เพื่อชีวิตที่ดีของคนไทย ต้องมีรายได้เท่าไหร่?! กระแสดัง Pantip

ในยุคเศรษฐกิจฝืดเคืองเช่นนี้ การประกอบอาชีพเพื่อหาเลี้ยงปากท้องอาจจะเป็นไปด้วยความยากลำบากอยู่บ้าง ประกอบกับหลายคนอาจจะเห็นกันว่ายังมีความเหลื่อมล้ำทางรายได้อยู่มาก

อีกทั้งค่าครองชีพก็สูงขึ้นกว่าแต่ก่อนจนน่าใจหาย เมื่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจยังเป็นอยู่เช่นนี้ แน่นอนว่าผู้คนก็เริ่มตั้งคำถามกับเหตุการณ์ดังกล่าวนี้เพราะทั้งหมดล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของพวกเขา

ต้องมีรายได้เท่าไหร่

จนกระทั่งในที่สุด ก็มีผู้ใช้งานพันทิปรายหนึ่งมาตั้งกระทู้เกี่ยวกับรายได้ของคนไทยว่า “คนไทย ควรจะมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนเข้ากระเป๋า เดือนละเท่าไหร่ ถึงจะจัดว่า อยู่ดีมีเงินใช้สบายมือ” (https://pantip.com/topic/39291071) ที่ตั้งคำถามว่าจริงๆ แล้วคนไทยควรจะมีรายได้ประเท่าไหร่ ถึงจะพอใช้จ่ายได้อย่างไม่ลำบาก ให้คุณภาพชีวิตของคนไทยเทียบเคียงกับประเทศที่พัฒนาแล้ว

95

94

และมีผู้ใช้งานพันทิปอีกหลายรายเข้ามาแสดงความคิดเห็น ความคิดเห็นเหล่านั้นมีหลากหลาย แต่สิ่งหนึ่งที่ความคิดเห็นเหล่านั้นแสดงให้เห็นออกมา ก็คือคนไทยยังมีภาระมากน้อยแตกต่างกันออกไป แต่โดยรวมแล้วค่าใช้จ่ายต่อเดือนของหลายๆ คนนั้นก็นับว่าไม่น้อยเลยทีเดียว เรียกง่ายๆ ก็คือค่าครองชีพของคนไทยนั้นสูงไม่ใช่เล่นเลยทีเดียว

93

ภาพจาก TrueID Travel

แต่ข้อเท็จจริงอีกอย่างหนึ่งก็คือ ในขณะที่ค่าครองชีพสูง แต่กลับไม่ใช่ทุกคนที่จะมีรายได้สูง หรือได้รับคุณภาพชีวิตที่ดีเท่าที่เหมาะสมแก่ค่าครองชีพ บางคนมีโอกาส และมีคุณภาพชีวิตที่ดีเพราะมีปัจจัยหลายๆอย่างที่เกื้อหนุน

แต่ปัจจัยในชีวิตบางคนก็ไม่ได้เอื้ออำนวยขนาดนั้น และนั่น จึงเกิดเป็น “ความเหลื่อมล้ำ” ขึ้นมา ซึ่งความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นมานี้ก็ทำให้กลุ่มคนที่ไม่ได้ปัจจัยเอื้ออำนวยในชีวิตต้องดิ้นรนเพื่อที่จะทำให้ชีวิตของตัวเองนั้นดีขึ้น หากอยากจะมีปัจจัย 4 ที่พร้อมในชีวิตก็อาจจะต้องถึงขั้นเป็นหนี้เป็นสินกันไปบ้างก็มี

โดยข้อมูลเมื่อปลายปี 2561 จากธนาคารแห่งประเทศไทยได้เปิดเผยว่าประเทศไทยมีสัดส่วนของหนี้ครัวเรือนอยู่ที่ 78.6% ต่อจีดีพี อยู่อันดับ 3 ของเอเชียแปซิฟิก ซึ่งหนี้เหล่านี้ทำให้หลายครัวเรือนมีความเปราะบางทางการเงิน

92

ภาพจาก Swapgap

นอกจากนี้ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้เปิดเผยผลสำรวจสถานภาพแรงงานไทยว่า แรงงานไทยกว่า 86.2% ไม่มีเงินออม 65.2 ไม่มีอาชีพเสริม และอีกกว่า 95% ยังมีหนี้สินที่ต้องรับผิดชอบ ซึ่งเหตุผลของการกู้ยืมหนี้สินก็คือเพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน , ค่ารถ , ค่ารักษาพยาบาล

รวมไปถึงจ่ายค่าที่อยู่อาศัย และในด้านของเงินออมนั้นพบว่าบัญชีที่วงเงินไม่ถึง 10 ล้านบาทมีมากถึง 99.9% ของจำนวนบัญชีทั้งหมด และมีเงินฝากเฉลี่ยเพียง 47.2% ของวงเงินฝากทั้งหมด ในขณะที่บัญชีเงินฝากที่มีวงเงินเกิน 10 ล้านบาทขึ้นไป มี 0.1% ของจำนวนบัญชีทั้งหมด โดยบัญชีเหล่านั้นมีเงินฝากสูงถึง 52.8% ของวงเงินฝากทั้งหมด โดยทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำซึ่งแสดงออกมาในรูปของทรัพย์สินที่ไปกระจุกตัวอยู่ที่คนบางกลุ่มเท่านั้น

91

ภาพจาก bit.ly/2WjxoV5

ความเหลื่อมล้ำทางรายได้นี้ อาจส่งผลมากกว่าที่เห็นในยุคสมัยที่แทบทุกอย่างต้องใช้เงินเช่นนี้ คนที่มีฐานะ มีกำลังทรัพย์มากพอ ก็สามารถมีทุกอย่างได้ตามที่ต้องการ เช่น การศึกษา หรือคุณภาพชีวิตที่ดี แต่ในทางตรงกันข้าม

กลุ่มคนที่ไม่ได้มีกำลังทรัพย์มากขนาดนั้นก็คงยากที่จะมีทุกอย่าง บางครอบครัวยากจนถึงขั้นไม่มีเงินส่งลูกเรียน ส่งผลให้ขาดโอกาสที่จะได้รับการศึกษาที่จะนำไปพัฒนาคุณภาพชีวิต และทำให้คุณภาพชีวิตไม่ได้มีการพัฒนาขึ้นแต่อย่างใด

ทั้งหมดนี้อาจยังไม่มากพอที่จะตอบได้ว่าคนไทยควรมีรายได้เท่าไหร่จึงจะเรียกได้ว่า “มีคุณภาพชีวิตที่ดี” แต่สิ่งหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ก็คือรายได้ และคุณภาพชีวิตของคนไทยยังมีสิ่งที่เรียกว่า “ความเหลื่อมล้ำ” คอยเป็นอุปสรรคอยู่

ซึ่งคนที่มีฐานะดีก็สามารถที่จะรับสิ่งดีๆ พัฒนาคุณภาพชีวิตได้ตามที่ตัวเองต้องการในขณะที่เหล่าคนที่ไม่ได้มีฐานะก็อาจมีความยากลำบากในด้านนี้อยู่บ้าง และถ้าหากปัญหาดังกล่าวนี้ได้รับการแก้ไข ให้ทุกคนสามารถที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างเท่าเทียม คนไทยก็อาจจะมีชีวิตที่ดีได้ ไม่ว่าจะมีรายได้มากน้อยแค่ไหน


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ bit.ly/2E885O9

แหล่งที่มา