ออกบูธแฟรนไชส์ ต้องเตรียมตัวอย่างไร

ปัจจุบันนี้ผู้ประกอบการแฟรนไชส์หันมาสนใจร่วมออกบูธแฟรนไชส์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี เพราะเป็นช่องทางในการนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์และขายแฟรนไชส์ให้กับกลุ่มนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ การออกบูธแฟรนไชส์แต่ละครั้งสามารถมองเห็นผลลัพธ์ได้ชัดเจน และวัดได้ง่ายกว่าการใช้โฆษณา การประชาสัมพันธ์ หรือการทำตลาดในแบบอื่นๆ

สำหรับเจ้าของแฟรนไชส์ที่สนใจอยาก ออกบูธแฟรนไชส์ ต้องเตรียมตัวอย่างไร วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะแนะนำให้ทราบ

1.การเลือกงานออกบูธแฟรนไชส์

ออกบูธแฟรนไชส์ ต้องเตรียมตัวอย่างไร

งานแฟรนไชส์แต่ละงานจะมีจำนวนผู้เข้าชมงานมากน้อยต่างกัน ลักษณะกลุ่มของลูกค้าหรือความยิ่งใหญ่ การประชาสัมพันธ์งานต่างกัน จะต้องพิจารณาดูด้วยว่างานแสดงสินค้านั้น จัดขึ้นมานานแล้วหรือยัง หรือเพิ่งจัดขึ้นใหม่ ดังนั้น ก่อนออกบูธแฟรนไชส์ควรจะหาข้อมูลจากโบรชัวร์ อินเทอร์เน็ต และสิ่งสำคัญความจะหาข้อมูลจากผู้ประกอบการที่เคยไปออกงานนั้นๆ มาแล้วว่าผลลัพธ์ที่ได้เป็นอย่างไร และก็ควรที่จะไปชมงานแสดงสินค้า ที่เราคิดจะไปออกงานก่อน เพื่อให้เห็นภาพรวมของงานว่าเป็นอย่างไร มีใครมาออกงานบ้าง ลูกค้าเป้าหมายเป็นใคร

ลักษณะการตกแต่งบูธแฟรนไชส์ สินค้าและบริการของธุรกิจแฟรนไชส์ที่นำไปโชว์เป็นอย่างไรบ้าง แล้วค่อยตัดสินใจจองบูธสำหรับปีถัดไป ก็ยังไม่ช้าจนเกินไปดีกว่าตัดสินใจผิดพลาด และถ้ายิ่งเป็นการออกงานแฟรนไชส์ในต่างประเทศ ก็จะต้องพิจารณาให้รอบคอบ เนื่องจากการออกงานแสดงสินค้าต่างประเทศในแต่ละครั้งใช้งบประมาณที่สูง

2.เตรียมตัวก่อนออกบูธแฟรนไชส์

80

ควรเริ่มจากการเตรียมทีมงาน ซึ่งจะต้องมีการกำหนดเป้าหมายของการไปออกงาน เพื่อจุดประสงค์ใด เช่น แนะนำธุรกิจแฟรนไชส์ สร้างตัวแทนจำหน่าย ขายธุรกิจ ขายสินค้า แสดงศักยภาพขององค์กร เป็นต้น จากนั้นก็จะต้องเตรียมตัวในส่วนของการออกแบบบูธแฟรนไชส์ เตรียมสินค้าที่จะนำโชว์ แคตาล็อก โบรชัวร์ นามบัตร ลูกค้าที่มาเยี่ยมบูธ หรือผู้สนใจที่เข้ามาติดต่อ อาจจะต้องเตรียมใบกรอกข้อมูลลูกค้า แจกของที่ระลึกเล็กๆ น้อยๆ ให้กับผู้กรอกข้อมูล เป็นต้น

ในส่วนไปออกงานแฟรนไชส์ในต่างประเทศ สิ่งที่จะต้องคำนึงถึงมากๆ ก็คือ การสื่อสาร ผู้ออกงานควรที่จะสามารถพูดและสื่อสารกับลูกค้าได้ อย่างเช่น ถ้าไปออกงานที่จีน ก็ควรจะหาล่ามที่สามารถพูดฟังภาษาจีนได้ไปด้วย หรือล่ามภาษาญี่ปุ่นสำหรับการออกงานที่ประเทศญี่ปุ่น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการสื่อสารกับลูกค้า

นอกจากนี้ การออกแบบบูธ เตรียมการจัดวางเฟอร์นิเจอร์ ตำแหน่งการจัดวางโชว์สินค้า รวมถึงการวางระบบไฟฟ้าต่างๆ ให้เรียบร้อยพอเพียงกับการใช้งาน ซึ่งโดยปกติแล้วทางผู้จัดงานจะเตรียมปลั๊กไฟ กำลังไฟพื้นฐานให้ แต่คุณมีจำนวนหลอดไฟมาก หรือมีอุปกรณ์ไฟฟ้าไปแสดงจำนวนมาก ก็จะต้องแจ้งให้ผู้จัดงานเตรียมในเรื่องระบบไฟฟ้าให้พร้อมด้วย

3.เตรียมความพร้อมทางด้านการเงิน

83

ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ประกอบการแฟรนไชส์จะลืมไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นการออกบูธแฟรนไชส์ โชว์สินค้า หรือออกบูธเพื่อขายแฟรนไชส์ ต้องมีค่าใช้จ่ายด้วยกันทั้งนั้น จะมากหรือร้อยก็ต้องขึ้นอยู่กับสถานที่จัดงานแสดงสินค้า ค่าเช่าพื้นที่ โดยค่าใช้จ่ายที่ต้องเตรียม คือ ค่าเช่าพื้นที่ ค่าขนส่ง ค่าพนักงาน ค่าอาหาร ค่าวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ฯลฯ

4.การออกบูธงานแฟรนไชส์

84

ถือเป็นขั้นตอนสำคัญของการออกบูธงานแฟรนไชส์ ในช่วงออกงานนั้นผู้ประกอบการแฟรนไชส์ต้องพยายามเก็บข้อมูลของลูกค้าที่สนใจมาเยี่ยมชมบูธให้มากที่สุด เพื่อที่จะได้นำข้อมูลเหล่านั้น มาติดต่อกับลูกค้าหลังจากที่จบงานแสดงสินค้า และสิ่งหนึ่งที่ผู้ออกงานควรทำเพิ่มเติมก็คือ เดินสำรวจรอบๆ งานเพื่อศึกษาให้ทราบถึงสินค้า รูปแบบบูธต่างๆ ของคู่แข่ง หรือบริษัทอื่นๆ ที่มาร่วมออกงานด้วยเพื่อศึกษาเป็นแนวทางในการออกงานแสดงสินค้าในปีต่อๆ ไป

5.หลังออกบูธงานแฟรนไชส์

81

หลังจากกลับจากงานแฟรนไชส์ สิ่งแรกที่ควรกระทำเป็นอย่างยิ่ง ก็คือ การส่งจดหมายหรืออีเมล์ขอบคุณลูกค้า หรือผู้ที่เข้าเยี่ยมชมที่บูธ และผู้ให้นามบัตรไว้ เพื่อเป็นข้อมูลในการติดต่อแก่กันและกัน และควรสรุปข้อมูลทั้งหมดของลูกค้า เพื่อเก็บเป็นฐานข้อมูลไว้อ้างอิงในการออกงานปีต่อๆ ไป จากนั้นก็ควรแบ่งกลุ่มลูกค้าออกเป็น

กลุ่มลูกค้าที่ต้องรีบติดต่อกลับโดยเร็ว (กลุ่มที่มีแนวโน้มจะสั่งซื้อสินค้ามากที่สุด), กลุ่มลูกค้าที่ควรติดต่อกลับแต่ไม่ด่วน (กลุ่มลูกค้าที่อาจจะซื้อแต่ยังไม่ตัดสินใจในปัจจุบัน) และกลุ่มลูกค้าที่ควรติดต่อกลับเพื่อทักทายทำความรู้จักกันเอาไว้ (กลุ่มลูกค้าที่สนใจในสินค้า แต่ยังไม่มีแนวโน้มที่จะซื้อแฟรนไชส์)

สิ่งที่ขาดไม่ได้อีกอย่างคือ การสรุปผลลัพธ์ที่ได้จากการออกบูธ ประสบผลสำเร็จตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ ประสบปัญหาในการออกบูธแฟรนไชส์แต่ละครั้ง และมีสิ่งใดบ้างที่ควรปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นในการออกงานในปีต่อไป เพียงเท่านี้ โอกาสของผู้ประกอบการแฟรนไชส์ในการออกบูธแฟรนไชส์ก็มีโอกาสประสบความสำเร็จสูง

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3WoCiOI


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

กองบรรณาธิการเว็บไซต์

ยินดีสนับสนุน SMEs ไทยทุกแบรนด์ ที่ต้องการสร้างความเข้มแข็ง อยากเรียนรู้ พัฒนาธุรกิจ ส่งเสริมความเข้าใจในการตลาด มีความคิดสร้างสรรค์ แบ่งปันเพื่อสังคม ต่อยอดธุรกิจ ให้ประสบความสำเร็จในอนาคต