอัพเกรดร้านร่วมกับ “ถูกดี มีมาตรฐาน” สิ่งสำคัญอย่างแรกคือ “ต้องมีทำเลที่ดี” ในขนาดพื้นที่เฉลี่ย 50 ตร.ม. โดยเจ้าของร้านต้องวางเงินมัดจำค่าสัญญา200,000 บาท (เงินจำนวนนี้จะจ่ายคืนหลังจากครบกำหนดสัญญา) และต้องมีเงินทุนในการแต่งร้านให้ได้มาตรฐานของถูกดี เงินทุนประมาณ 100,000 – 200,000 บาท ขึ้นอยู่กับขนาดร้าน

ทั้งนี้ในส่วนของเงินทุนสำหรับการจัดร้าน หรือเงินทุนในส่วนค่ามัดจำสัญญานั้น เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้สนใจ “ถูกดี มีมาตรฐาน” ได้เป็นพาร์ทเนอร์กับธนาคารกสิกรไทย เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้สนใจสามารถขอสินเชื่อในการลงทุนได้ง่ายมากขึ้น

โดยหลังจากปรับปรุงเปลี่ยนแปลงร้านมีการติดตั้งอุปกรณ์ การวางระบบบริหารจัดการในร้าน เจ้าของร้านยังจะได้รับการจัดส่งสินค้าให้ถึงหน้าร้านสัปดาห์ละ 2 ครั้ง และมีกิจกรรมส่งเสริมการขายที่พร้อมดึงดูดลูกค้าให้สนใจเพิ่มโอกาสในการขายได้มากยิ่งขึ้นด้วย

เคล็ดลับขายดีเพิ่มยอดขายให้ “ร้านโชห่วย”

การพัฒนาร้านให้ดียิ่งขึ้นร่วมกับ “ถูกดี มีมาตรฐาน” เป็นวิธีการเบื้องต้นในการดึงดูดลูกค้าอย่างไรก็ดีการที่จะทำให้ร้านโชห่วยขายดีมีเคล็ดลับน่าสนใจได้แก่

1.ดูแลร้านให้ดี ทำตามคำแนะนำของ “ถูกดี มีมาตรฐาน”

ร้านโชห่วยหลายแห่งทั่วประเทศที่ลงทุนร่วมกับถูกดี มีมาตรฐานมียอดขายเพิ่มขึ้นชัดเจน ส่วนหนึ่งเพราะทำตามคำแนะนำต่างๆ อย่างเคร่งครัด เพราะถูกดี มีมาตรฐานได้รวบรวมวิธีดีๆ มาถ่ายทอดให้ร้านโชห่วยอย่างต่อเนื่อง

2.ทุ่มเทแรงกาย แรงใจ ขยันทำจริง

ถูกดี มีมาตรฐาน

การอัพเกรดร้านให้ดีเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ยอดขายดี แต่เหนือสิ่งอื่นใดคือเจ้าของร้านต้องใส่ใจการทำธุรกิจ ต้องรู้จักดูแลร้านให้สะอาด หมั่นเรียงสินค้าให้เรียบร้อย รวมถึงให้ลูกค้าประทับใจในการให้บริการด้วย

3.เปลี่ยนจุดแข็งให้เป็น “จุดขาย”

ถูกดี มีมาตรฐาน

ภาพจาก ถูกดี มีมาตรฐาน

ข้อดีของร้านโชห่วยคือการใกล้ชิดกับคนในชุมชน แตกต่างจากร้านโมเดิร์นเทรดที่เป็นลูกค้าทั่วไป ดังนั้นในเมื่อเรารู้จักคนในชุมชนดีที่สุดถือเป็นจุดแข็งที่ช่วยทำให้เราได้เปรียบในการเข้าถึงลูกค้า ซึ่งกลยุทธ์ในการเข้าถึงลูกค้าของแต่ละร้านอาจไม่เหมือนกัน แต่หากทำได้อย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยเพิ่มเสน่ห์ให้ร้านดูน่าสนใจมากขึ้น

ปัจจุบัน “ถูกดี มีมาตรฐาน” มีร้านโชห่วยที่เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก และคาดว่าในปี 2566 นี้จะมีการขยายสาขาอีกจำนวนมากเพราะตัวอย่างของร้านที่ประสบความสำเร็จ ดึงดูดให้ร้านโชห่วยอีกจำนวนมากต้องพัฒนาและปรับเปลี่ยนตัวเองเพื่อให้อยู่รอดในสังคมยุคใหม่ ถือได้ว่า “ถูกดี มีมาตรฐาน” คือธุรกิจที่เป็นแสงสว่างของร้านโชห่วย ทั่วประเทศได้อย่างแท้จริง

สนใจลงทุนอัพเกรดร้านโชห่วยร่วมกับถูกดี มีมาตรฐาน
โทร.02-0238888 ต่อ 1
Website : www.ถูกดีมีมาตรฐาน.com
Facebook : www.facebook.com/tdpartnerofficial

อ้างอิงจาก https://bit.ly/40eUblw


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด