เทคนิค SMEs ต้องรู้ ปรับให้อยู่ สู้ให้รอด! ครึ่งปีหลัง 65

เหลืออีกไม่ถึง 6 เดือนจะเข้าสู่ปีใหม่ กว่า 6 เดือนที่ผ่านมาท่านต้องเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจอันเกิดจากหลายสาเหตุมารุมเร้ากับธุรกิจของท่าน ท่านได้วิเคราะห์ ถอดบทเรียนการดำเนินงานในรอบกว่า 6 เดือนของธุรกิจ ของท่านแล้วหรือยัง เพราะนับจากนี้ไปข้างหน้าท่านจะต้องพบเจอกับวิกฤตที่มาจากทั้งการถถอยทางเศรษกิจภาวะเงินเฟ้อที่เป็นระดับสากลและระดับประเทศ

การล้มละลายทางเศรษฐกิจของหลายประเทศในช่วงที่ผ่านมาเร็วๆ นี้ และยังจะมีตามมาอีก อย่ามองเป็นเรื่องไกลตัวเพราะความเป็นหมู่บ้านโลก ภาวะต่างๆ ย่อมมีผลกระทบต่อธุรกิจของเรามากน้อยแล้วแต่ความเกี่ยวข้องและการวางแผนรับมืออย่างไรท่านได้ทบทวนตัวเลขที่เกิดขึ้นจริงกับเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้เมื่อคราวทำแผนธุรกิจตอนต้นปีที่ผ่านมาหรือไม่

(หากท่านยังไม่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ ท่านต้องตั้งเป้าหมายของอีก 6 เดือนข้างหน้าได้แล้ว เพราะการทำอะไรโดยไม่มีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายก็ย่อมไม่สามารถวัดความสามารถในการทำงานได้ และจะทำให้ไม่สามารถต่อสู้กับความผันผวนที่กำลังก่อตัวขึ้นมาได้ และไม่อาจปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงให้การทำงานมีประสิทธิภาพประสิทธิผลได้)

เป้าหมายที่ท่านต้องตั้งไว้ ได้แก่

1. เป้าหมายการขาย

เทคนิค SMEs

เป้าหมายการขายนี้หมายถึงท่านจะขยายการขายสู่ช่องทางขายใด ท่านยังสามารถรักษาช่องทางขายเดิมไว้ได้เท่าไร และจะมีช่องทางการขายใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอีกเท่าไร รวมทั้งท่านสามารถรักษาลูกค้าเก่าในแต่ละช่องทางไว้ได้มากน้อยเท่าไร มีลูกค้าใหม่ๆ จากช่องทางใดบ้างเท่าไร ท่านต้องลงรายละเอียดให้ได้ว่าท่านจะต้องทำอะไรบ้างเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเหล่านั้น การกำหนดแต่ตัวเลขเป้าหมายแล้วไม่ได้ลงไปว่าจะทำอย่างไรก็ไม่ได้ทำให้เกิดผลอะไรเลย

การรักษาลูกค้าเก่านั้นท่านต้องใช้การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า (Customer Relationship, CRM) ด้วยการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกตัที่ใช้สินค้าหรือบริการ (User Experience, UX) W. Chan Kim และ Rence Mauborgne ได้แบ่งผู้ที่ยังไม่ได้เป็นลูกค้าของกิจการเป็น 3 กลุ่ม

คือกลุ่มผู้ที่กำลังจะเป็นลูกค้า หมายถึงกลุ่มของ ผู้ที่ต้องการและพร้อมจะซื้อหรือใช้บริการที่มีอยู่ แต่เขามองหาสิ่งที่ดีกว่าของที่มีอยู่แลัวในตลาด ท่านจะสื่อสาร ความต่างที่ดีกว่าของผลิตภัณฑ์ของท่านอย่างไรแม้มันดูเป็นสิ่งสามัญให้คนกลุ่มนี้รับรู้และมาเป็นลูกค้า กลุ่มผู้ที่ปฏิเสธที่จะเป็นลูกค้า

หมายถึงกลุ่มของผู้ที่ไม่ใช้หรือไม่สามารถซื้อหาสิ่งที่ตลาดปัจจุบันเสนอ (offer) ให้ได้เพราะรับข้อเสนอของตลาดนั้นไม่ได้หรือไม่ก็เกินขีดความสามารถของตน ความต้องการ (need) ของพวกเขาจึงได้รับการตอบสนองด้วยวิธีอื่น หรือไม่ก็ปฏิเสธไปเลย ท่านต้องดันหาดวามต้องการที่ซ่อนอยู่ (latent demand)ของเขาให้ได้

กลุ่มผู้ที่ยังไม่ได้เป็นลูกคำและตกสำรวจ คนกลุ่มนี้ถูกมองว่าไม่มีศักยภาพที่จะเป็นลูก หรือไม่ได้ถูกกำหนดให้เป็นตลาดเป้าหมาย เพราะความต้องการของพวกเขาและโอกาสทางธุรกิจกับคนกลุ่มนี้มักจะถูกสรุปว่าเป็นของตลาดอื่น เช่น แต่เดิมการขัดฟันให้ขาวเป็นบริการที่ทำได้ฉพาะทันตแพทย์เท่านั้น ไม่ใช่โดยบริษัทผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปากสำหรับผู้บริโภค จนมีผู้เห็นช่องทางว่าบริษัทสามารถให้บริการขัดฟันให้ขาวได้อย่างปลอดภัย คุณภาพสูง ต้นทุนต่ำ และไม่ขัดต่อกฎหมาย จึงเป็นโอกาสทางการตลาด ท่านลองนำแนวคิดนี้ไปกันหาลูกค้าให้เพิ่มขึ้น

2. เป้าหมายยอดขาย

19

ยอดขายเป็นที่ปรารถนาของทุกกิจการ สำหรับท่านที่ไม่เคยตั้งเป้าหมายยอดขาย อาจดูว่การทำเช่นนี้เป็นเรื่องยาก หรือคิดว่จะตั้งยอดขายได้ใกลัเคียงความเป็นจริงมากน้อยเพียงใด ในทางวิชาการพยายามคันดิดทฤษฎีเพื่อให้การพยากรณ์ยอดขายใช้ได้มากที่สุด

อย่างไรก็ตามในที่นี้เราหวังเพียงให้ท่านมีตัวเลขที่พอจะใช้ได้เพื่อการวางแผน แต่ก็ต้องทบทวนตัวเลขเดือนละหน วิธีอย่างง่ายคือ การคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของยอดขายในปีที่ผ่านมา เช่น พิจารณายอดขายของ 3 ปีที่ผ่านมาว่าในแต่ละเดือนของแต่ละปีนั้นมีการเปลี่ยนแปลงเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของปีที่ผ่านมา สำหรับยอดขายของเดือนกรกฎาคมถึงเดือนธันวาคม 2565เราสามารถพิจารณาว่ามีการเปลี่ยนแปลงในยอดขายของเดือนเดียวกันของปี 2562 -2564 อย่างไร แล้วลองนำมากำหนดเป็นยอดขายของ 6 เดือนสุดท้ายของปีนี้

วิธีพยากรณ์ยอดขายอย่างง่าย ๆ อีกวิธีหนึ่งคือการหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Averages) วิธีการนี้ลองทำดังนี้ใช้ตัวเลขผลรวมยอดขายตั้งแต่เตือนมกราคม 2565 ถึงเดือนมิถุนายน 2565 หารตัวย 6 ก็จะได้ประมาณการยอดขายของเดือนกรกฎาคม สำหรับของเดือนสิงหาคม เราก็จะใช้ผลรวมยอดขายตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนกรกฎาคม 2565 แล้วหารด้วย 6 เช่นนี้ไปเรื่อย ๆ

หรือเราอาจใช้ผลรวมยอดขายของเดือนกรกฎาคม 2564ถึงเดือนมิถุนายน 2565 แลัวหารด้วย 12 ก็จะได้ยอดขายของเดือนกรกฎาคม 2565 จากนั้นเพื่อหายอดขายของเดือนสิงหาคม ก็ใช้ผลรวมยอดขายของเดือนสิงหาคม 2564 ถึงเดือนกรกฎาคม 2565 แล้วหารด้วย 12 เช่นนี้ไปเรื่อย ๆ เช่นกัน

สำหรับท่านที่ต้องการความแม่นยำที่มากกว่านี้ หรือที่มีความรู้อยู่แลัวก็หาทบทวนวิธีการจากหนังสือพยากรณ์ยอดขาย หรือตามเว็บไซต์ทั่วไปได้ เพื่อให้สามารถนำยอดขายไปวิเคราะห์สำหรับการกำหนดแผนงานต่างๆ จะเป็นการตีที่ท่านต้องวางเป้าหมายยอดขายเป็นรายสินค้า รายช่องทางและรายลูกค้า ลองทำดูนะครับและเมื่อติดตามดูการปฏิบัติงานท่านจะเห็นผลดีของความย่งยากในการทำเช่นนี้

3. เป้าหมายด้านต้นทุน

18

ในการเข้าอบรมเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์กับเซนเซชาวญี่ปุ่น ท่านอาจารย์ได้บอกกับเรา (ผู้เข้าอบรม) ว่าที่ญี่ปุ่นจะไม่หยุดลดต้นทุนบริษัทต้องมีกิจกรรมเพื่อการลดต้นทุนอย่างต่อเนื่องเพราะต้นทุนจะต้องเพิ่มขึ้นโดยธรรมชาติจากภาวะเงินเฟ้อและต้นทุนแรงงานที่ต้องเพิ่มขึ้นทุกปี

ดังนั้นธุรกิจต้องมีสำนึกในการลดต้นทุนให้ได้ (เรื่องนี้ได้เคยกล่าวถึงบ้างแล้วในบทความ “เมื่อน้ำมันขึ้นราคา” ที่ใช้วิธีคิดของหลักโลจิสติกส์ในการลดต้นทุน ทั้งในเรื่องการจัดหา การผลิต การจัดการสินค้าคงคลัง การบริหารดลังสินค้า การวางแผนการกระจายสินค้า และการขนส่ง)

โดยทั่วไปเรามักจะคิดถึงวิธีการของต้นทุนมาตรฐานที่ประกอบด้วยต้นทุนค่าแรงงาน ต้นทุนวัตถุดิบ และค่าโสหุ้ย (OVerhead cost)การบริหารต้นทุนแรงงาน หลายท่านอาจละเลยต่อข้อกำหนดของกฎหมายแรงงานสัมพันธ์หรือกฎหมายคุ้มครองแรงงาน เพื่อจะได้ประหยัดต้นทุนด้านนี้ซึ่งเราไม่แนะนำ สิ่งที่ท่านต้องคิดลำดับแรกคือท่านได้คนที่ใช่มาเป็น

พนักงานสำหรับงานหลักหรือไม่ การรับพนักงานมาหนึ่งคนบริษัทต้องลงทุนในคนคนนั้นมีคำใช้จ่ายที่ผู้บริหารมักจะไม่ค่อยได้คิดถึง หลายกิจการจึงละเลยที่พัฒนาพนักงานที่มีความสามารถสูง (talent) เขาลืมคิดไปว่าการลงทุนในการเพิ่มศักยภาพคนแล้วคนผู้นั้นจะสร้างประโยชนีให้เกิดกับบริษัทได้ มีผลงานที่มากขึ้นการกำหนดเวลามาตรฐานการทำงาน หรือการบริหารเวลาการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ย่อมทำให้ไม่เกิดเวลาที่เสียเปล่าซึ่งจะทำให้เพิ่มผลผลิตและเป็นการลดต้นทุนวิธีหนึ่ง บ่อยครั้งที่บริษัทเสียเวลาเปล่ากับการประชุมที่ไม่ได้สร้างผลงาน

บริษัทจึงควรกำหนดวาระการประชุมและควบคุมเวลาในการประชุมที่มีประสิทธิภาพปัจจุบันหลายหน่วยงานได้มอบหมายงานที่ไม่ใช่งานหลัก งานสำคัญหรืองานที่ตนเองไม่ถนัดไปให้หน่วยงานอื่นภายนอกเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งทำให้บริษัทได้งนโดยที่ไม่ต้องรับผิดชอบต่อชีวิตของพนักงานที่จะเพิ่มขึ้นเพื่อการทำงานนั้น

นอกจากนี้การหาจำนวนของพนักงานที่เหมาะสมต่องานหนึ่ง ๆ เป็นสิ่งที่บริษัทต้องพยายามกำหนดให้ได้เพื่อควบคุมต้นทุนอย่างหนึ่งเป็นการสร้างประสิทธิภาพของบริษัทท่านอาจต้องทบทวนการจัดรูปแบบขององค์การของท่านว่ามีหน่วยงานใดที่ซ้ำซ้อน หรือมีพนักงานที่ทำงานซ้อนทับกัน หรือมีกระบวนการทำงานที่ไม่กระชับจนเกิดประสิทธิภาพอยู่หรือไม่

สำหรับเรื่องของวัตถุดิบได้กล่าวไว้แล้วในเรื่องการจัดหาจากบทความที่แล้ว ส่วนค่าโสหุ้ยนั้นเราได้จัดสรรต้นทุนอย่างถูกหลักการบัญชีหรือไม่ฝากคำถามสำหรับเรื่องต้นทุนคือ เราต้องทำอะไร เราต้องทำที่ไหน และเราต้องทำอย่างไร

4. เป้าหมายด้านการตลาด

17

นอกจากเป้าหมายด้านยอดขายแล้วการตลาดยังมีเป้าหมายอีกหลายประการเช่น เป้าหมายในการขยายการรับรู้ของแบรนด์ (Brand Awareness) การเปลี่ยนคนที่สนใจ (Qualified Lead)ให้กลายเป็นลูกค้า การทำ AVB Testing การใช้การตลาดดิจิทัล การใช้ประโยชน์จากการใช้การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ การเพิ่ม Traffic บนเว็บไซต์ การมีส่วนร่วมของลูกค้า การเพิ่มโอกาสในการขายบนเว็บไซต์ความถี่ในการโพสต์คอนเทนต์ เป็นต้น ท่านต้องกำหนดเป้าหมายต้านการตลาดเพื่อจะได้สร้างกิจกรรมด้านการตลาดให้บรรลุเป้าหมายนั้นๆ

5. เป้าหมายด้านการเงิน

15

ในสภาวะที่ผู้บริโภคมีเงินแต่ระมัดระวังการใช้เงินมากขึ้นในขณะนี้ ธุรกิจต้องมีวินัยทางการเงิน การรักษสภาพคล่อง การคำนึงถึงกระแสเงินสดรับ-จ่ายเป็นสิ่งจำเป็น ต้องมีการวางแผนสำรองทางการเงินเช่นไร บางกิจการอาจต้องลองคิดดูว่าถ้าไม่มีเงิน (รายได้) เข้าเลย แต่มีรายจ่ายประจำทุกเดือนกิจการจะอยู่ได้กี่เตือน หรือถ้ามีรายได้เข้ามา 25%, 50%, 75% ของที่คาดหมายไว้ กิจการจะอยู่ได้กี่เดือน แล้วกิจการจะมีแผนรับมือทางการเงินในสภาพเช่นนี้อย่างไร

จะมีแหล่งเงินทุนเพิ่มเข้ามาจากที่ใด การเจรจาขอยืดอายุการชำระหนี้เป็นสิ่งที่ต้องทำหรือไม่ แต่กับพนักงานนั้นท่านต้องดูแลให้เขาได้รับผลตอบแทนที่เขาควรจะได้เพราะเขาคือกำลังสำคัญในการทำธุรกิจของท่าน เช่นนี้ธุรกิจของท่านจึงจะเดินหน้าต่อไปได้สำหรับธุรกิจที่มีแหล่งเงินมาจากการกู้ยืมก็ต้องเตรียมตัว เพราะธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศแล้วว่าจะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อในประเทศเช่นนี้

ต้นทุนด้านการเงินของธุรกิจก็จะต้องเพิ่มขึ้น 4 ไม่เพียงเท่านี้การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนั้นย่อมกระทบต่อหนี้ครัวเรือน ซึ่งจะทำให้กำลังซื้อของประชาชนลดลงอุปสงค์ในสินค้าต่างๆ จะหดหาย เราจะขายของได้ยากขึ้น ผู้บริโภคจะระมัดระวังการใช้จ่ายเพราะต่างก็ไม่มั่นใจในเสถียรภาพทางของเศรษฐกิจ เป้าหมายกำไรต้องเปลี่ยนไปเป้าหมายกำไรเป็นสุดยอดของความต้องการของทุกกิจการ

เพื่อความอยู่รอดและการเติบโตของกิจการ กำไรเป็นผลต่อของรายได้กับต้นทุน บ่อยครั้งที่มีการตั้งเป้าหมายกำไรเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของปีที่ผ่านมา เช่น เป็น 5%.10%, 15% เป็นต้น การทำเช่นนี้เป็นเหมือนพิธีกรรมคือตั้ง ๆ ขึ้นมาเพราะคิดว่าต้องเป็นการตั้งตามรูปแบบแท้จริงแล้วเราควรต้องนำเป้าหมายยอดขายและเป้าหมายต้นทุนมาพิจารณาร่วมกันเพื่อกำหนดเป้าหมายกำไร

ไม่ใช่เป็นเพียงตัวเลขการตั้งเป้าหมายที่มีแต่ตัวเลขไม่อาจทำให้กิจการของท่านเดินหน้าต่อไปได้ ท่านต้องคิดว่าท่านต้องทำอะไรบ้างเพื่อให้บรรลเป้าหมาย จะให้ใครบ้างมาช่วยทำงานที่กำหนดไว้ ต้องมีการประสานงานกันเช่นไรเพื่อให้งานมีประสิทธิภาพ เกี่ยวข้องกับหน่วยงานภายนอกหรือไม่ทำอย่างไรจึงจะได้ความร่วมมือที่ดี ต่าง ๆ เหล่านี้ท่านต้องวางแผน หลาย ๆ ท่านบอกกับผมว่ไม่เคยคิดถึงความจำเป็นในการวางแผน

งานประจำวันก็ยุ่งมากพออยู่แล้วมีบางท่านได้มาเล่าให้ฟังว่าเพราะการวางแผนทำให้เขาต้องคิดทบทวนสิ่งต่ำง ๆ ตามรูปแบบของการวางแผนเขาจึงรู้ว่าเขากำลังจะขาดทุน เพราะว่ากำไรของเขานั้นลดลงทุกปีจนเมื่อพิจารณาถึงแนวโนัมที่ผ่านมาปีถัดไปเขาต้องขาดทุนอย่างแน่นอน เมื่อเห็นดังนี้ทำให้เขาต้องรีบประชุมทีมงานและวางแผนเพื่อพัฒนางานให้หลุดจากแนวโนัมการขาดทุน และก็ทำได้สำเร็จ

การวางแผนธุรกิจที่มีสอนกันในสถาบันการศึกษานั้นมีลักษณะที่เต็มรูปแบบอาจไม่เหมาะกับธุรกิจ SMEs แต่เราสามารถนำหลักคิดนั้นมาย่อขนาดให้เหมาะสมกับธุรกิจของเราได้ สิ่งที่สำคัญคือท่านต้องเห็นถึงความจำเป็นและประโยชน์ที่จะได้จากการวางแผนธุรกิจเสียก่อน อีกทั้งต้องให้เวลาของตนเองและทีมงานเพื่อจัดทำแผนธุรกิจที่สามารถใช้งานได้จริง ๆ ซึ่งจะทำเช่นนั้นได้ต้องมีการรวบรวมข้อมูลสำหรับการดิดวิเคราะห์ ท่านมีข้อมูลเหล่านั้นอยู่แล้วแต่ไม่เคยนำข้อมูลนั้นมาใช้

20

ปัจจุบันนี้ข่าวเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยี และบทวิเคราะห์ต่างๆ นั้นมีอยู่เต็มไปหมดบนสื่อสังคมออนไลน์ทั้งที่เป็นบทความและคลิป ท่านต้องเลือกที่จะเชื่อด้วยตนเองโดยอาจมาจากพื้นความรู้เดิมหรือรวมทั้งการพูดคุยแลกเปลี่ยนกับผู้อื่น

แล้วนำมาพิจารณาว่าน่จะมีอะไรบ้างที่มีผลกระทบกับวงการธุรกิจอย่างที่เราอยู่นี้ผู้บริโภคและลูกค้ามีการเปลี่ยนแปลงในดัานใดบัางรวมทั้งแนวโนัมการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค การวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้บริโภคนั้นจะใช้พื้นความรู้แบบการตลาดดั้งเดิม (Tradition Marketing) นั้นไม่เพียงพอแล้ว ท่านต้องเข้าใจวัฒนธรรมพฤติกรรมดิจิทัลของผู้บริโภคด้วย

โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแบ่งผู้บริโภคเป็น GEN ต่างๆ นั้นเป็นสิ่งจำเป็น เพราะเขาเหล่านั้นมีความแปลกแยกของความต้องการและพฤติกรรมที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนการเข้าใจ Insight เขาเหล่านั้นจะทำให้เราวางแผนได้ดีขึ้นการวิเดราะห์คู่แข่งก็เป็นสิ่งที่ต้องกระทำเพราะการดำเนินงานของคู่แข่งย่อมต้องมีผลกระทบต่อธุรกิจของเราอย่างแน่นอน คู่แข่งที่ไม่ปรับตัวหรือไม่อาจต่อสู้กับวิกฤตย่อมจะหายไปจากวงการ โดยเราต้องจดบันทึกผลของปัจจัย

ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นซึ่งกระทบต่อวงการและตัวเราเองทั้งด้านดีและด้านเสียหายเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ สำหรับธุรกิจของเราเองนั้น เรารู้จักตัวเราเองดีแล้วหรือยังว่าเราขายอะไร ธุรกิจไม่ได้ขายลิปสติกแต่เขาขายความความสวยงาม แล้วเราหล่ะขายอะไร เราขายของให้ใครนั่นคือใครคือกลุ่มเป้าหมายของเรา เราไม่ได้พูดถึงเพียงแค่ว่าใครที่ซื้อของของเราแต่เรากำลังพูดรวมถึงผู้ที่นำจะได้ซื้อสินค้าเราด้วย

แปลว่าสินค้าของเราเหมาะกับใคร แล้วจึงมาที่เราจะขายอย่างไรนี่คือแผนปฏิบัติการ (Action Plan) เราต้องกำหนดกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องกระทำในทุกด้านที่เกี่ยวข้องกันโดยมีเวลาที่ต้องเริ่มต้นและสิ้นสุดของกิจกรรมนั้นในแต่ละกิจกรรม ใครบ้างที่ต้องรับผิดชอบในด้านใด มีผลที่ต้องการเป็นอะไร ใช้งบประมาณเท่าไร และเมื่อดำเนินงานแล้วต้องนำผลงานที่เกิดขึ้นจริงมาเปรียบเทียบเพื่อการปรับปรุงให้งานของเราดีขึ้น

14

เราพูดถึงเป้าหมายที่ท่านควรต้องตั้งขึ้นไว้สำหรับธุรกิจของท่านใน 6 เดือนสุดท้ายของปีนี้ ตัวเลขเหล่านี้ไม่ได้มาจากการกำหนดแบบลอยๆ ต้องมีที่มาที่ไป เราต้องเริ่มต้นจากการวิเคราะห์ภาพรวมมหภาคทั้งภาพรวมของโลกและภายในประเทศเราเองในทุกด้น ด้วยการรวบรวมจากแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ ข้อเท็จจริงด้านเศรษฐกิจสังคม การเมืองและเทคโนโลยีในขณะนี้ทำให้เราต้องตระหนักถึงผลที่กำลังจะมากระทบกับธุรกิจของเรา

ถ้าเราไม่วางแผนงานเพื่อรองรับแรงกระแทกในครั้งนี้ก็อาจทำให้เราชวนเซได้ แม้ว่าเราจะได้วางแผนแล้วก็ไม่มีใครที่จะรับประกันได้ว่าจะทำให้เรารับมือได้ทั้งหมด เพราะเราต้องเรียนรู้ว่าการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะแปรปรวนตลอดเวลา ทางที่ดีที่สุดนั่นคือต้องติดตามสถานการณ์ในลักษณะสัปดาห์ต่อสัปดาห์ และมีการปรับแผนอยู่เสมอโดยพิจารณาให้เหตุผลจากข้อเท็จจริงถึงผลต่างของข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงเมื่อเทียบกับเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ให้ได้

การทำธุรกิจนับจากวันนี้ไปจะยากลำบากมากกว่าช่วง 2 ปีกว่าของสถาการณ์การระบาดของโรคโดวิด-19 ที่ผ่านมา เพราะนอกจากผลของโควิดที่ยังมีมาต่อเนื่องและยังไม่จบแล้วยังมีปัญหาของภูมิรัฐศาสตร์ ระหว่างกลุ่มของสหรัฐอเมริกา เนโตั กับกลุ่มของรัสเซีย จีน ภาวะเงินเฟ้อทั่วโลกที่จะทำให้อัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น เพราะด้วยวิธีคิดการลดภาวะเงินเฟ้อของหลักการจัดการทางการเงินของธนาคารกลางตามหลักทฤษฎีเศรษฐตาสตร์กระแสหลัก

ซึ่งผู้ว่าการธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกาเองยอมรับว่การขึ้นดอกเบี้ยไม่สามารถจัดการกับปัญหาเงินเฟ้อได้จริงอาจต้องมีมาตรการอื่นออกมาอีก เศรษฐกิจถดถอยที่ธนาการกลางของหลายประเทศได้ออกคำเตือนให้สถาบันการเงินของประเทศเขาเตรียมรับมือแล้ว วิกฤตพลังงานและราคาอาหารที่แพงขึ้นทั่วโลกก็มีผลกับประเทศไทย

โดยเฉพาะราดาของปุ้ยที่แพงขึ้นมากทำให้เกษตรกรไทยขาดอำนาจซื้อ มีหนี้สินเพิ่มขึ้นก็ย่อมมีผลต่ออุปสงค์รวมด้วย simon Sinek ได้กล่าวถึงการทำธุรกิจที่ผู้นำอยู่ในเกมที่ไร้ขอบเขต (Ininite Game) จะทำให้ธุรกิจนั้นรอดพันจากการเปลี่ยนแปลงและสามารถพลิกโฉมตัวเองเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงด้วย บริษัทต้องอ้าแขนรับเรื่องที่ไม่คาดฝันและปรับตัวได้ตามนั้น ต้องยืดหยุ่นจึงจะหลุดรอดจากการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่

จึงหวังว่าท่านจะได้ตระหนักรู้ และเตรียมพร้อมรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

สำหรับท่านที่มีธุรกิจและอยากสร้างระบบแฟรนไชส์ หรือต้องการปรึกษาเรื่องการพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ให้เติบโตมากยิ่งขึ้น

คลิกรายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://bit.ly/33k6nZE
สนใจรับคำปรึกษาโทร.02-1019187, Line : @thaifranchise

วิทยากร : อ.สุชาติ กิติเฉลิมเกียรติ

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3PnGBGb

กองบรรณาธิการเว็บไซต์

ยินดีสนับสนุน SMEs ไทยทุกแบรนด์ ที่ต้องการสร้างความเข้มแข็ง อยากเรียนรู้ พัฒนาธุรกิจ ส่งเสริมความเข้าใจในการตลาด มีความคิดสร้างสรรค์ แบ่งปันเพื่อสังคม ต่อยอดธุรกิจ ให้ประสบความสำเร็จในอนาคต