10 ไอเดียของ startup ระดับเอเชีย

ในปี 2017 มี Startup ถึง 57 รายที่สามารถไต่เพดานธุรกิจจนได้เงินสนับสนุนจากนักลงทุนมากมายไปจนถึงระดับ Unicorn คือ มากกว่า 1,000 ล้านเหรียญ หรือ 35,000 ล้านบาท

โดยที่ยังไม่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แม้ส่วนใหญ่จะเป็นสตาร์ทอัพในฝั่งยุโรปและอเมริกาแต่ที่ฮือฮาคือ Toutiao Media Startup ของประเทศจีนนั้นมีสินทรัพย์เป็นมูลค่าถึง 20 ล้านเหรียญ

ในปี 2018 ที่ผ่านมา Pitchbook ได้อัพเดทลิสต์รายชื่อ Unicorn หน้าใหม่ แม้จะนำโด่งในฝั่งสหรัฐเช่นเคยแต่ในระดับเอเชียก็มีที่น่าสนใจอย่างในจีนมีสตาร์อัพระดับ Unicorn ถึง 19 ราย เช่น Bitmain ,Meicai เป็นต้น

ซึ่งหากพิจารณาเฉพาะในแถบเอเชียเราจะพบว่ามี สตาร์ทอัพมากมายที่ใช้ไอเดียสร้างธุรกิจขึ้นมาให้เหมาะกับความต้องการของคนในภูมิภาคซึ่ง www.ThaiSMEsCenter.com รวบรวมมาเป็น 10 ไอเดียสตาร์ทอัพระดับเอเชียที่น่าสนใจดังนี้

1.Omise

Startup

ภาพจาก www.omise.co/th

เป็น Startup ของเมืองไทยที่เริ่มต้นทำธุรกิจ Fintech โดยให้บริการ Online Payment ที่หวังเข้ามาช่วยตอบโจทย์ให้ผู้ใช้งานจ่ายเงินผ่านออนไลน์ได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องผ่านธนาคาร

ซึ่ง Omise เป็นผู้อยู่เบื้องหลังของระบบ Payment ของ True Corporation และร้านอาหารในเครือ Minor International นอกจากนี้ยังมีลูกค้าระดับชั้นนำอย่าง aCommerce, Kaidee, Ookbee และ Weloveshopping เป็นต้น

2.Sea Group

a9

ภาพจาก www.seagroup.com

เป็นยูนิคอร์นสตาร์ทอัพที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียนจากสิงค์โปร์เริ่มต้นจากการเป็นบริษัทเกม Garena ที่เริ่มตั้งแต่ปี 2009 ขยายไปในประเทศต่างๆ และเข้ามาในประเทศไทยปี 2012เริ่มแรกทำโปรดักต์เกี่ยวกับเกมออนไลน์ยอดฮิตอย่าง ROV, HON, LOL ฯลฯ

จากนั้นได้ขยายธุรกิจด้วยการเปิดตัว AirPay บริการชำระเงินที่มาแก้ปัญหาการเติมเงินในเกม จ่ายค่าสาธารณูปโภคและจุดเด่นอย่างการซื้อตั๋วหนังก็ได้ใจผู้ใช้งานอย่างมาก SEA Group มีนักลงทุนที่สนใจและหนุนให้กิจการเติบโตอย่างต่อเนื่องจนสามารถนำพาตัวเองเข้าตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก เมื่อเดือนตุลาคม ปี 2017 ด้วยมูลค่าบริษัทราว 6,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

3.Shopee

a8

ภาพจาก shopee.co.th

รู้จักกันเป็นอย่างดีสำหรับแอปพลิเคชั่นสำหรับสั่งซื้อและขายของออนไลน์จากสิงค์โปร ทั้งยังเป็นแอปพลิเคชั่นเจ้าแรกๆที่ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถซื้อขายสินค้าได้โดยง่ายผ่านสมาร์ทโฟน อีกทั้งระบบยังให้บริการการชำระเงินที่ปลอดภัย เรียกว่า “Shopee Guarantee”

ซึ่งเมื่อมีการทำธุรกรรมทางการเงินเกิดขึ้น ระบบจะทำการโอนเงินของผู้ซื้อไปที่บัญชีธนาคารแยกของ Shopee และผู้ขายจะได้รับเงินก็ต่อเมื่อสินค้าส่งถึงมือลูกค้าอย่างปลอดภัยแล้ว ซึ่งจะเป็นส่วนที่ทำให้มั่นใจในการซื้อขายของผ่านแอปพลิเคชั่น Shopee ว่าลูกค้าจะสามารถได้รับสินค้าอย่างแน่นอน

4.Xiaomi

a7

ภาพจาก www.mi.com

ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2010 ในปัจจุบัน Xiaomi กลายเป็นผู้ผลิตสมาร์ทโฟนขนาดใหญ่อันดับ 3 ของโลก รองจาก Apple และ Samsung จากการเติบโตที่รวดเร็วทำให้มีอัตราการจ้างงานสูงมาก และบริษัทก็มีมูลค่าธุรกิจกว่าพันล้านเหรียญ Xiaomi เป็นแบรนด์เทคโนโลยีที่ไม่ได้ขายเพียงแค่มือถือ

แต่ยังมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น Smart watch, Powerbank โดย CEO ของบริษัทบอกว่าอยากทำสินค้าที่ดี แต่สามารถซื้อได้ในราคาแค่ครึ่งเดียวเมื่อเทียบกับบริษัทคู่แข่ง Xiaomi ได้รับการขนานนามว่าเป็น “China Apple” ที่เคยขายโทรศัพท์มือถือ 15,000 เครื่องหมดภายใน 2 วินาที จนลง Guinness World Record เพราะสเปคที่ลูกค้าได้นั้นคุ้มค่าเมื่อเทียบกับราคา

5.Flipkart

a6

ภาพจาก www.flipkart.com

บริษัท Startup ที่ให้บริการเว็บไซต์ค้าปลีกออนไลน์เจ้าใหญ่ในตลาดอินเดีย ก่อตั้งโดยอดีตวิศวกรของ Amazon สามารถพัฒนาตัวเองให้เติบโตจนกลายมาเป็นคู่แข่งของ Amazon ในประเทศอินเดียได้

เติบโตมาจากการขายหนังสือผ่านช่องทางออนไลน์ จากนั้นก็แตกไลน์สินค้าออกไปมากกว่า 80 หมวด มีสินค้าจำหน่ายกว่า 80 ล้านชิ้น มีผู้ลงทะเบียนใช้งานแล้วมากกว่า 100 ล้านคนและมีพนักงานมากกว่า 30,000 คน

6.Kheyti

a5

ภาพจาก kheyti.com

สตาร์ทอัพของอินเดีย ประดิษฐ์โรงเรือนต้นทุนต่ำเพื่อควบคุมผลผลิตจากสภาพอากาศและป้องกันศัตรูพืช จากข้อมูลพบว่า ในอินเดียมีเกษตรกรกว่า 120 ล้านราย โรงเรือนของ Kheyti เรียบง่าย เพราะใช้วัสดุน้อยชิ้น และมีขนาดเล็ก โรงเรือนนี้มากับระบบน้ำหยดที่จะช่วยลดอุณหภูมิให้กับพืช ลดการใช้น้ำได้มากถึง 90% พร้อมความสามารถในการป้องกันโรคของพืช และป้องกันปัญหาน้ำท่วมได้อีกด้วย

เกษตรกรจะมีผลผลิตเพิ่มขึ้นถึง 7 เท่า ราคาอยู่ที่ 2,000 เหรียญหรือประมาณ 70,000 บาท แต่ Kheyti ร่วมมือกับธนาคารให้มาเป็นพาร์ทเนอร์กับเกษตรกรที่มีรายได้น้อย โดยเปิดให้วางเงินดาวน์เริ่มต้นที่ 400 เหรียญหรือประมาณ 14,000 บาท หลังจากนั้นให้ชำระเงินเป็นไตรมาส ไตรมาสละ 175 เหรียญหรือราว 6,000 บาท ภายใน 3 ปีก็จะครบ

7.Go-Jek

a4

ภาพจาก www.go-jek.com

บริษัท Startup จากอินโดนีเซีย ก่อตั้งเมื่อปี 2010 มีผู้ก่อตั้งคือ Nadiem Makarim มีเป้าหมายว่าอยากแก้ปัญหาคมนาคมในเมืองจาการ์ตา ที่มีสภาพการจราจรสุดแสนเลวร้าย ทำให้เขาเริ่มธุรกิจ call center ที่ให้บริการ Ojek หรือมอเตอร์ไซค์รับจ้างมีคนขับ 20 คน ก่อนจะพัฒนามาให้บริการผ่านแอพพลิเคชั่นที่ชื่อ Go-Jek (มาจาก Ojek) และได้รับความนิยมอย่างมาก

หลังจากที่รัฐบาลยกเลิกการใช้รถสามล้อรับจ้าง จนเวลาผ่านไป 7 ปี Go-Jek สามารถขยายธุรกิจออกไปยัง 25 เมืองใหญ่ในอินโดนีเซีย จนนับได้ว่าเป็น Startup ที่เติบโตอย่างรวดเร็วที่สุด นอกจากนั้นยังขยายไปให้บริการรถแท็กซี่ พร้อมทั้งแตกไลน์ไปยังบริการขนส่งที่หลากหลาย ซึ่งทุกบริการที่มีนั้นเน้นการส่งตรงถึงบ้าน เพื่อลดการเดินทางของประชาชน

8.Ola Cabs

a3

ภาพจาก goo.gl/4wUGvx

บริษัท Startup จากอินเดียที่ให้บริการ Bike Sharing เพื่อรองรับเทรนด์และการเติบโตของธุรกิจ Bike Sharing ได้รับแรงบันดาลใจมากจากประเทศจีน โดยผู้ใช้งานเพียงค้นหาจักรยานผ่านแอปพลิเคชั่นด้วยระบบ GPRS และสแกนรหัสสำหรับปลดล็อก

หลังจากชำระค่าเช่าแล้ว ก็สามารถปั่นไปได้เลย เมื่อใช้เสร็จก็สามารถจอดไว้ข้างทางและจักรยานจะล็อกเองเมื่อหมดเวลาเช่า ด้วยประชากรในอินเดียที่มีจำนวนมหาศาลไม่แพ้จีน Ola จะยังคงมีอนาคตที่สดใสต่อไป โดยตอนนี้ได้เปิดตัวให้บริการในเขตของมหาวิทยาลัยในอินเดียก่อน ซึ่ง Ola มีแนวคิดเกี่ยวกับการใช้จักรยานว่า เหมาะสำหรับระยะทางที่สั้นเกินกว่าจะนั่งรถแท็กซี่ แต่ก็ไกลเกินกว่าที่จะเดิน

9.VIPKID

a2

ภาพจาก www.facebook.com/VIPKID

เป็นสตาร์ทอัพจากประเทศจีน ที่ต้องการให้เด็กอายุ 4-12 ปีทุกคนได้มีโอกาสเรียนรู้ภาษากับครูชาวอเมริกัน จนเกิดเป็นแพลตฟอร์ม VIPKID ที่มีการสอนทั้งวิชาภาษาอังกฤษ, วิทยาศาสตร์, คณิตศาสตร์ และอีกหลากหลายวิชา โดยก้าวข้ามขีดจำกัดที่หลายคนมักมองกันว่าการเรียนออนไลน์นั้น ไม่ได้ผลดีเท่ากับการเรียนการสอนแบบเจอหน้ากัน และ VIPKID สามารถเติบโตจนมีนักลงทุนอีกมากมายที่ให้ความสนใจ

ไม่ว่าจะเป็น Sequoia Capital China, Tencent Holdings, Sinovation Ventures, Zhen Fund และ Yunfeng Capital ของ Jackma โดย 3 ปีก่อน VIPKID เริ่มต้นจากการมีคุณครูเพียง 400 คนและนักเรียนในระบบเพียง 3,300 คน แต่ปัจจุบันมีคุณครูในระบบกว่า 60,000 คน และมีนักเรียนในแพลตฟอร์มถึง 500,000 คน

10.ClearTax

a1

ภาพจาก www.facebook.com/ClearTax

สตาร์ทอัพอินเดียที่จะช่วยให้เรื่องภาษีในอินเดียเป็นเรื่องเบาๆ ก่อตั้งโดย Archit Gupta, Srivatsan Chari และ Ankit Solanki ด้วยแพลทฟอร์มของ ClearTax ที่ช่วยจัดการด้านภาษีที่อดีตมีความซับซ้อน แต่ละรัฐในอินเดียจัดการต่างกัน ClearTax ได้เข้ามาแก้ปัญหาภาษีนี้อย่างครบวงจร โดยให้บริการทั้งบุคคลทั่วไป ธุรกิจ และผู้ตรวจสอบบัญชี

สิ่งที่เรามองเห็นจากสตาร์ทอัพเหล่านี้คือการ หยิบเอาปัญหามาแก้ไขและทำให้เป็นธุรกิจ สำหรับใครที่ไม่รู้ว่าจะเริ่มลงทุนแบบไหนอย่างไรดี ให้สำรวจรอบๆตัวเองว่ามีปัญหาอะไรที่ยังแก้ไขไม่ได้ ลองคิดและพยายามแก้ปัญหาเหล่านั้นของคนส่วนใหญ่ให้ได้ จุดเริ่มของสตาร์ทอัพมาจากตรงนั้นส่วนจะต่อยอดได้มากขนาดไหนก็อยู่ที่การบริหารและการพัฒนาให้สอดคล้องกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป


SMEs Tips

  1. Omise
  2. Sea Group
  3. Shopee
  4. Xiaomi
  5. Flipkart
  6. Kheyti
  7. Go-Jek
  8. Ola Cabs
  9. VIPKID
  10. ClearTax

สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมาย ติดตามได้ที่ goo.gl/Io5k2S

ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise 

01

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด