“น้ำตาลปั้น” สร้างรายได้วันละ 500 – 1,000 บาท อาชีพที่คนมองข้าม!
วิธีการคิดหาอาชีพเพื่อสร้างรายได้โจทย์ใหญ่คือต้องเป็นสินค้าที่คนต้องการ และถ้าลงทุนไม่เยอะ ก็ยิ่งดี แต่แทบทุกอาชีพก็มีคู่แข่งเยอะมาก ซึ่ง น้ำตาลปั้น ถือเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่เคยฮิตมาก แต่สมัยนี้แทบจะไม่มีคนทำ พ่อค้าน้ำตาลปั้นหาได้น้อยมาก ทั้งที่จริงน้ำตาลปั้นเป็นสินค้าที่มีเสน่ห์ในตัวเองอย่างมาก เป็นขนมหวานที่มีต้องใช้ศิลปะและไอเดียในการขึ้นรูป www.ThaiSMEsCenter.com เชื่อว่าอาชีพนี้ถ้าพ่อค้าใส่ไอเดียการตลาดที่ดีร่วมด้วยจะช่วยให้สร้างรายได้ดีมาก และที่สำคัญเป็นอาชีพลงทุนน้อย แต่ให้ผลตอบแทนคุ้มค่า
น้ำตาลปั้น VS Dalgona
ทำไม Dalgona ที่เป็นขนมหวานของเกาหลี วิธีการทำก็คล้ายกับน้ำตาลปั้นของไทย แต่สิ่งที่แตกต่างคือ Dalgona คนฮิต แต่น้ำตาลปั้นแบบไทย คนกลับไม่ค่อยพูดถึง ในแง่ของสินค้า Dalgona อาจเป็นขนมน้ำตาลเสียบไม้คล้ายอมยิ้ม มีรูปต่างๆสลักอยู่บนแผ่นน้ำตาล แต่น้ำตาลปั้นของไทยจะเป็นรูปร่าง รูปทรงที่ชัดเจนกว่าเช่น รูปปลา รูปดอกไม้ รูปการ์ตูน ต่างๆ ก็ขึ้นอยู่กับฝีมือของพ่อค้าว่าจะมีไอเดียในการปั้นแบบไหนอย่างไร ความแตกต่างของน้ำตาลปั้นและ Dalgona ที่คนสนใจต่างกันน่าจะเป็นเรื่องของ Story โดยน้ำตาลปั้นของไทยไม่ค่อยจะมีการหยิบยกเอาจุดเด่น เสน่ห์ ความเป็นมา ในการสร้างจุดขาย ทั้งที่สินค้ามีไอเดียสามารถทำการตลาดได้ไม่ยาก ยิ่งยุคนี้การตลาดออนไลน์มาแรงถ้ามีใส่คอนเทนต์ที่โชว์การปั้นน้ำตาล พัฒนารูปแบบการปั้นให้ดูน่าสนใจ หรือพัฒนาสินค้าให้แปลกและแตกต่าง น่าจะสร้างยอดขายและสร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้กับผู้ลงทุนได้มาก
วิธีการทำ “น้ำตาลปั้น”
น้ำตาลปั้นทำมาจากน้ำตาลทรายเคี่ยวผสมแบะแซใส่สีผสมอาหาร และปั้นขึ้นรูปด้วยมือเป็นตัวสัตว์ ผลไม้ ตัวการ์ตูนต่างๆ บ้างก็ใช้กดจากแม่พิมพ์รูปต่างๆมีทั้งแบบเป่าลมและไม่เป่าลม วิธีในการทำขนมน้ำตาลปั้นเริ่มจากเตรียมวัตถุดิบคือ
- น้ำตาลทราย (ประมาณ ½ กิโลกรัม) , แบะแซ 3 ประมาณกิโลกรัม น้ำ 1 แก้ว
- นำวัตถุดิบใส่หม้อหรือกระทะเคี่ยวด้วยไฟแรง พอเดือดให้เบาไฟลง และตั้งไฟไว้ให้เดือดจนข้นอีกประมาณ 30 นาที
- เทออกใส่ภาชนะที่ถูกแบ่งเป็นช่องๆ ใส่สีผสมอาหารลงไปช่องละสี คลุกเคล้าให้สีเข้ากัน เพียงเท่านี้เราก็จะได้น้ำตาลปั้นสีต่างๆตามที่ต้องการ
เมื่อน้ำตาลปั้น มีอุณหภูมิเย็นลงก็จะแข็งตัวไม่สามารถนำมาปั้นอะไรได้ ดังนั้นเวลาจะใช้งานจึงต้องนำมาอังไฟให้อุ่น น้ำตาลปั้นก็จะนิ่ม และอ่อนตัว สามารถปั้นขึ้นรูป เป็นตัวอะไรก็ได้ ถ้ามีฝีมือก็อาจจะขึ้นรูปและลงมือปั้นน้ำตาลปั้นบนไม้เสียบด้วยมือสดๆหากใครไม่ชำนาญก็อาจจะใช้แบบพิมพ์สำเร็จรูปมากดๆน้ำตาลปั้นลงไปให้เป็นรูปต่างๆตามแบบพิมพ์ที่มีแล้วเป่าลมเพื่อให้น้ำตาลปั้นแข็งอยู่ตัวได้เร็วขึ้น
รายได้ของน้ำตาลปั้น วันละ 500 – 1,000 บาท
ในส่วนของรายได้จากการขายน้ำตาลปั้นต้องขึ้นอยู่กับคนขายเป็นสำคัญด้วย ข้อมูลนี้เราอ้างอิงจากคนที่ทำอาชีพนี้เป็นประจำซึ่งมีอยู่น้อยมาก การลงทุนเบื้องต้นประมาณ 200-300 บาท การปั้นส่วนใหญ่ทำเป็นรูป สัตว์ รูปดอกไม้ ราคาขายเริ่ม 20-40 บาท ขึ้นอยู่กับความยากง่ายในการปั้น ทำเลขายดีที่สุดก็คือตามงานวัน งานเทศกาล หรือตามตลาดนัดและชุมชนต่างๆ ซึ่งรายได้ต่อวันก็ประมาณ 500 – 1,000 บาท เสน่ห์อีกอย่างของน้ำตาลปั้นคือรสชาติ จะออกหวานอ่อนๆไม่มีกลิ่นที่หอมหวนชวนกินอย่างอมยิ้มฝรั่งซึ่งจะหวานแหลมและมีกลิ่นหอมหลากหลายจากการใส่กลิ่นสังเคราะห์ต่างๆลงไป เมื่ออมน้ำตาลปั้นที่เพิ่งปั้นเสร็จใหม่จะรู้สึกอุ่นๆในปากเนื่องจากมีการคายความร้อนออกจากน้ำตาลปั้นที่กำลังแข็งตัว
น้ำตาลปั้น “อาชีพที่ใส่ไอเดีย” เพิ่มยอดขายได้
ในยุคนี้เราอาจจะไม่พบเห็นร้านขายน้ำตาลปั้นได้ทั่วไป ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะพ่อแม่ผู้ปกครองสมัยใหม่ใส่ใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพมากขึ้น ทำให้มีความกังวลถึงความสะอาดปลอดภัยและผลเสียจากการรับประทานน้ำตาลที่อาจส่งผลต่อสุขภาพร่างกายและสุขภาพฟันของบุตรหลาน แต่ก็ถือว่าอาชีพนี้ยังมีเสน่ห์น่าสนใจ โดยเฉพาะการใช้ตลาดออนไลน์ในการสร้างจุดขาย ช่องทางการขายไม่จำเป็นต้องเป็นแค่หาเร่แผงลอย แต่แพลตฟอร์มออนไลน์คือการนำเสนอที่เราจะใส่คอนเทนต์ให้น่าสนใจลงไปได้ แม้อาจไม่ใช่การสร้างอาชีพที่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ แต่ก็ถือว่าสร้างรายได้เสริมที่น่าสนใจส่วนจะดีแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับความคิดสร้างสรรค์ของผู้ลงทุนเป็นสำคัญด้วย การต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าให้ “น้ำตาลปั้น” ไม่มีรูปแบบตายตัว เราอาจทำปั้นน้ำตาลเป็นตัวสัตว์ เป็นดอกไม้ เป็นตึก เป็นบ้าน และนำมารวมกันสร้างเป็นเมืองจำลอง ซึ่งบางทีลูกค้าที่ซื้ออาจไม่ได้ต้องการจะเอามารับประทาน แต่น้ำตาลปั้นคืองานศิลปะอีกแขนงที่สามารถเก็บไว้ดูได้ (ในอุณหภูมิที่เหมาะสม) หรืออาจเป็นงานที่ขายให้ชาวต่างชาติที่ชื่นชอบวิถีแบบไทยๆก็ได้
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3cx5otj , https://bit.ly/3BexqUJ , https://bit.ly/3z7gdtI อ้างอิงจาก https://bit.ly/3srupej
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187 ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)