ผู้ประกอบการ SMEs ต้องรู้! มาตรการกระตุ้นการลงทุนและการท่องเที่ยวในไทย

หลาย ๆ ท่านคงจะทราบกันดีว่าช่วงนี้เศรษฐกิจมีการชะลอตัว ความผันผวนในเศรษฐกิจโลกค่อนข้างสูง ซึ่งก็ส่งผลกระทบถึงบริษัทรายใหญ่ รายย่อย ซึ่งแน่นอนว่าทุก ๆ คนที่ทำธุรกิจอยู่ขณะนี้ต้องปรับตัวเพื่อให้รับมือกับความผันผวนดังกล่าวให้ได้

ไม่ว่าจะเป็นการปรับลดพนักงาน เปลี่ยนโครงสร้างองค์กร การตลาดต่าง ๆ เพื่อให้อยู่รอดและกระตุ้นกำไร รวมถึงเหล่าผู้บริโภคที่ก็ไม่กล้าจับจ่ายใช้สอยหรือออกไปเที่ยว เพราะกลัวปัญหาด้านการเงิน ทำให้แหล่งท่องเที่ยวหรือร้านค้าที่เคยคึกคักกลับซบเซาลง

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะพาคุณผู้อ่านไปดูมาตรการจากสำนักงานเศรษฐกิจกระทรวงการคลัง ปี 2562 ที่ออกนโยบายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและและบรรเทาภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อยและเกษตรกรรายย่อยให้สามารถดำรงชีพได้ในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว รวมถึงส่งเสริมการลงทุนของภาคเอกชนเพื่อสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี 2562

17

ภาพจาก bit.ly/320vqL2

ภายในมาตรการนี้นั้นประกอบด้วย 4 ด้านหลัก ได้แก่

  1. มาตรการบรรเทาค่าครองชีพผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและกองทุนหมู่บ้าน
  2. มาตรการเพื่อบรรเทาค่าครองชีพสำหรับเกษตรกรผู้ประสบภัยแล้ง ปี 2562 และเกษตรกรรายย่อย
  3. มาตรการเพื่อกระตุ้นการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศ
  4. แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

แต่วันนี้ www.ThaiFSMEsCenter.com จะกล่าวถึงข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการเพื่อกระตุ้นการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศเพื่อนำเสนอข้อมูลให้แก่คุณผู้อ่านได้ทราบกันก่อน

มาตรการเพื่อกระตุ้นการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศ

16

ภาพจาก bit.ly/2Zk0XKr

มาตรการเพื่อกระตุ้นการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศมาเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายในภาคการท่องเที่ยว และส่งเสริมการลงทุนของ SMEs และภาคเอกชนผ่านมาตรการทางการเงินและมาตรการทางภาษี โดยสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

3.1 มาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศ

15

ภาพจาก bit.ly/2Zk0XKr

“ชิมช้อปใช้” เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศ และสนับสนุนการใช้จ่ายผ่านระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์โดยภาครัฐ (g-Wallet) โดยผู้สนใจเข้าร่วมมาตรการจะต้องมีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปในวันลงทะเบียน และมีบัตรประจำตัวประชาชน สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการผ่านเว็บไซต์

ทั้งนี้ ผู้ที่ผ่านการลงทะเบียนจะได้รับสิทธิประโยชน์ 2 ส่วนด้วยกัน ได้แก่

14

ภาพจาก bit.ly/2zilUGW

  1. รัฐบาลสนับสนุนวงเงินจำนวน 1,000 บาท ต่อคน เพื่อเป็นสิทธิในการซื้อสินค้าและบริการจากผู้ประกอบการที่เข้าร่วมมาตรการโดยไม่สามารถถอนเป็นเงินสดได้
  2. หากผู้ลงทะเบียนเติมเงินเพิ่มเติมเพื่อใช้จ่ายค่าอาหารและเครื่องดื่ม ค่าที่พัก หรือค่าสินค้าท้องถิ่น จากผู้ประกอบการที่เข้าร่วมมาตรการ รัฐบาลจะสนับสนุนวงเงินชดเชยเป็นจำนวนเท่ากับร้อยละ 15 ของยอดชำระเงินที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 4,500 บาทต่อคน (วงเงินใช้จ่ายไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน) เพื่อเป็นการกระจายรายได้สู่ชุมชน ทั้งนี้ ในการซื้อสินค้าและบริการดังกล่าวจะต้องเป็นการใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” เพื่อซื้อสินค้าและบริการจากผู้ประกอบการที่รับชำระเงินด้วยแอปพลิเคชัน “ถุงเงิน”

3.2 โครงการสนับสนุน SMEs รายย่อย ผ่านกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

13

ภาพจาก bit.ly/2KWWeGc

โครงการสนับสนุน SMEs รายย่อย ผ่านกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมดำเนินการร่วมกับธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย

โดยมีวงเงินสินเชื่อรวม 10,000 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 ภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไข เพื่อสนับสนุน SMEs ทั่วไปให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน เสริมสภาพคล่องหรือลงทุนขยายกิจการ และสนับสนุน SMEs ในกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวและบริการเพื่อปรับปรุงซ่อมแซม ขยายกิจการ และยกระดับการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการให้บริการ

3.3 โครงการค้ำประกันสินเชื่อ Portfolio Guarantee Scheme

12

ภาพจาก bit.ly/2U1VAu8

โครงการค้ำประกันสินเชื่อ Portfolio Guarantee Scheme ระยะที่ 8 (PGS8) วงเงินค้ำประกันสินเชื่อ 150,000 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือ SMEs ที่ต้องการสินเชื่อจากสถาบันการเงินแต่มีหลักประกันไม่เพียงพอ

ระยะเวลาค้ำประกันสินเชื่อสูงสุดไม่เกิน 10 ปี ค่าธรรมเนียมค้ำประกันเฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 1.75 ต่อปี โดย บสย. จ่ายค่าประกันชดเชยเฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 30 และรัฐบาลจ่ายค่าธรรมเนียมแทนผู้ประกอบการเฉลี่ยไม่เกิน 2 ปี หรือร้อยละ 3.5 ของวงเงินค้ำประกัน

3.4 มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชน

11

ภาพจาก bit.ly/2Zk0XKr

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหักรายจ่ายเพื่อการลงทุนในเครื่องจักรได้ 1.5 เท่าของที่จ่ายจริง (หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา 1 เท่าตามปกติ และทยอยหักรายจ่ายส่วนเพิ่มอีก 0.5 เท่า โดยเฉลี่ยเท่ากันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี) สำหรับการลงทุนตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2562 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2563

นอกเหนือจากโครงการ/มาตรการสนับสนุนการลงทุนของ SMEs และการลงทุนของภาคเอกชนผ่านมาตรการด้านสินเชื่อ การค้ำประกันสินเชื่อ และมาตรการภาษีดังกล่าวข้างต้นแล้ว สถาบันการเงินของรัฐ ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารอาคารสงเคราะห์ ยังมีมาตรการสินเชื่อผ่อนปรนเพื่อสนับสนุน SMEs และที่อยู่อาศัย

เพื่อสนับสนุน SMEs ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้เพิ่มขึ้น เพื่อเสริมสภาพคล่องหรือลงทุนขยายกิจการ และสนับสนุนให้ประชาชนที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองในอัตราดอกเบี้ยที่ผ่อนปรน วงเงินรวม 100,000 ล้านบาท สำหรับสินเชื่อ SMEs และวงเงิน 52,000 ล้านบาท สำหรับสินเชื่อที่อยู่อาศัย

สำหรับมาตรการใหม่นี้ www.ThaiFSMEsCenter.com ก็เห็นว่าเป็นมาตรการที่น่าสนใจอย่างมาก เพราะประชาชนจะได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลคนละ 1,000 บาท

โดยสามารถใช้ได้กับร้านค้า แหล่งท่องเที่ยวที่ร่วมรายการในหัวเมืองใหญ่ ๆ ซึ่งก็เป็นส่วนกระตุ้นให้ประชาชนได้ออกมาท่องเที่ยว เพื่อให้รายได้กระจายสู่ท้องที่ ทำให้ภาคการท่องเที่ยวกลับมาคึกคักไม่ซบเซาแบบที่ผ่าน ๆ มา แถมยังมีมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs และผู้ประกอบการรายเล็กทั่วประเทศให้เข้าถึงเงินทุน

เพื่อให้เม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น และสร้างแรงส่ง (Momentum) ให้เศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี 2562 และปี 2563 ให้เติบเพิ่มสูงขึ้น


คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

01

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php

อ้างอิงข้อมูล
https://bit.ly/2HmzhKw