กำเนิดแบรนด์แฟรนไชส์ระดับโลก ตอน Subway

SUBWAY ( ซับเวย์ ) เป็นร้านฟาสต์ฟู้ดอเมริกันที่ขาย แซนวิช และสลัดเป็นหลัก สโลแกนคือ “eat fresh” เปิดดำเนินการครั้งแรกในปี 1965 ที่รัฐ Milford, Connecticut สหรัฐอเมริกา ชื่อของ Subway มาจาก submarine sandwich ด้วยรูปร่างของแซนวิชที่ยาวเหมือนเรือดำน้ำ ด้วยเหตุที่เป็น Fastfood restaurant franchise ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก 

ปัจจุบันสาขาของ SUBWAY มีอยู่มากกว่า 44,333 แห่ง ในกว่า 111 ประเทศทั่วโลก และไม่มีเลยสักแห่งที่บริหารโดยบริษัท Doctor’s Associates, Inc.(DAI) ซึ่งเป็นเจ้าของ SUBWAY ทุกสาขาล้วนแต่เป็นของ franchisee หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์ทั้งสิ้น ซึ่งมีข้อดีคือทำให้บริษัทลดความเสี่ยง และสามารถทุ่มเทกลยุทธ์การตลาด และการขยายแฟรนไชส์อย่างเต็มที่

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะพาคุณผู้อ่านไปเจาะลึกถึงจุดเริ่มต้นของแบรนด์แฟรนไชส์ระดับโลกอย่าง Subway เพราะช่วง 2-3 ปีมานี้ หลายคนมองว่าแฟรนไชส์ไชส์ซับเวย์เริ่มที่จะถึงจุดถดถอย อาการกำลังแย่

จุดเริ่มต้นของร้านอาหาร SUBWAY

ซับเวย์

ภาพจาก goo.gl/fX5Enj

ในปี พ.ศ. 2508 Fred Deluca เพิ่งสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนมัธยมศึกษาในเมืองบริดพอร์ธ รัฐคอนเน็คติกัต ประเทศสหรัฐอเมริกา เหมือนเด็กหนุ่มทั่วไปที่อายุรุ่นราวคราวเดียวกับเขา เขาใฝ่ฝันที่จะเข้าศึกษาต่อในระดับวิทยาลัย

กระนั้นก็ดี เขาเป็นชายหนุ่มที่ทำงานหนัก มีความสามารถและไว้ใจได้ เขาทำงานได้ค่าแรง 1.25 ดอลลาร์ต่อชั่วโมงที่ห้างขายอุปกรณ์ในท้องถิ่น ซึ่งไม่เพียงพอที่เขาจะเรียนต่อ

ด้วยความท้อแท้ Fred ตัดสินใจขอคำแนะนำจาก Dr. Pete Buck ซึ่งเป็นครอบครัวเพื่อนเก่า ทั้งสองครอบครัวรู้จักกันมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว และ Fred ก็คาดหวังว่า Dr .Buck จะให้เขากู้เงินเพื่อเข้าเรียนต่อในวิทยาลัย

หลังจากที่เล่าแผนการเรียนให้ Dr. Buck ฟังว่าเขาวางแผนที่จะเป็นหมอ แต่ Dr. Buck กลับให้แนวความคิดแก่ Fred ที่ช่วยเปลี่ยนแปลงชีวิตของเขาและชีวิตของคนทั่วโลก Dr. Buck กล่าวว่า “ฉันคิดว่าเธอควรเปิดร้านขายแซนด์วิช” โดยดร.Buck ให้เฟรดยืมทุน 1,000 เหรียญ และยอมเป็นหุ้นส่วนร้าน

jk41

ภาพจาก goo.gl/RJ8Mk5

ตอนแรก Fred รู้สึกสงสัย แต่หลังจากที่ Dr. Buck อธิบายวิธีการที่ร้านขายแซนด์วิชสามารถทำเงินให้แก่ Fred เพื่อใช้เป็นทุนการศึกษาในอนาคตได้ คืนนั้น Fred และ Dr. Buck จึงเป็นหุ้นส่วนกัน ซึ่งนำไปสู่การเปิดร้าน SUBWAY เป็นครั้งแรก

วันที่ 28 ส.ค.ปีเดียวกัน ร้านแซนด์วิช Pete’s submarines ก็ได้ฤกษ์เปิดให้บริการ ได้รับการตอบรับดีพอสมควร แต่มีปัญหาตรงชื่อร้าน ที่ลูกค้ามักได้ยินเป็น Pizza marine จึงมีการเปลี่ยนชื่อเป็น Pete’s super submarine และ Pete’s Subway ตามลำดับ ก่อนจะลงเอยที่ “SUBWAY” เป็นการถาวรในปีที่ 3 ของการดำเนินธุรกิจ

นับตั้งแต่มีแนวคิดเปิดร้าน Fred ก็ตั้งมั่นว่าจะทำแซนด์วิชที่แตกต่างจากร้านฟาสต์ฟู้ดทั่วไป เบื้องต้นคือการวางตำแหน่งของสินค้าตามสโลแกน “Eat Fresh” นั่นคือขนมปังต้องอบใหม่ทุกวัน วัตถุดิบสดสะอาด

เริ่มขยายธุรกิจแบบแฟรนไชส์

jk43

ภาพจาก goo.gl/CnJ7Ww

นับตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมาบริษัทก็ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง Fred และ Peter มีเป้าหมายว่าจะเปิดร้าน submarine sandwich 32 แห่งภายใน 10 ปี ในปี พ.ศ. 2517 ซึ่งเป็นเวลา 8 ปีหลังจากที่ทั้งสองเปิดร้านแซนด์วิชครั้งแรก Fred และ Pete ก็เป็นเจ้าของและดำเนินกิจการร้านแห่งที่ 16 ในรัฐคอนเน็คติกัต ซึ่งเท่ากับไปได้ครึ่งทางของเป้าหมายที่ทั้งสองตั้งไว้

เนื่องจาก Fred และ Peter ต้องการขยายธุรกิจ จึงหันมาคุยกันเกี่ยวกับเรื่องการทำแฟรนไชส์ ซึ่งเป็นแนวความคิดที่ทั้ง 2 เคยปฏิเสธ เพราะว่าเป็นสิ่งที่เหมาะสำหรับ “big guys” เท่านั้น แต่ด้วยความต้องการที่จะประสบความสำเร็จ Fred และ Peter จึงตัดสินใจว่าการทำแฟรนไชส์ ถือเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้ทั้ง 2 บรรลุเป้าหมาย

ดังนั้น Fred จึงไปพบเพื่อนของเขาชื่อ Brian Dixon และให้ข้อเสนอที่เขาไม่สามารถปฏิเสธได้ เขาเสนอให้ Brian กู้เงินเพื่อซื้อร้านอาหารร้านหนึ่งของเขา ด้วยเงื่อนไขที่จูงใจ Fred บอก Brian ว่าถ้า Brian ไม่ชอบธุรกิจนี้ ก็สามารถคืนร้านให้ได้โดยไม่ต้องชำระเงินใดๆ

Brian เป็นที่รู้จักว่าเป็นแฟรนไชส์ของ SUBWAY รายแรก มีการกำหนดมาตรฐานใหม่สำหรับแม่แบบธุรกิจของ SUBWAYการทำเช่นนี้ทำให้ Peter และ Fred ไม่เพียงแค่บรรลุเป้าหมายของเขาเท่านั้น แต่ยังประสบความสำเร็จเกินเป้าหมายด้วย

ซับเวย์ในเมืองไทย

jk45

ภาพจาก facebook.com/SubwayThailand

ไมเคิล เจ อัลลัน เป็นแฟรนไชส์ซีของซับเวย์คนหนึ่ง และเป็น Development Agent หรือ ตัวแทนพัฒนาแฟรนไชส์ในประเทศไทยด้วย ซึ่งเขาเป็นผู้ที่มีเรื่องราวการเป็นผู้ประกอบการ ที่ประสบความสำเร็จในเมืองไทย เมื่อเขาเปิดร้านซับเวย์ร้านแรกบนถนนสีลม เมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2546 โดยมีเป้าหมาย ที่จะขยายร้านต้นแบบ 10 แห่งภายในเวลา 5 ปี

เขาใช้เวลากว่า 12 ปี มี 63 สาขา เรียกว่าการเติบโตไม่หวือหวา เพราะ SUBWAY เป็นแซนด์วิชที่วางตำแหน่งของสินค้าตามสโลแกน “Eat Fresh” ขายความสดใหม่ นั่นคือขนมปังต้องอบใหม่ทุกวัน วัตถุดิบสดสะอาด และเป็นเจ้าเดียวที่ไม่มีเมนูของทอดขาย และไม่มีของทอดเป็นส่วนประกอบในแซนด์วิช

แม้ว่า SUBWAY จะมีสาขาอยู่มากกว่า 44,333 แห่ง ในกว่า 111 ประเทศทั่วโลก และอเมริกาเป็นตลาดหลักของ Subway เพราะสาขากว่า 50% ก็อยู่ในอเมริกา เรียกได้ว่า มีสาขามากกว่า McDonald รวมกับ Starbuck ด้วยซ้ำ

แต่ถึงแม้สาขาจะเยอะเป็นอันดับ 1 แต่ยอดขายรวมของ Subway ในอเมริกา ก็อยู่ในอันดับ 3 คือ แพ้ McDonald กับ Starbuck ซึ่งยอดขายของ Subway ต่อสาขาได้ไม่ถึงครึ่งของยอด McDonald ด้วยซ้ำไป ตรงนี้ต้องจับตาดูอาการของซับเวย์ต่อจากนี้ไป

อ่านบทความแฟรนไชส์อื่นๆ goo.gl/sfG3UZ
สนใจซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ต่างๆ goo.gl/5E5m8e

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/2V3qKmb

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช