เจาะกลยุทธ์ First Mover มองขาดหรือเร็วไป?

“เริ่มก่อนได้เปรียบ” เรื่องนี้เป็นจริงในทางธุรกิจมากแค่ไหน? คำว่า “หัวแถว” สื่อถึงแนวคิดการเป็น ผู้เล่นคนแรก ในอุตสาหกรรม หรือที่เรียกกันว่า First Mover Advantage แต่การมาก่อนคนอื่นก็ไม่ได้การันตีว่าจะต้องสำเร็จเสมอไป

ข้อได้เปรียบแน่ๆ ของการเริ่มก่อนคือ

  • การใช้โอกาสในการสร้างลูกค้า
  • การวางโครงสร้างธุรกิจและการกำหนดมาตรฐานของอุตสาหกรรมนั้นๆ
  • การวางแผนป้องกัน ไม่ให้มี “คู่แข่ง” เกิดขึ้นได้ง่ายๆ
  • ลูกค้าจดจำแบรนด์ได้ดีกว่า
  • สามารถสร้าง Brand Loyalty กับลูกค้าได้ง่าย
  • ตั้งราคาหรือกติกาของตลาดได้ตามใจ
  • เรียนรู้จากประสบการณ์จริงได้ก่อน

แม้จะดูว่ามีข้อได้เปรียบที่เยอะจนน่าอิจฉาแต่ในความเป็นจริงมันก็ไม่ได้สวยงามเหมือนทฤษฏีเสมอไป มีข้อมูลที่น่าสนใจระบุว่า

  • อัตรารอด (Survival Rate) ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา First Movers อยู่รอดประมาณ 66%
  • อัตราความล้มเหลว (Failure Rate) ของ First Movers ช่วง 10 ปีที่ผ่านมาประมาณ 40%
  • ส่วนแบ่งการตลาดของ First Movers ประมาณ 20-30% ขึ้นอยู่กับการแข่งขันในธุรกิจนั้นๆ
  • ค่าใช้จ่ายด้าน R&D ของ First Movers ค่อนข้างสูงประมาณ 20-30% ของรายได้

ในอีกมุมหนึ่งการจะก้าวเป็น First Movers ได้อาจต้องมีสายป่านที่ยาว เพราะการก้าวมาสู่วงการคนแรกยังต้องเจอกับภาวะเสี่ยงในอีกหลายด้าน เป็นการเข้ามาบุกเบิกที่ยังไม่รู้สถานการณ์แท้จริง จนกว่าได้เริ่มทำ ด้วยเหตุผลนี้การเป็น First Movers จึงต้องเป็นนักธุรกิจที่เก่งทางด้านการบริหาร มีการวางแผนสำรองที่ดีเผื่อในกรณีฉุกเฉินด้วย ในอดีตก็มีหลายแบรนด์ที่เริ่มต้นจากการเป็น First Movers และประสบความสำเร็จมาถึงปัจจุบัน เช่น

First Mover
ภาพจาก www.amazon.com

Amazon ที่เริ่มจากการขายหนังสือออนไลน์ในปี 1995 และเริ่มปฏิวัติวงการด้วยการพัฒนา ระบบคลังสินค้าเทคโนโลยีแนะนำสินค้า ระบบการชำระเงิน จนก้าวมาสู่แพลตฟอร์มออนไลน์

Coca-Cola ที่ปัจจุบันคนจดจำแบรนด์นี้ในฐานะเครื่องดื่มน้ำอัดลมที่แม้จะมีคู่แข่งอีกเยอะมาก แต่พูดถึงสินค้าก็จะนึกถึง “โค้ก” ได้ก่อนเสมอ นั่นคือการวางรากฐานที่กำหนดความรู้สึกของลูกค้าทำให้ครองใจลูกค้าและมีส่วนแบ่งการตลาดน้ำอัดลมมากกว่า 40% ทั่วโลก

Netflix ที่เคยเป็นแค่บริการส่ง DVD ทางไปรษณีย์แต่กล้าเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจไปสู่การ สตรีมมิ่ง ขณะที่คู่แข่งยังอยู่กับร้านเช่าหนัง Netflix สามารถสร้างฐานสมาชิกจากทั่วโลกพร้อมข้อมูลพฤติกรรมผู้ชมจำนวนมหาศาลจนสามารถผลิต Content ที่ตรงใจลูกค้าได้

หรือถ้าจะดูในยุคนี้ที่ชัดเจนสุดๆ ก็คือร้านกาแฟน้องใหม่อย่าง UNO! Coffee ที่นับว่าเป็น First Movers ในด้านสินค้าที่แตกต่างจากแบรนด์อื่นๆ เพราะเลือกใช้ เมล็ดกาแฟสายพันธ์ “เกชา” (หรือที่หลายคนเรียกว่า เกอิชา) ที่มีกลิ่นหอมของดอกไม้ เป็นวัตถุดิบราคาแพงราคาหลายพันบาทต่อกิโล

First Mover
ภาพจาก www.facebook.com/UNOCoffeeCompany

ถ้าดูราคาของกาแฟ “เกอิชา” ในต่างประเทศเขาขายกันถึงแก้วละ 100 เหรียญ (ประมาณ 3,200 บาท) แต่ UNO! Coffee มาขายในเมืองไทยราคาแก้วละ 85 บาท จึงไม่น่าแปลกใจที่ลูกค้าจะเข้าแถวต่อคิวกันยาวเหยียด ข้อมูลระบุว่าวันแรกที่เปิดร้านขายได้มากถึง 800 แก้ว

และแน่นอนว่าการเปิดตัวในลักษณะ First Movers ที่เริ่มก่อนได้เปรียบแบบนี้ ย่อมทำให้แบรนด์อื่นมองเห็นช่องทางที่อาจจะขอทำตามบ้าง ก็จะปรับเปลี่ยนรูปแบบวิธีการให้คล้ายคลึงเช่นการเลือกใช้เมล็ดพันธุ์กาแฟที่มีจุดเด่นคล้ายๆ กัน หรือใช้กลยุทธ์ราคาที่คล้ายกัน

แต่ในฐานะที่ UNO! Coffee มาก่อนยังไงก็ค่อนข้างได้เปรียบ ที่เหลือก็คือเรื่องของการรักษาคุณภาพและการบริหารธุรกิจที่จะต่อยอดให้ดียิ่งขึ้น

First Mover
ภาพจาก www.facebook.com/UNOCoffeeCompany

อย่างไรก็ดีเหรียญก็มี 2 ด้านเสมอ การเป็น First Movers อาจประสบความสำเร็จในบางธุรกิจ ขณะที่อีกหลายธุรกิจมาก่อนใครแต่ก็ร่วงก่อนเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น

MySpace ที่มาก่อน Facebook แต่ขาดนวัตกรรมและประสบการณ์ผู้ใช้ที่ดี กระทั่ง Facebook เข้ามาทีหลังในปี 2004 แต่ใช้กลยุทธ์เฉพาะกลุ่ม (มหาวิทยาลัย) แล้วค่อยขยาย จนตอนนี้เป็นผู้นำ

Yahoo! ที่บุกเบิกธุรกิจด้านข่าวสาร อีเมลล์ และความบันเทิงมาก่อน แต่เพราะการขาดวิสัยทัศน์ไม่ก้าวตามสังคมที่เปลี่ยนไป จึงถูกคู่แข่งอย่าง Google ซึ่งมาทีหลังแต่พัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยค้นหาข้อมูลได้แม่นยำกว่าและใช้ง่ายกว่าจึงค่อย ๆ แย่งผู้ใช้ไปจาก Yahoo! และสุดท้ายก็กลายเป็นผู้นำได้ในที่สุด

First Mover
ภาพจาก https://citly.me/gQHtW

ดังนั้นถ้าพูดว่า First Movers ได้เปรียบจริงไหม คำตอบก็ต้องบอกว่า “จริง” แต่การได้เปรียบนั้นก็อยู่ภายใต้เงื่อนไขด้านการบริหารจัดการ และวิสัยทัศน์ของธุรกิจที่ต้องเปลี่ยนแปลงตามพฤติกรรมผู้บริโภคให้ทัน ในโลกของธุรกิจอาจไม่สำคัญว่าใครมาก่อน แต่สำคัญว่าใครจะครองตลาดได้ดีกว่า

ซึ่งการเป็น First Mover ช่วยให้มีเวลา เรียนรู้ และวางรากฐานก่อนใคร แต่ถ้าไม่รู้จักการรักษาความได้เปรียบที่มีไว้จากผู้นำก็อาจเป็นผู้ตามหรือแย่หน่อยก็คือถูกกลืนหายไปเลย

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด