กลยุทธ์บุฟเฟต์ ใช้กับทุกธุรกิจได้ จริงหรือ?

พูดถึง “บุฟเฟต์” ส่วนใหญ่เราจะนึกถึงร้านอาหาร พวกปิ้งย่างหรือร้านหมูกระทะ แต่ความจริง “บุฟเฟต์” เอาไปใช้ได้หลายธุรกิจ เคล็ดลับของการใช้กลยุทธ์บุฟเฟต์ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจไหนก็ตามต้องควบคุมต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ยกตัวอย่างร้านอาหารส่วนใหญ่จะมีต้นทุนเฉลี่ย 30% แต่ถ้าจะทำบุฟเฟต์ต้นทุนอาจสูงถึง 35% หมายความว่าหากร้านมีต้นทุน 10,000 บาท จะต้องทำยอดขายถึง 30,000 บาทจึงจะคุ้มทุน

มีหลายเหตุผลน่าสนใจ ทำไมบุฟเฟต์ถึงใช้เป็นวิธีกระตุ้นยอดขายให้กับธุรกิจได้

  1. ดึงดูดลูกค้าได้ง่ายมากลูกค้ารู้สึกว่าคุ้ม ได้เยอะ ในราคาจ่ายครั้งเดียวลูกค้ากล้าลอง เพราะ “กิน/ใช้ไม่อั้น”
  2. เพิ่มยอดขายต่อหัว ราคาบุฟเฟต์มักจะสูงกว่าขายปกติ ลูกค้าจ่ายมากขึ้นเพื่อความคุ้มค่า
  3. กระตุ้นลูกค้ากลุ่มใหญ่ ลูกค้าชอบมาด้วยกันเป็นกลุ่ม ชวนเพื่อน ครอบครัว ทำให้ร้านคึกคัก ยอดขายโตเร็ว
  4. โปรโมทง่าย ขายง่าย มีโปรบุฟเฟต์โพสต์ คนสนใจเยอะ
  5. สร้างลูกค้าประจำได้ ลูกค้าได้ประสบการณ์สนุก อยากกลับมาอีกถ้าเสริมบริการดี ๆ จะได้ลูกค้าขาประจำและบางร้านแถมคูปอง หรือบัตรสมาชิกต่อยอดรายได้เพิ่มอีกในอนาคต

และอย่างที่บอกว่าบุฟเฟต์ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นธุรกิจอาหารเท่านั้น มีอีกหลายธุรกิจที่นำกลยุทธ์บุฟเฟต์ไปใช้เพื่อกระตุ้นยอดขาย ได้แก่

กลยุทธ์บุฟเฟต์

1.สปา / ร้านเสริมความงาม

บุฟเฟต์ทำเล็บ ตัดผม หรือทรีตเมนต์หน้าแบบเหมา ๆ ทำกี่บริการก็ได้ในเวลาที่กำหนด

2.ฟิตเนส / ยิม

บุฟเฟต์คลาสออกกำลังกาย เช่น โยคะ, Zumba, มวยไทย เข้าคลาสไม่อั้นรายเดือน

3.คอร์สเรียน / เวิร์กช็อป

เรียนได้ทุกคอร์สในแพ็กเกจ เช่น เรียนทำอาหาร ศิลปะ ภาษา ฯลฯ

กลยุทธ์บุฟเฟต์

4.เกม / สวนสนุก

บุฟเฟต์เล่นเกม เครื่องเล่น เล่นได้ไม่จำกัดเวลาในวันนั้น

5.Co-working Space

บุฟเฟต์นั่งทำงาน นั่งกี่ชั่วโมงก็ได้ในราคาหนึ่งวัน

6.สตูดิโอถ่ายภาพ

บุฟเฟต์ถ่ายรูป ถ่ายได้ไม่จำกัดชั่วโมงหรือมุม

7. บริการ Subscription Box

บุฟเฟต์เลือกสินค้าเองในกล่อง เช่น เครื่องสำอาง ขนม ของเล่น ฯลฯ

กลยุทธ์บุฟเฟต์

8.ร้านเสื้อผ้ามือสอง

บุฟเฟต์จ่ายราคาต่อหัว เช่น 999 บาท เลือกหยิบเสื้อผ้ากี่ตัวก็ได้ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด (เช่นใช้ถุงที่ร้านจัดมาให้)

คำถามที่น่าสนใจคือ ถ้าเราใช้กลยุทธ์บุฟเฟต์แล้วรายได้จะเพิ่มขึ้นแค่ไหน เรื่องนี้ก็ขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจและการบริหารจัดการ เราจะลองยกตัวอย่างให้เห็นภาพเช่น บุฟเฟต์ร้านสปา

สามารถดึงดูดลูกค้าที่อยากลองหลายบริการในครั้งเดียว สามารถเพิ่มยอดขายต่อรอบ เพราะลูกค้าจะเลือกบริการเยอะขึ้นลูกค้ารู้สึก “คุ้มค่า” เกิดโอกาสกลับมาใช้บริการอีก

ตัวอย่างโปรโมชั่นบุฟเฟต์สปา

  • “Spa Buffet 2 ชั่วโมง 999 บาท”
  • “เลือกได้ไม่อั้น! นวดไทย นวดเท้า สครับผิว อบไอน้ำ”
  • “มา 2 คน ลดเพิ่มอีก 10%”

วิเคราะห์ต้นทุนโดยประมาณจะพบว่า ค่าจ้างพนักงานนวดประมาณ 300 – 600 บาท ( 2 ชั่วโมง) , ต้นทุนวัตถุดิบเช่นน้ำมันนวด , น้ำมันหอม , ครีม ฯลฯ เฉลี่ย 100 -200 บาท/คน , ต้นทุนค่าน้ำ ค่าไฟประมาณ 30 บาท/คน , อุปกรณ์อื่นๆ (ผ้าเช็ดตัว , ผ้าปูเตียง) 20 -30 บาท (เพราะของบางอย่างนำมาซักแล้วใช้ซ้ำได้) , ต้นทุนด้านการตลาด

ถ้าคิดราคาโปรบุฟเฟต์ 999 บาท หักต้นทุนต่างๆ ประมาณ 650 บาท เหลือกำไรต่อคนประมาณ 349 บาท ทีนี้ก็ขึ้นอยู่กับปริมาณลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการโปรบุฟเฟต์ที่จัดขึ้น และก็ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการเป็นสำคัญด้วย ข้อมูลระบุว่าการทำโปรบุฟเฟต์มีโอกาสเพิ่มรายได้ให้ธุรกิจได้มากกว่า 2 เท่า เพราะลูกค้าส่วนใหญ่ชอบแบบเหมาจ่าย ที่ทำให้รู้สึกคุ้มค่า

อย่างไรก็ดีโปรบุฟเฟต์แม้จะมีข้อดีและนำไปปรับใช้กับธุรกิจได้หลากหลาย แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานของแต่ละธุรกิจ การควบคุมต้นทุนและการบริหารจัดการถือเป็นสิ่งที่สำคัญมาก หากบริหารผิดพลาดแทนที่จะได้กำไรมากขึ้นอาจกลายเป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้นสวนทางกับรายได้ที่ไม่เพิ่มขึ้นได้เช่นกัน

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด