10 ข้อควรปฏิบัติ เริ่มต้นธุรกิจในฐานะ “แฟรนไชส์ซี”

การมีธุรกิจเป็นของตัวเองกลายเป็นหนึ่งในความฝันของใครหลายๆ คน โดยเฉพาะคนทำงานประจำที่เริ่มเบื่อกับชีวิตมนุษย์เงินเดือน แต่หากจะเริ่มธุรกิจด้วยตัวเอง

โดยยังไม่มีประสบการณ์ ไม่มีความรู้ในการบริหารจัดการธุรกิจ รวมถึงเงินทุนยังน้อย ถือว่าค่อนข้างเสี่ยงที่จะเริ่มต้น ด้วยข้อจำกัดเหล่านี้ จึงทำให้การซื้อแฟรนไชส์เป็นอีกทางเลือกธุรกิจที่น่าสนใจ

เพราะการซื้อแฟรนไชส์ เป็นอีกหนึ่งวิธีของคนที่อยากเริ่มต้นทำธุรกิจของตัวเอง สามารถบริหารจัดการได้เอง แม้ยังไม่มีความรู้ด้านธุรกิจที่มากเพียงพอ เนื่องจากธุรกิจแฟรนไชส์ ส่วนใหญ่มีเทคนิค และขั้นตอนในการทำธุรกิจสำเร็จรูปอยู่แล้ว ทำให้โอกาสประสบความสำเร็จสูง ย่อมมีมากกว่าการสร้างธุรกิจด้วยตัวเอง

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com ขอนำเสนอ 10 ขอควรปฏิบัติในการเริ่มต้นธุรกิจ ด้วยการซื้อแฟรนไชส์ ถือเป็นการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้ประกอบการแฟรนไชส์ ในฐานะแฟรนไชส์ซี เชื่อว่าน่าจะเป็นความฝันของหลายคน ที่อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง โดยไม่เสียเวลาสร้างธุรกิจด้วยตัวเอง

แฟรนไชส์ซี

ภาพจาก facebook.com/Sumofishball

1. ศึกษาข้อมูลแฟรนไชส์ที่ชอบ

ก่อนอื่นเลยต้องถามตัวเองว่า สนใจธุรกิจประเภทไหน เพราะแฟรนไชส์แบ่งออกเป็นหลายธุรกิจ หลายประเภท เช่น อาหาร เครื่องดื่ม บริการ ค้าปลีก ฯลฯ ผู้ซื้อแฟรนไชส์จึงต้องรู้ว่าตัวเองชอบหรือสนใจธุรกิจประเภทใด แล้วศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ทั้งจากเจ้าของแฟรนไชส์ เว็บไซต์ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ สมาคมแฟรนไชส์ต่างๆ รวมถึงสถาบันการเงิน และงานแสดงสินค้าแฟรนไชส์ต่างๆ ที่สำคัญผู้สนใจซื้อแฟรนไชส์ ควรหาโอกาสทดลองซื้อสินค้าหรือใช้บริการแฟรนไชส์ที่สนใจครับ

2. หาแฟรนไชส์ที่เหมาะกับเงินทุน

หลังจากรู้ว่าแบรนด์แฟรนไชส์ไหนเหมาะสมกับพื้นที่หรือจังหวัดของตัวเองแล้ว ก็ต้องมาดูว่าแฟรนไชส์ไหนบ้างเหมาะสำหรับเงินลงทุนในกระเป๋าตัวเอง เพราะถ้าซื้อแฟรนไชส์ที่มีค่าแฟรนไชส์แพงๆ ค่าตกแต่งร้านสูงๆ แต่เงินในกระเป๋าไม่พอ ก็ควรหลีกเลี่ยงเพราะอย่าลืมว่า จ่ายค่าแฟรนไชส์และค่าตกแต่งร้านไปแล้ว แต่ละเดือนต้องมีเงินทุนหมุนเวียนสำหรับซื้อวัตถุดิบ ค่าแรงงาน รวมถึงค่าเช่าพื้นที่ แต่ถ้าใครมีเงินทุนมากพอ ก็ตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์แบรนด์นั้นได้เลย

17

ภาพจาก bit.ly/3bOOUH3

3. สำรวจทำเลในการเปิดร้าน

ปัจจุบันทำเลถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์ ผู้สนใจซื้อแฟรนไชส์ควรศึกษา มองหาทำเลที่มีศักยภาพไว้ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์ เพราะบางแฟรนไชส์จะพิจารณาก่อนว่า ผู้สนใจซื้อแฟรนไชส์มีทำเลหรือไม่ แต่บางแฟรนไชส์ช่วยประสานเรื่องทำเลเพื่อผู้ลงทุน รวมถึงสามารถนำเสนอทำเลที่ดี สำหรับผู้สนใจซื้อแฟรนไชส์ด้วย

4. สำรวจบริษัทแฟรนไชส์

หลังจากสำรวจร้านสาขาแฟรนไชส์แล้ว อาจจะต้องติดต่อเข้าไปสำรวจหรือเยี่ยมชมบริษัทแฟรนไชส์ด้วย เพราะจะได้รู้ว่าบริษัทแฟรนไชส์มีอยู่จริงหรือไม่ มีสถานที่ตั้งอยู่ไหน ติดต่อได้ง่ายหรือสะดวกหรือไม่อย่างไร มีพนักงานมากน้อยแค่ไหน รวมถึงดูนโยบายของบริษัทแฟรนไชส์ว่าเป็นอย่างไร เพื่อเวลาที่ซื้อแฟรนไชส์ไปแล้ว จะไม่โดนลอยแพ หรือทิ้งขว้าง

16

ภาพจาก facebook.com/maruwaffle

5. พูดคุยกับเจ้าของแฟรนไชส์

หลังจากมีทำเลที่ตั้งในดวงใจแล้ว ควรเลือกแฟรนไชส์ในดวงใจมาอย่างน้อย 3 แฟรนไชส์ จากนั้นลองติดต่อขอข้อมูลสอบถามรายละเอียดในการลงทุน และค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมถึงรูปแบบการแบ่งผลตอบแทน และเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ กับทางเจ้าของแฟรนไชส์ หรือบริษัทแฟรนไชส์โดยตรง

6. สำรวจร้านสาขาแฟรนไชส์

ถ้าคุณคิดว่ากำลังจะซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ใดก็ตาม คุณจำเป็นจะต้องรู้ว่า ร้านแฟรนไชซี่ หรือผู้ที่ซื้อธุรกิจนี้ก่อนหน้านี้ เป็นใคร และอยู่ที่ไหนกันบ้าง และลงสนามสำรวจร้านจริงที่มีอยู่แล้วว่า พวกเขาเป็นอย่างไรกันบ้าง และทำกำไรได้จริงหรือไม่ เพื่อศึกษาถึงข้อดี-ข้อเสีย เพื่อให้คุณมีความพร้อมเต็มที่ที่จะทำธุรกิจนั้นให้สำเร็จ และมีคำถามสำหรับแฟรนไชส์ซีที่คุณควรถาม เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เช่น การลงทุนธุรกิจนี้ คุณภาพสินค้าที่ขายนี้ ดีไหม ลูกค้านิยมมากแค่ไหน สินค้าที่บริษัทแม่จัดให้ ส่งทันไหม และเพียงพอหรือไม่ อะไรคือปัญหาของธุรกิจนี้ ร้านของคุณทำกำไรได้หรือไม่

15

ภาพจาก facebook.com/Starstarcoffee2017

7. เจรจาซื้อแฟรนไชส์

มาถึงตอนนี้ผู้สนใจซื้อแฟรนไชส์คงมีข้อมูลเพียงพอ จนสามารถตัดสินใจเลือกแฟรนไชส์ที่ตรงกับความต้องการของตัวเองได้ จากนั้นควรเริ่มเจรจาเพื่อซื้อแฟรนไชส์ นำข้อมูลเชิงลึกมาประกอบการตัดสินใจ สอบถามแฟรนไชส์ซีของแฟรนไชส์แบรนด์นั้นๆ ทั้งยังดำเนินธุรกิจอยู่และเลิกกิจการไปแล้ว รวมถึงเข้าเยี่ยมชมการดำเนินงาน และกระบวนการบริหารจัดการร้านค้าแฟรนไชส์ โดยพึงระลึกไว้เสมอว่า ต้องศึกษาสัญญาแฟรนไชส์ให้ละเอียด มีความเป็นธรรมกับแฟรนไชส์ซีหรือไม่

8. ดำเนินการขอสินเชื่อ

ปัจจุบันมีหลายธนาคารพาณิชย์ ไม่ว่าจะเป็น กสิกรไทย กรุงเทพ ออมสิน ฯลฯ ที่ปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ โดยจะมีวงเงิน คิดอัตราดอกเบี้ยให้เสร็จสรรพ โดยผู้ซื้อแฟรนไชส์ที่ผ่านการพิจารณาและคัดเลือกจากเจ้าของแฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซอร์การันตี หรือค้ำประกันให้) ก็จะได้รับการเดินเรื่องขอสินเชื่อกับทางธนาคารนั้นๆ ได้เลย โดยแต่ละธนาคารจะมีรายชื่อธุรกิจแฟรนไชส์หลากหลายแบรนด์เข้าร่วมโครงการปล่อยสินเชื่อให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ที่ผ่านการคัดเลือกจากเจ้าของแฟรนไชส์ เลือกเลย! 100 ธุรกิจแฟรนไชส์ ลงทุนไม่เกิน 50,000 (โครงการสร้างอาชีพเพื่อผู้มีรายได้น้อย)

14

ภาพจาก facebook.com/torcharmfranchise

9. เตรียมทีมงานก่อนเปิดร้าน

ก่อนการเปิดร้านหรือในช่วงการตกแต่งร้าน ที่บางครั้งเจ้าของแฟรนไชส์จะต้องมาจัดการให้ ผู้ซื้อแฟรนไชส์ก็ควรใช้เวลานั้น หรือก่อนหน้า เตรียมทีมงานหรือพนักงานที่จะมาช่วยกิจการร้าน ถ้าเป็นแฟรนไชส์ที่ขายได้คนเดียว ก็ไม่จำเป็นต้องมีทีมงานก็ได้ แต่ถ้าเป็นแฟรนไชส์ร้านใหญ่ๆ ที่มีโต๊ะนั่ง พวกร้านอาหาร ก็ต้องทีมงานพนักงานคอยช่วยเหลือครับ

10. เตรียมพร้อมก่อนเปิดกิจการ

หลังจากได้รับการคัดเลือกจากเจ้าของแฟรนไชส์แล้ว ผู้ซื้อแฟรนไชส์ หรือ แฟรนไชส์ซีต้องเข้ารับการฝึกอบรมการดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ตามมาตรฐานที่แฟรนไชส์ต่างๆ กำหนดไว้ รวมถึงสรรหาบุคลากรที่จำเป็นต่อการดำเนินกิจการ กรณีประสบปัญหาด้านบุคลากร ทางแฟรนไชส์ซอร์หลายๆ แบรนด์จะช่วยดำเนินการสรรหา และฝึกอบรมบุคลากรให้เลย โดยในช่วงแรกของการดำเนินกิจการ เกือบทุกแฟรนไชส์จะมีการส่งเจ้าหน้าที่ มาช่วยดูแลและให้การสนับสนุนการดำเนินกิจการ เปรียบเสมือนเป็นพี่เลี้ยงให้แฟรนไชส์ซี หากเกิดปัญหาก็สามารถขอคำปรึกษาจากแฟรนไชส์ซอร์ได้ตลอดเวลา

ทั้งหมดเป็น 10 ข้อควรปฏิบัติในการเริ่มต้นในฐานะแฟรนไชส์ซี เป็นการเลือกซื้อธุรกิจแฟรนไชส์อย่างมีประสิทธิภาพ และประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องรู้เรื่องแฟรนช์มาก่อน เพียงแต่ถ้าสนใจลงทุนแล้ว ก็ค่อยศึกษาหาข้อมูล วิเคราะห์ เปรียบเทียบ เพื่อให้ได้ธุรกิจแฟรนไชส์ที่ตัวเองชอบ และมีโอกาสประสบความสำเร็จสูง


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

Franchise Tips

  1. ศึกษาข้อมูลแฟรนไชส์ที่ชอบ
  2. หาแฟรนไชส์ที่เหมาะกับเงินทุน
  3. สำรวจทำเลในการเปิดร้าน
  4. สำรวจบริษัทแฟรนไชส์
  5. พูดคุยกับเจ้าของแฟรนไชส์
  6. สำรวจร้านสาขาแฟรนไชส์
  7. เจรจาซื้อแฟรนไชส์
  8. ดำเนินการขอสินเชื่อ
  9. เตรียมทีมงานก่อนเปิดร้าน
  10. เตรียมพร้อมก่อนเปิดกิจการ

อ่านบทความเพิ่มเติม https://bit.ly/2BNmmkY

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช