ปัจจัย 6 ประการ ที่นักธุรกิจใช้ตัดสินใจในการเลือกลงทุนกับแฟรนไชส์

ผู้ประกอบการที่ดีย่อมมีสัญชาติญาณในการตัดสินใจหรือมีไหวพริบที่เกิดจากประสบการณ์เพื่อดูว่า ธุรกิจแบบไหนที่เหมาะสมกับการลงทุน www.ThaiSMEsCenter.com เชื่อว่านักธุรกิจทุกคนย่อมไม่มีการลงทุนแบบเหวี่ยงแห แต่ทุกอย่างเกิดจากการกลั่นกรองว่าน่าสนใจไม่เว้นแม้แต่เรื่องของแฟรนไชส์ถ้ามีตัวไหนน่าสนใจนักธุรกิจเหล่านี้จะไม่ลังเลที่จะเดินหน้าไขว่คว้าโอกาสเพื่อสร้างกำไรในทันที และ ปัจจัย 6 ประการ ต่อไปนี้คือหลักสังเกตของนักธุรกิจในการจะเลือกลงทุนกับแฟรนไชส์ที่เหมาะสม

1.มองที่การเติบโตของอุตสาหกรรมนั้นๆ

ปัจจัย 6 ประการ

จากการศึกษาโดยสมาคมแฟรนไชส์นานาชาติ(IFA) มีการวิเคราะห์ว่าธุรกิจแฟรนไชส์ในปี 2016 นั้นมีโอกาสสร้างมูลค่าทางการตลาดทั่วโลกได้สูงถึง 552,000,000,000 ล้านเหรียญสหรัฐ สูงกว่าปีที่ผ่านมาซึ่งมีมูลค่า 523,000,000,000 ล้านเหรียญสหรัฐ แน่นอนว่านี่คือตัวเลขที่นักธุรกิจเองต้องมาแยกย่อยลงไปว่ามีธุรกิจตัวไหนที่ทำกำไรได้อย่างสูงสุด

ซึ่งรูปแบบของแฟรนไชส์เองมีตัวเลือกค่อนข้างหลากหลายนอกจากการเติบโตทางอุตสาหกรรมแล้วสิ่งที่มาควบคู่กันคือความเหมาะสมในการเลือกทำเลสำหรับการขายนักธุรกิจจะต้องมองหาสถานที่ซึ่งดึงดูดลูกค้าได้เป็นอย่างดี

หรือไม่ก็คาดคะเนถึงอุปสงค์อุปทานในพื้นที่นั้นๆ อาจจะไม่ใช่แฟรนไชส์ทั่วโลกนิยมแต่ถ้าในบริเวณนั้นนิยมมองแล้วว่ามีกำไรนักธุรกิจก็ไม่ลังเลที่จะเดินหน้าทำสัญญากับแฟรนไชส์ได้ในทันที

2.ต้องสามารถหาบุคลากรที่มีคุณภาพในการเปิดดำเนินกิจการได้

r28

การทำธุรกิจคือการลงทุนทั้งในเรื่ององค์กรและบุคลากร แฟรนไชส์ของนักธุรกิจส่วนใหญ่ไม่นิยมลงมือทำเองเพราะนี่คือการลงทุนที่อาจจะมีหลายกิจการควบคู่กันไป ในมุมมองของนักธุรกิจจำเป็นต้องหาบุคลากรที่มีประสิทธิภาพในการเข้ามาบริหารจัดการธุรกิจ

จากข้อมูลที่ผ่านมาการจ้างงานในส่วนที่เกี่ยวกับแฟรนไชส์มีอัตราเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบกับปี 2015 นั้นหมายความว่าแฟรนไชส์มีการเติบโตที่ดีและนักธุรกิจก็หันมาลงทุนในส่วนนี้มากขึ้นเท่ากับเป็นการแข่งขันด้านคุณภาพที่ผู้ลงทุนก็ต้องหาคนที่มีศักยภาพเพื่อมาช่วยบริหารกิจการนั้นๆให้เจริญรุ่งเรือง

3.ตัวเลขของอัตราค่าจ้าง

r30

การคำนวณของนักลงทุนทั้งหลายต้องเอาปัจจัยรอบด้านมาคิดเริ่มตั้งแต่สถานการณ์ของธุรกิจนั้นๆ ทิศทางของตลาด คู่แข่งที่สำคัญ การวางแผนโฆษณาประชาสัมพันธ์ สุดท้ายคืออัตราค่าจ้าง ทุกอย่างคือต้นทุนที่คำนวณรวมกัน

นี่อาจจะเป็นปัญหาของนักลงทุนที่น่าสนใจหลังการออกกฏหมายแรงงานฉบับใหม่ที่กำหนดให้มีค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มขึ้น ก็ต้องเป็นการดีดตัวเลขดูว่าปัจจัยทุกอย่างที่มารวมกันผลลัพธ์ที่ได้มีกำไรหรือไม่อย่างไร จุดไหนที่จะปรับให้ลดต่ำลงได้ ซึ่งค่าแรงกลายเป็นตัวผันแปรที่นักลงทุนอาจจะกำหนดตามความสามารถ

แต่ทั้งนี้ก็ต้องอยู่ที่พื้นที่ด้วยเช่นกันถ้าในบริเวณนั้นเป็นจุดที่คนมีการศึกษาสูงหรือมีการแข่งขันสูงอัตราค่าจ้างก็ต้องผันแปรตามไป นักลงทุนก่อนคิดทำธุรกิจใดๆ ก็ต้องมองเรื่องนี้ให้ลึกซึ้งเช่นกัน

4.ความต้องการที่หลากหลายในพื้นที่บริการ

r31

หมายถึงเรื่องของการตลาดซึ่งเป็นคีร์เวิร์ดของธุรกิจ หลายคนอาจจะวิเคราะห์แค่ว่าพื้นที่นั้นๆมีความต้องการสินค้าที่จะลงทุนขายมากน้อยแค่ไหน

แต่ในความเป็นจริงเราอาจจะต้องมองถึงความหลากหลายของความต้องการเพื่อให้กิจกรรมทางด้านการประชาสัมพันธ์นั้นสอดคล้องกับการดำเนินชีวิต สินค้าบางอย่างอาจถูกใจคนบางกลุ่มแต่ไม่เป็นที่พอใจของอีกกลุ่ม

วิธีการประชาสัมพันธ์ที่มุ่งเน้นเอาใจคนต้องการสินค้าอาจไม่เป็นที่พอใจของคนที่ไม่ต้องการ นี่คือเรื่องละเอียดอ่อนที่นักวิชาการตลาดเองก็มองว่า “เราต้องรู้จักยืดหยุ่นและเข้าใจสภาพสังคมดีพอ”( We must be flexible and understand the social good) นักลงทุนที่ดีต้องให้ความสำคัญกับทุกรายละเอียดเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาที่ต้องมาตามแก้ในภายหลัง

5.การสร้างเครือข่ายพันธมิตรที่ความแข็งแรงทางธุรกิจ

r32

นักลงทุนส่วนมากจะมองหาโอกาสที่จะกระจายความเสี่ยงหรือเสริมสร้างความมั่นคงให้กับธุรกิจได้ดีที่สุด วิธีหนึ่งที่มองกันคือการสร้างพันธมิตรในพื้นที่ ก่อนการตัดสินใจใดๆสิ่งที่ต้องสำรวจคือในบริเวณที่เราสนใจมีพันธมิตรไหนที่น่าจะเป็นผลดีกับธุรกิจที่เราจะลงทุน

การรู้จักกับพันธมิตรที่ดีย่อมทำให้โอกาสขยายตัวของธุรกิจเติบโตได้เร็วขึ้นเหมือนเป็นการอาศัยฐานของคนเก่าคนแก่เพื่อต่อยอดให้คนในพื้นที่รู้สึกถึงพลังในการทำธุรกิจที่สร้างการรับรู้ได้รวดเร็วขึ้น

นี่คือจุดเล็กๆที่เป็นเทคนิคระดับโลก การสร้างองค์กรหรือธุรกิจที่ยืนอย่างโดดเดี่ยวโอกาสสำเร็จแม้จะพอมีแต่ปรัชญาของการลงทุนคือ “รวดเร็ว และว่องไว” ทุกวินาทีที่เราช้าอาจโดนแซงหน้าจากคนที่มีการตลาดดีกว่าเราได้เสมอๆ

6.โอกาสของการพัฒนาต่อยอดในอนาคต

r33

เป็นเรื่องของมุมมองระยะไกลหรือจะเรียกว่าวิสัยทัศน์ในการดำเนินธุรกิจก็ว่าได้ หลายสิ่งที่นำมาเป็นปัจจัยตัดสินใจส่วนใหญ่คือเรื่องปัจจุบันแต่สิ่งที่เป็นอนาคตคือแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงในธุรกิจนั้นในวันที่สังคมมีการเปลี่ยนไป นักลงทุนต้องคาดคะเนได้ล่วงหน้าว่าธุรกิจแฟรนไชส์จะปรับเปลี่ยนตัวเองอย่างไรได้บ้าง

อะไรก็ตามที่ดูว่าตีบตันไม่สามารถพัฒนาอะไรได้ ก็มักจะถูกมองข้ามไป ทั้งนี้อาจเป็นเรื่องของระบบแฟรนไชส์ที่นักลงทุนมองว่าจะยืดหยุ่นอย่างไรได้ในอนาคต นักลงทุนคนไหนที่มองสิ่งเหล่านี้อย่างทะลุปรุโปร่งโอกาสเสี่ยงจะมีน้อยแต่โอกาสเพิ่มกำไรมีมากทุกอย่างเป็นเรื่องของวิสัยทัศน์และประสบการณ์ล้วนๆ

r35

ถ้าเรามองจากสายตาคนปกติคงคิดว่าเป็นเรื่องน่าวุ่นวายกับการจะทำธุรกิจใดๆสักอย่างต้องมาวิเคราะห์เจาะลึกกันให้มากมายแต่ในสายตานักธุรกิจแล้วทุกอย่างต้องประเมินให้ห่างจากความเสี่ยง

ตัวไหนที่ดีนักธุรกิจโดยสายเลือดจะไม่รอช้าที่จะไขว่คว้าแต่ในทางกลับกันสิ่งไหนที่ดูว่าจะไม่เข้าท่านักธุรกิจก็จะไม่สนใจใยดีเช่นกัน เรื่องราวทั้งหมดนี้เป็นทั้งศาสตร์แข็งและศาสตร์อ่อนที่เราคงไม่เข้าใจจนกว่าจะเดินเข้ามาในแวดวงนี้บางทีการเรียนรู้ด้วยลงสนามจริงมีค่ากว่าการอ่านตำรานับร้อยเล่มทีเดียว

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3dpvgDW

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด