เมื่อ Line รวมตัวกับ Yahoo Japan เตรียมสู้ตลาดดิจิทัลปี 2020

ในปี 2563 คาดว่าการแข่งขันใน ตลาดดิจิทัล จะทวีความรุนแรงยิ่งกว่าปี 2562 แบรนด์ยักษ์ใหญ่มากมายทั่วโลกมีการขยับตัวเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ปี 2563 ที่จะกลายเป็นสงครามตลาดดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบมากขึ้น

ซึ่งคาดว่าจะชี้วัดความอยู่รอดและความสำเร็จของแบรนด์ดังทั่วโลกว่าจะคงอยู่หรือดับไป หรือจะปล่อยให้คู่แข่งซึ่งมาทีหลังวิ่งแซงหน้าไปเป็นเบอร์หนึ่งแทน อันนี้ก็อยู่ที่วิสัยทัศน์ของผู้บริหารในแต่ละองค์กรเป็นสำคัญ

หนึ่งในข่าวใหญ่ที่ www.ThaiSMEsCenter.com มองว่าเป็นความเปลี่ยนแปลงที่เรียกว่าชัดเจน แม้ไม่ใช่เรื่องในเมืองไทยแต่ก็ชี้ให้เห็นได้ว่านี่คือการขยับเพื่อสิ่งที่ใหญ่กว่า นั่นคือข่าวที่ LINE และ Yahoo Japan กำลังจะควบรวมกิจการกัน

ท่ามกลางยักษ์ใหญ่ต่างรวมกัน เพื่อสร้าง “Super App” ที่มีบริการหลากหลาย เพื่อสู้กับคู่แข่งอย่าง Grab จากมาเลเซีย, Alibaba/Tencent/Baidu จากจีน, Go-Jek จากอินโดนีเซีย หรือแม้แต่ Rakuten ที่มาจากญี่ปุ่นเอง

ทำไมต้องรวมตัวกัน?

ตลาดดิจิทัล

ภาพจาก s.nikkei.com/2rjksU3

พูดถึง “Line” เชื่อว่าคนไทยตอนนี้คุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ทั่วโลกเองก็มีจำนวนแอคเคาท์มากถึง 82 ล้านคน ส่วน Yahoo Japan ก็มีตัวเลขผู้ใช้งานอยู่ที่ 50 ล้านคน โดย Yahoo Japan มีเจ้าของคือ Z Holdings โดยมี SoftBank เป็นบริษัทแม่รายใหญ่อีกที ส่วน LINE หรือ LINE Corp. มีเจ้าของคือ NAVER จากเกาหลีใต้

ก่อนหน้านี้ Yahoo Japan ก็ได้เข้าซื้อกิจการ E-Commerce ที่ขายเสื้อผ้าแฟชั่นอย่าง Zozo ไปเป็นที่เรียบร้อย ซึ่งการรวมตัวกันครั้งนี้มีเป้าหมายทางธุรกิจคือการมุ่งขยายฐานธุรกิจในตลาดออนไลน์ ด้วยการแชร์ทรัพยากรการบริหารและเพิ่มการลงทุนเพื่อพัฒนาเทคโนโลยี AI ด้วยการควบรวมครั้งนี้ ทำให้ Yahoo Japan และ LINE กลายเป็นบริษัท internet ของญี่ปุ่นที่ใหญ่ที่สุดและจะทำรายได้ได้สูงสุดแซงหน้า Rakuten ที่เมื่อปีที่แล้วทำเงินได้ 1.1 ล้านล้านเยน ขณะที่ Z Holdings และ LINE ทำรายได้รวมกัน 1.16 ล้านล้านเยนในปี 2018

ส่วนตลาดหุ้นของ LINE ที่อยู่อเมริกานั้นทั้ง SoftBank และ Naver กำลังไล่ซื้อหุ้นคืนจากผู้ถือหุ้นรายเล็ก เพื่อค่อยๆ ควบกิจการทั้ง 2 ให้แล้วเสร็จในเดือนตุลาคม 2020 ซึ่งถือว่าเป็นแม่แบบเดียวกับหลายบริษัทในญี่ปุ่นที่รวมตัวกัน ยกตัวอย่างในวงการเกม อาทิ Squae-Enix, Bandai-Namco, Tecmo-Koei ที่ทำกันไปแล้วเมื่อกว่า 10 ปีก่อน

หนึ่งในเหตุผลที่ LINE ยอมควบกิจการนั้นคือ ผลตอบแทนที่ไม่ดีนักในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมา ทำให้ทางบริษัทจำเป็นต้องดำเนินกลยุทธ์แบบใหม่ทางการตลาดและดีลที่กล่าวมาข้างต้นก็เป็นหนึ่งในหนทางที่ดี ในการพลิกธุรกิจให้เติบโตได้ยิ่งกว่าเดิมและยังสามารถกำไรที่จะมากขึ้นในอนาคตได้ด้วย

ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหลังรวมตัวกัน!

52

ภาพจาก bit.ly/2s7lhPZ

หลังจากที่ Z Holdings และ LINE เซ็นสัญญาควบรวมกิจการในเดือนธันวาคมที่จะถึงนี้ บริษัทแม่ของทั้งสอง คือ SoftBank และ Naver จะซื้อหุ้น LINE จากผู้ถือหุ้นรายย่อยคืนทั้งหมดเป็นเงินประมาณ 340,000 ล้านเยน โดยผู้ถือหุ้นเก่าของ LINE จะได้รับประมาณ 5,200 เยนต่อหุ้น

ล่าสุดทาง Softbank เจ้าพ่อคมนาคมแห่งแดนอาทิตย์อุทัยประกาศอย่างเป็นทางการแล้วในการควบกิจการ Yahoo! Japan กับ Naver LINE Corp ผู้ให้บริการแอปพลิเคชั่นแชทรายใหญ่ เป็นบริษัทใหม่โดยทั้ง 2 ฝ่ายจะถือหุ้นเท่ากันร้อยละ 50

โดยทั้ง Naver LINE Corp และ Softbank จะถือหุ้นเท่ากันที่ร้อยละ 50 ซึ่งผลจากการควบรวมกันครั้งนี้คือการก้าวไปอีกขั้นในด้านการชำระเงินด้วย QR code ทำให้ญี่ปุ่นก้าวสู่สังคมไร้เงินสดได้ชัดเจนยิ่งขึ้นโดย PayPay ของ SoftBank ได้มีผู้ใช้งาน19 ล้านคนแล้วด้วยแผนการตลาดเชิงรุก ส่วน Line Pay มีผู้ใช้งานกว่า 82 ล้านคน ซึ่งเป็นผลมาจากที่คนญี่ปุ่นใช้แอปพลิเคชั่น Line กันมากนั่นเอง

51

ภาพจาก bit.ly/2OC7nwY

อีกทั้งยังเป็นการรวมบริการที่มากกว่า 100 ล้านรายนั้น สามารถสร้างแพลตฟอร์มขนาดใหญ่ โดยให้บริการตั้งแต่ เรื่องการเงิน การค้าขาย การโทรคมนาคมและอื่นๆ อีกมากมาย รวมถึงการรวมตัวครั้งนี้จะกลายเป็นคู่แข่งขนาดใหญ่ ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าจีนหรือสหรัฐอเมริกา ซึ่งปัจจุบันประเทศญี่ปุ่นญี่ปุ่นมีความพยายามที่จะแข่งขันบนสนามเศรษฐกิจดิจิทัลมาโดยตลอด

แต่ LINE ซึ่งแม้จะเป็นธุรกิจรายใหญ่แต่ก็พบปัญหาใหญ่เช่นกันนั่นคือ ไม่สามารถสร้างผู้ใช้งานรายใหม่ ๆ ได้มากนัก เมื่อนำไปเทียบกับพวก Facebook, Twitter หรือ IG การควบรวมครั้งนี้ยังหวังที่จะกลายเป็น SuperApp อย่างที่บริษัท Tencent ของแจ๊คหม่าประสบความสำเร็จอย่างสูงได้กลายกลายเป็นแพลตฟอร์มแบบครบวงจรซึ่งมีผู้ใช้งานมากกว่า 1 พันล้านคนทั่วโลกอาทิ WeChat, อีคอมเมิร์ซและแพลตฟอร์มชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์, บริการสตรีมมิ่ง, เจ้าของเกมดังระดับโลกต่างๆ เป็นต้น

และการควบกิจการดังกล่าวจะดำเนินงานไปบนพื้นฐานของความเท่าเทียม ซึ่งพร้อมที่จะเอาชนะการแข่งขันอย่างรุนแรงทั้งในญี่ปุ่นและตลาดโลก โดยให้ความสำคัญในการขายตัวด้านปัญญาประดิษฐ์ พาณิชย์ ฟินเทคและการโฆษณา

เกร็ดความรู้

50

ภาพจาก on.mktw.net/2DgcOw8

  • Yahoo ยังคงแข็งแกร่งในตลาดญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก และ Yahoo Japan เป็นของ Softbank ที่แทบไม่เกี่ยวกับ Yahoo ในอเมริกาแล้ว
  • Z Holding ก็คือบริษัทที่มีบริษัทลูกมาควบรวมกับ Netdesign ในไทยที่หลายคนอาจเคยได้ยิน Hosting ในชื่อ Z.com
    นี่คือกระแสที่เริ่มทำให้เรามองเห็นว่าในปี 2563 การทำธุรกิจไม่ใช่เรื่องง่ายๆ หลายแบรนด์ดังมีการขยับตัวล่วงหน้า ปัจจัยการอยู่รอดของหลายแบรนด์ถ้าไม่ทุ่มงบลงทุนพัฒนาการตลาดดิจิทัล ก็เลือกเปลี่ยนสนามรบให้เป็นสนามการค้า จับมือเป็นพันธมิตรเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น

เช่นเดียวกับที่ SCG และบุญถาวร ได้ประกาศโมเดลใหม่ร่วมกันในชื่อ “SCG Home บุญถาวร” ที่เพิ่มมิติใหม่ดึงดูดลูกค้าเข้ามาใช้บริการได้มากขึ้น หรือแบรนด์ดังระดับโลกอย่าง Louis Vuitton ที่คู่กับแบรนด์ที่มีภาพลักษณ์สดใสร่าเริงอย่าง SUPREMEหรือแม้แต่ H&M ก็ยังมาร่วมมือกับ Balmain เป็นต้น


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/37zRJe6

ขอบคุณข้อมูล reut.rs/33hw4Uw , s.nikkei.com/35thURU , tcrn.ch/2KRQflE

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด