การเตรียมตัวและขั้นตอนการส่งออกสินค้าไปอาเซียน

การเตรียมตัว การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เมื่อปี 2559 เป็นการเปิดโอกาสครั้งใหญ่สำหรับผู้ประกอบการของไทย โดยเฉพาะผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ที่สามารถใช้โอกาสนี้ในการศึกษาและขยายธุรกิจไปยังกลุ่มประเทศอาเซียน

ไม่ว่าจะเป็นด้านการส่งออก การนำเข้า รวมถึงใช้กลุ่มประเทศในอาเซียนเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออก และใช้ประโยชน์จากค่าแรงราคาถูก และสิทธิทางภาษีในการส่งออกก็ได้

การเตรียมตัว

ภาพจาก pixabay.com/

สำหรับผู้ประกอบการมือใหม่ไทย ที่ต้องการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ ขั้นตอนแรกที่ต้องทำ คือการจดทะเบียนนิติบุคคล เพื่อความถูกต้องและน่าเชื่อถือ โดยการจดทะเบียนนิติบุคคลสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แบบคือ บริษัทจำกัด บริษัท มหาชนจำกัด และห้างหุ้นส่วนจำกัด ทั้งนี้ต้องไม่ลืมเช็คว่าสินค้าที่ผลิตอยู่นั้นจัดอยู่ในพิกัดศุลกากร (HS) หมายเลขใด

5

ภาพจาก pixabay.com/

โดยสามารถปรึกษากรมศุลกากร หรือค้นหาได้ในเว็บไซต์กรมศุลกากร ที่ www.customs.go.th/tariff/tariff.jsp หลังจากนั้นควรตรวจสอบสินค้าของตนเองว่าอยู่ในกลุ่มสินค้าอ่อนไหวสูงของประเทศที่ต้องการส่งออกหรือไม่

โดยตรวจสอบรายละเอียดกฎแหล่งกำเนิดสินค้าที่ผลิตอยู่ภายใต้กฎเช่นใด ทั้งนี้ผู้ประกอบการสามารถค้นหาข้อมูลได้จากเว็บไซต์ หรือปรึกษากรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ www.thailandaec.com และกรมการค้าต่างประเทศ www.dft.go.th

4

ภาพจาก pixabay.com/

ขั้นตอนถัดไป เรียกว่า พิธีการศุลกากร โดยผู้ประกอบการต้องยื่นขอหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า เพื่อส่งให้ผู้นำเข้าที่ได้สั่งซื้อสินค้า เปรียบเสมือนบัตรประจำตัวประชาชนในการทำธุรกิจการค้าเลยก็ว่าได้

เพราะเอกสารส่วนนี้จะบันทึกข้อมูลพื้นฐานของผู้ประกอบทั้งหมด ทั้งนี้สามารถยื่นได้ที่กรมการค้าต่างประเทศ หรือ สำนักงานการค้าต่างประเทศ และสำนักงานพาณิชย์จังหวัด ที่ได้รับมอบหมาย ส่วนหนังสือรับรองในกรณีส่งสินค้าไปอาเซียนเรียกว่า “ATIGA FORM D”

การเตรียมตัวและขั้นตอนการส่งออก

3

ภาพจาก pixabay.com/

เมื่อผู้ประกอบการพร้อมและศึกษาจนมั่นใจแล้วว่า จะทำธุรกิจส่งออกไปยังกลุ่มประเทศเป้าหมายโดยมีพันธมิตรดำเนินการเป็นที่ชัดเจนแล้ว ขั้นตอนต่อมาที่สำคัญคือ การเตรียมความพร้อมเพื่อส่งออก

ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องมีการดำเนินการควบคู่กับพันธมิตรธุรกิจหลายรายอย่างใกล้ชิด เช่น ธนาคาร ตัวแทนนำเข้าส่งออก คู่ค้าในต่างประเทศ รวมถึงการประสานงานกับกรมศุลกากรของไทย และหน่วยงานศุลกากรของประเทศปลายทาง โดยขั้นตอนการส่งออกทั้งหมดสรุปคร่าว ๆ ได้ดังนี้

2

ภาพจาก pixabay.com/

  1. ศึกษากฎเกณฑ์และระเบียบเกี่ยวกับการส่งออก ตรวจสอบสิทธิพิเศษและสิทธิประโยชน์ก่อนการส่งออกไปประเทศปลายทาง เช่น สิทธิประโยชน์ของสมาคมหรือสถาบัน สิทธิพิเศษทางศุลกากรของประเทศปลายทาง
  2. ตรวจสอบกฎหมายสินค้าส่งออกว่า สินค้าที่จะส่งออกอยู่ในกลุ่มสินค้ามาตรฐาน กลุ่มสินค้าควบคุม หรือสินค้าเสรี การตรวจสอบสินค้าจะบ่งชี้ว่าต้องจัดเตรียมเอกสารและขอเอกสารใดบ้างจากกรมศุลกากร
  3. ผู้ขายออกใบเสนอราคา (Quotation) ที่ระบุถึงจำนวน ราคา ระยะเวลาเตรียมสินค้า และรายละเอียดอื่น ๆ ตามที่ผู้ซื้อต้องการ
  4. ผู้ซื้อออกใบสั่งซื้อสินค้า (Purchase Order) ไปยังผู้ขาย โดยตกลงชำระเงินผ่าน Letter of Credit (L/C)
  5. ผู้ขายออกเอกสาร Pro-forma Invoice เพื่อเป็นหลักฐานให้ผู้ซื้อขอเปิด Letter of Credit (L/C) ต่อธนาคารของผู้ซื้อ
  6. ผู้ซื้อแจ้งไปยังธนาคาร เพื่อจัดส่ง Letter of Credit (L/C) ส่งมายังธนาคารในประเทศของผู้ขาย
  7. ผู้ขายดำเนินการผลิตและจัดหาสินค้าเพื่อส่งมอบตามรายการที่ระบุ
  8. ผู้ขายตรวจสอบกำหนการส่งออก ตารางเดินเรือ และเครื่องบิน
  9. ผู้ขายจัดทำเอกสารเพื่อการส่งออก
    • บัญชีราคาสินค้า (Invoice)
    • เอกสารขออนุญาตส่งออกกับกรมศุลกากรกรณีเป็นสินค้าควบคุม
    • จัดทำใบรายการบรรจุหีบห่อ (Packing List)
    • หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (C/O หรือ Certificate of Origin) ตามข้อกำหนดของประเทศผู้ซื้อ
  10. จัดเตรียมใบขนสินค้าขาออก ใบกำกับการขนย้าย การบรรจุสินค้าเข้าตู้ เพื่อผ่านพิธีการศุลกากร
  11. ผู้ส่งออกได้รับและตรวจรับสินค้า
  12. ผู้ขายตรวจสอบเอกสารทั้งหมด และนำไปยื่นขอขึ้นรับเงินกับธนาคาร โดยออกตั๋วแลกเงิน (Bill of Exchange) เพื่อสั่งให้ผู้ซื้อสินค้าจ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินภายในเวลาที่ตกลงไว้ในสัญญา

1

ภาพจาก pixabay.com/

จะเห็นได้ว่าในการส่งออกนั้นมีรายละเอียดที่ต้องดำเนินการค่อนข้างมาก และต้องดำเนินการผ่านธนาคารที่ไว้ใจได้ที่มีเครือข่ายธนาคารพันธมิตรที่ครอบคลุมประเทศผู้นำเข้า และหากผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมีข้อสงสัย สามารถสอบถามเพิ่มเติมจากธนาคาร

ซึ่งปัจจุบันมีส่วนงานที่ช่วยสนับสนุนธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีอยู่แล้ว หรืออาจจะติดต่อกับหน่วยงานภาครัฐที่มีบทบาทโดยตรงเช่น กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศก็ได้


คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php

ข้อมูล https://bit.ly/2LlkGkK , https://bit.ly/38e4JGO

อ้างอิงข้อมูล https://bit.ly/3zJ28SZ

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช