กำเนิดแบรนด์แฟรนไชส์ระดับโลก ตอน Auntie Anne’s

Auntie Anne’s กำเนิดจากสตรีอเมริกันชาวรัฐเพนซิลเวเนียคนหนึ่ง ที่ไม่เคยรู้วิธีทำ เพรทเซล มาก่อน จากแม่บ้านที่มีความรู้แค่เกรด 8 เป็นโรคซึมเศร้า ต่อสู้กับความรู้สึกหดหู่ของตัวเองเพื่อให้ผ่านไปแต่ละวันอย่างยากลำบาก 

แอน ไบเลอร์ ไม่คาดคิดหรอกว่าตัวเองจะก้าวไกลขนาดสร้างแฟรนไชส์ขนมเพรทเซลที่ใหญ่ที่สุดในโลกโดยมี 1,200 สาขา ใน 26 ประเทศ ทำรายได้กว่า 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี

เธอผู้ให้กำเนิดแบรนด์ Auntie Anne’s ได้รับเชิญไปสัมภาษณ์ตามสื่อต่างๆ และได้รับรางวัลมากมาย เช่น ผู้ประกอบการแห่งปี และสุดยอด 500 นักธุรกิจของอเมริกา เป็นต้น

เรื่องราวที่น่าเอ็นดูคือ วันที่เธอได้รับประกาศนียบัตรจบการศึกษานอกโรงเรียน (ระดับมัธยมปลาย) ตอนที่มีอายุ 50 ปี เป็นช่วงเดียวกับที่เธอได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ แม้จะปลื้มปริ่มกับความสำเร็จในการทำธุรกิจ แอนเชื่ออย่างแรงกล้าว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นพระประสงค์ของพระเจ้า

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com ไม่รอช้าที่จะพาคุณผู้อ่านไปย้อนดูจุดกำเนิดของ Auntie Anne’s จนกลายมาเป็นแบรนด์แฟรนไชส์ระดับโลก ได้รับความนิยมไปทั่วโลก ก่อนที่ CRG เครือเซ็นทรัลจะซื้อแบรนด์แฟรนไชส์เข้ามาในไทย

จุดเริ่มต้นของแฟรนไชส์ Auntie Anne’s

ss21

ภาพจาก goo.gl/YDpykT

Auntie Anne’s เจ้าตำรับเพรทเซล ขนมปังอบรูปไขว้จากอเมริกา แม้จะไม่เปรี้ยงป้างแบบเดินไปซอกมุมไหนก็เจอ แต่ก็จัดว่าเป็นร้านที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเพราะขายเพรทเซลอย่างเดียว แต่มีหลากหลายแบบให้เลือก

ที่น่าสนใจ คือ ตั้งแต่ถือกำเนิดขึ้นมา ภายในช่วงไม่ถึง 20 ปี ‘Auntie Anne’s’ สามารถขยายสาขาไปกว่า 850 แห่งใน 43 รัฐ และ 13 ประเทศทั่วโลก เฉพาะในไทยเติบโตคืบคลานถึง 46 สาขาแล้ว

Auntie Anne’s มีความคล้ายคลึงกับหลายธุรกิจ ตรงที่มีจุดกำเนิดมาจากความต้องการหารายได้เสริม ย้อนกลับไปเมื่อปี 2530 แอน ไบเลอร์ แม่บ้านชาวอเมริกันตามโจนาสสามี ที่ไปเปิดบูทที่ตลาดเกษตรกร เมืองดาวนิ่งทาวน์ รัฐเพนน์ซิลเวเนียเพื่อให้คำปรึกษาปัญหาครอบครัวและชีวิตคู่

อันเป็นกิจกรรมที่โจนาสทำเพื่อบริการชุมชนโดยไม่คิดสตางค์ ไหนๆ ก็ต้องไปแกร่วรอสามีอยู่แล้ว ป้าแอนจึงฆ่าเวลา โดยตั้งแผงขายสแน็คหรืออาหารว่าง โดยมีเพรทเซลเนื้อนุ่มหอมกรุ่นที่เธออบเองกับมือวางขายอยู่ด้วย

ss222

ภาพจาก goo.gl/4qlDjq

วันหนึ่งเพรทเซลที่เธอทำออกมาไม่ได้ดังใจ เนื่องมาจากส่วนผสมที่ผิดเพี้ยนไปจากเดิม หลังลองถูกลองผิดอยู่หลายครั้ง และสามีแนะนำให้เพิ่มส่วนผสมบางอย่างเพิ่มเข้าไป ปรากฏว่า โป๊ะเชะ! มันกลับกลายเป็นเพรทเซลสูตรใหม่ ที่รสชาติดีที่สุดเท่าที่ป้าแอนเคยทำมา

เหล่าลูกค้าการันตีด้วยการร่ำร้องหาเพรทเซลป้าแอนกันเป็นแถว แถมยังบอกกันปากต่อปากปานไฟลามทุ่ง ตั้งแต่นั้นมา ป้าแอนจึงเลิกขายสแน็คอื่นแล้วหันมาตั้งหน้าตั้งตา อบเพรทเซลขายอย่างเดียวจนมือเป็นระวิง

กิจการรุ่งเรืองก้าวหน้าด้วยดี ป้าแอนจึงเปิดร้าน Auntie Anne’s Hand-Rolled Soft Pretzels เป็นเรื่องเป็นราว และยังตั้งบริษัทขึ้นมาเพื่อขายแฟรนไชส์อีกด้วย ป้าแอนยังสนองความต้องการของลูกค้าโดยการเปิด Auntie Anne’s Cre-amo Classic Cones ขายคัสตาร์ดแช่แข็ง

และร้าน Auntie Anne’s Cafe’ ที่บริการอาหารแบบง่ายๆ สบายๆ ป้าแอนเปิดใจผ่านเว็บไซต์ของเธอว่า เป็นเพราะครอบครัว เพื่อนฝูง บรรดาพนักงาน และผู้ซื้อแฟรนไชส์จึงทำให้เธอและสามีสามารถสร้างพื้นฐานอันแข็งแกร่ง จากเป้าหมายในการสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้า และขยายธุรกิจเมื่อจังหวะเวลาและสถานที่เหมาะสม

ป้าแอนเชื่อว่าความสำเร็จของ Auntie Anne’s มาจาก 3 P คือ Purpose-เป้าหมาย Product-ผลิตภัณฑ์ และ People-บุคลากร เมื่อ 3 ปัจจัยนี้รวมกันนั่นหมายถึงผลกำไรที่จะตามมา ขณะเดียวกัน บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่า ‘การให้’ และ ‘บริการ’ คือสิ่งสำคัญ บริษัทจึงยึดปรัชญาการเป็น ‘ประทีปอันส่องสว่าง’ (Shining L.I.G.H.T.) ในการดำเนินธุรกิจ

โดย L.I.G.H.T ที่ว่าประกอบด้วย Lead by example-เป็นแบบอย่างที่ดี Invest in Employees-ให้ความสำคัญต่อบุคลากร Give Freely-คืนกำไรให้สังคม Honor God-สรรเสริญพระเจ้า และ Treat all Business Contacts with Integrity-ปฏิบัติต่อผู้ร่วมทำธุรกิจอย่างมีคุณธรรม

Auntie Anne’s ในประเทศไทย

ss24

ภาพจาก goo.gl/7W6ryJ

Auntie Anne’s ก่อกำเนิดโดย Mrs.Anne Beiler (แอน ไบเลอร์) ในมลรัฐเพนซิลวาเนีย สหรัฐอเมริกา ได้รับความนิยมจากลูกค้าทั่วสหรัฐอเมริกา กระทั่งบริษัท เซ็นทรัลเรสตอรองส์กรุ๊ป จำกัด (CRG) ได้นำเข้ามาให้คนไทยลิ้มลองความอร่อยเป็นครั้งแรกในเดือนเมษายน ปี 2541 ที่เซ็นทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว เป็นสาขาแรกจนปัจจุบัน

บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด (Central Restaurants Group: CRG) ก่อตั้งขึ้นในปี 2521 ในฐานะที่เป็นผู้รับสิทธิ (Franchisee) ที่มีความชำนาญ ด้วยการนำมิสเตอร์ โดนัท (Mister Donut) เข้ามาเปิดให้บริการในประเทศไทย ภายใต้การนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่สร้างสรรค์ ส่งผลให้มิสเตอร์ โดนัท ครองความเป็นผู้นำตลาดโดนัท

หลังจากประสบความสำเร็จจากมิสเตอร์ โดนัทแล้วเครือ CRG ได้มีการขยายธุรกิจอาหารหลากหลายแบรนด์อย่างต่อเนื่อง ด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของผู้บริโภค อาทิ เคเอฟซี (KFC), อานตี้ แอนส์ (Auntie Anne’s), เปปเปอร์ ลันช์ (Pepper Lunch), ชาบูตง (Chabuton) และอีกหลายแบรนด์อาหารญี่ปุ่น

ss28

ภาพจาก goo.gl/J7tWEc

ปัจจุบันอานตี้ แอนส์ เป็นผู้นำตลาดซอฟต์เพรทเซลในประเทศไทยภายใต้แนวคิด “อร่อยอย่างมีเอกลักษณ์” (Uniquely Delicious) โดยมีเป้าหมายในการสร้างความพอใจสูงสุดแก่ลูกค้า (Customer Satisfaction) ด้วย เพรทเซลสูตรเฉพาะ สีเหลืองทอง กรอบนอกนุ่มใน สดใหม่ และถึงมือลูกค้าภายใน 30 นาที ปัจจุบันมีสาขาทั้งสิ้นกว่า 85 สาขาทั่วประเทศ

อานตี้ แอนส์ ดำเนินกลยุทธ์ โดยคำนึงถึงความต้องการของผู้บริโภค และมีการสำรวจพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง เน้นย้ำกลยุทธ์สร้างความหลากหลายให้ผลิตภัณฑ์ เพิ่มทางเลือกใหม่ให้กับผู้บริโภคอยู่เสมอ

ตั้งแต่ปี 2009 อานตี้ แอนส์ ได้ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ถึง 9 เมนู ภายใต้ Theme “Heavenly Delicious รสชาติแห่งความสุขที่อานตี้ แอนส์” ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี

โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์กลุ่มไลท์มีล ทั้งนี้อานตี้ แอนส์ ประเทศไทยยังได้ดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาด อย่างรอบด้าน และสื่อสารถึงผู้บริโภคผ่านเครื่องมือทางการตลาดอย่างครบวงจร (IMC) ส่งผลให้ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติจาก Auntie Anne’s Inc. USA ถึง 4 รางวัล ดังนี้

  • รางวัล Brand Excellence Award
  • รางวัล Pretzel Perfect Store Award
  • รางวัล Pretzel Perfect Leadership Award
  • รางวัล Pretzel Quest Celebrity Chef Award

ปี 2010 อานตี้ แอนส์ จึงดำเนินกลยุทธ์ด้วยการสร้างความหลากหลาย ออกสินค้าใหม่อย่างต่อเนื่อง และสื่อสารถึงผู้บริโภคผ่านสื่อทางการตลาดหลากหลายช่องทางให้ครอบคลุมทั่วถึง

ดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาดอย่างครบวงจร (Marketing Mix) และสื่อสารให้ผู้บริโภครับรู้โดยผู้บริโภคสามารถเลือกอิ่มอร่อยกับอานตี้ แอนส์ ได้ “ทุกมื้อตลอดทั้งวัน ทุกช่วงเวลากับเมนูสร้างสรรค์จากอานตี้ แอนส์”ภายใต้ Theme”Auntie Anne’s All Day Delicious”

ss27

ภาพจาก goo.gl/cKgw60

นอกจากนี้ อานตี้ แอนส์ ได้นำกลยุทธ์การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า (CRM) มาใช้เป็นกลยุทธ์หลัก ผ่านระบบสมาชิก “เพรทเซล คลับ” ซึ่งจัดขึ้นตั้งแต่ปี 2546 นับเป็นผู้นำของตลาดเบเกอร์รี่ในประเทศที่นำระบบนี้มาใช้ และในปี 2549 อานตี้ แอนส์ เปิดตัวเว็บไซด์ www.pretzelclub.com รวมทั้งบริการ Pretzel Club Line หมายเลข 0-2233-1166 ซึ่งเป็น Call Center ทำหน้าที่เป็นช่องทางหลักในการสื่อสารกับสมาชิก เพื่อสร้างความประทับใจสูงสุด

ทั้งหมดเป็นจุดกำเนิดของแบรนด์แฟรนไชส์ระดับโลกอย่าง Auntie Anne’s ที่มีจุดกกำเนิดจากสตรีอเมริกัน ชาวรัฐเพนซิลเวเนียคนหนึ่ง ที่ไม่เคยรู้วิธีทำเพรทเซลมาก่อน จากแม่บ้านที่มีความรู้แค่เกรด 8 เป็นโรคซึมเศร้า

ต่อสู้กับความรู้สึกหดหู่ของตัวเองเพื่อให้ผ่านไปแต่ละวันอย่างยากลำบาก แอน ไบเลอร์ ไม่คาดคิดหรอกว่าตัวเองจะก้าวไกลขนาดสร้างเฟรนไชส์ขนมเพรทเซลที่ใหญ่ที่สุดในโลกโดยมี 1,200 สาขา ใน 26 ประเทศ ทำรายได้กว่า 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี

อ่านบทความแฟรนไชส์อื่นๆ goo.gl/zxKwUm
สนใจซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ต่างๆ น่าลงทุน goo.gl/T6f1i7

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3fAlf81

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช