“การตลาดสายตาสั้น” (ตอนที่ 4) โดย สุรวงศ์ วัฒนกูล

“การสื่อสารขยันสั้น” จะหาได้ง่ายใน หนังสือชั้นประถม คนทำหนังสือให้นักเรียนอ่านเขาทำกันบ่อย เช่น ทุกครอบครัวควรจะปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ อาทิ ผักบุ้งเป็นต้น คือ ยังไม่ได้พรวนดินยกร่องใส่ปุ๋ยรดน้ำเอาเมล็ดพันธุ์หยอดใส่ลงไปในรูแต่ละร่องที่ทำไว้อะไรทั้งสิ้น จู่ๆ ผักบุ้ง ก็โผล่ขึ้นมาเป็นต้นแล้วก็จบเอาไว้ด้วยๆ

Brent Davis เป็นนักเขียนเกี่ยวกับตลาดการเงินมาไม่น้อยกว่า 10 ปี กลยุทธ์การลงทุนของ ท่าน คือ ซื้อบริษัทคุณภาพสูงแล้วปล่อยให้ ระบบผลประโยชน์ทบต้น ทั้งกำไรและดอกเบี้ยทำงานไปตามหน้าที่ ท่านเลือก “กรณี บล็อกบัสเตอร์ กับ Netflix” มาเขียนฝากไว้ในเว็บไซด์ The Stock Dork ให้เราได้ไตร่ตรองกันง่ายๆ ผมคัดแล้วว่าเป็นตัวอย่างของการเล่าที่เข้าใจง่ายกว่าหลายตัวอย่างที่ผมเจอ

ตอนที่ 4

ยักษ์ใหญ่ บล็อกบัสเตอร์ ให้เช่า VIDIO มานาน ไหวตัวทันเปลี่ยนระบบ VHS เป็น DVD Netflix เปิดตัวขึ้นมาในปี 1998 บล็อกบัสเตอร์ ยังคงทำธุรกิจตามปกติ การบริการยกแรกทั้งสองฝ่ายมีสไตล์คล้ายคลึงกันมาก ลูกค้ายังคงมีใจภักดีไม่มีอะไรผิดปกติ

ย่างเข้าสู่ยกสอง กระแสการตลาดเริ่มแบ่งกลุ่มรุมกันเชียร์ทั้งสองฝ่าย พี่เลี้ยงแนะนำให้ Netflix ใช้แม่ไม้การบริการที่สะดวกสบายกะน็อค บล็อกบัสเตอร์

7

ล่วงมาสู่ยกที่สาม Netflix ขยันแย็บด้วยการส่งมอบ DVD หนึ่งพันล้านแผ่น ให้ลูกค้า

ยกที่สี่ Netflix ตีเข่า บล็อกบัสเตอร์ เปิดฉากบริการ สตรีมมิ่ง คือ รับส่งไฟล์มัลติมีเดียร์ทั้งภาพและเสียงผ่านอินเตอร์เน็ตโดยไม่ต้องดาวน์โหลด ยกนี้บล็อกบัสเตอร์โดนนับแปด ไม่สามารถจะเลียนแบบเอาคืนได้ทัน

ยกสุดท้าย ไม่น่าเชื่อ บล็อกบัสเตอร์ เพิกเฉยต่อคะแนนตลาดที่เปลี๊ยนไป๋ มุ่งเน้นชกลมสูดดมความสำเร็จที่ผ่านมาจึงโดนน็อคนับสิบ

6

งานนี้คุยกันให้แซ่ดว่า จะแก้ปัญหา “การตลาดสายตาสั้น” ได้ไง เว็บไซต์ Study Moose นำเสนอความคืบหน้า ท่านศาสตราจารย์ Theodore Levitt คลี่ปมสำคัญทันใดว่า บริษัทจะไม่โดน ไวรัสการตลาดสายตาสั้นโจมตี ถ้าสร้างภูมิต้านทานสี่ขั้นตอน ดังต่อไปนี้

  • เข็มแรก พวกเขาจะต้องปรับให้เข้ากับความต้องการของตลาดและยิ่งเร็วยิ่งดี
  • เข็มสอง บริษัทต้องจ้างผู้นำที่เข้มแข็งซึ่งมีวิสัยทัศน์และแรงขับเคลื่อนเป็นตัวกำหนดจังหวะของบริษัท
  • เข็มสาม ทั้งองค์กรจะต้องสร้างลูกค้าและองค์กรที่สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า
  • เข็มสี่ บริษัทต้องคิดว่าตัวเองเป็นลูกค้าผู้รอซื้อ

5

ขอกระซิบชุดความคิดของ Inside Out คือ “ทำในสิ่งที่เราสนใจ” คู่กับ Outside In คือ “ให้ในสิ่งที่เขาใฝ่หา” ภาพรวม“การตลาดสายตาสั้น” สะท้อนให้เห็นว่าเรามัวแต่ Inside Out! ไม่เอา Outside In! มาพกพาไว้ในอารมณ์ ไม่อยากล่มจมก็แคร์ความโหยหาของลูกค้า อย่ามัวทำเฉย

ผมบอกเจ้าของร้านขายแกงตับว่า “ รสชาติอร่อยนะ ผมขอนิดเดียว ลดน้ำตาลลงอีกหน่อย” เธอตอบห้วนๆว่า “สูตรร้านเราเป็นอย่างนี้แหละ” ผมก็ได้แต่ ขากกกกก…! แล้วกลืนลงไปในคอ อิอิ


วิทยากร : ดร.สุรวงศ์ วัฒนกูล

การตลาดสายตาสั้น

  • การตลาดสายตาสั้น หลักประเมินตัวตนไว้ให้พิจารณา 4 ประเด็น (ตอนที่ 1) – https://bit.ly/3SXXxoy
  • “การตลาดสายตาสั้น” (ตอนที่ 2) โดย สุรวงศ์ วัฒนกูล – https://bit.ly/3Ehkn6B
  • “การตลาดสายตาสั้น” (ตอนที่ 3) โดย สุรวงศ์ วัฒนกูล – https://bit.ly/3rw9GWf
  • “การตลาดสายตาสั้น” (ตอนที่ 4) โดย สุรวงศ์ วัฒนกูล – https://bit.ly/3EeL2Rp

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3e6lIm1

กองบรรณาธิการเว็บไซต์

ยินดีสนับสนุน SMEs ไทยทุกแบรนด์ ที่ต้องการสร้างความเข้มแข็ง อยากเรียนรู้ พัฒนาธุรกิจ ส่งเสริมความเข้าใจในการตลาด มีความคิดสร้างสรรค์ แบ่งปันเพื่อสังคม ต่อยอดธุรกิจ ให้ประสบความสำเร็จในอนาคต