กรมพัฒน์ฯ ตั้งเป้าสร้างอาชีพ 1 หมื่นราย ผ่าน “โครงการสร้างรายได้ด้วยแฟรนไชส์ฝ่าโควิด-19”

หลังจากครม.มีมติอนุมัติโครงการสร้างรายได้ด้วยแฟรนไชส์ฝ่าโควิด-19 ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ วงเงิน 68 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินงาน 8 เดือน เพื่อช่วยเหลือและสร้างอาชีพแก่คนว่างงานและคนตกงาน กระตุ้นและฟื้นฟูธุรกิจแฟรนไชส์ และธุรกิจ SMEs ขนาดเล็ก ให้กลับมาดำเนินธุรกิจในตลาดเป็นปกติ

สร้างโอกาสทางการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์และการขยายการลงทุนในธุรกิจให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์มากขึ้น และเพิ่มช่องทางการหารายได้และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจไทย โดยมีเป้าหมาย กระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

การสร้างรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ และเพิ่มการขยายธุรกิจด้วยระบบแฟรนไชส์ สร้างอาชีพให้แก่ประชาชนและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดไวรัสโควิด-19

ตั้งเป้าสร้างอาชีพ

รวมทั้งเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ธุรกิจแฟรนไชส์ขยายร้านสาขาแฟรนไชส์เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจมีความมั่นคงเข้มแข็งและยั่งยืน เกิดผู้ประกอบการรายใหม่ เกิดการสร้างอาชีพ ทำให้เกิดการจ้างงาน และกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น ลดอัตราการว่างงาน และธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ขยายตัวและสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศเพิ่มขึ้น

ล่าสุดนายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ ได้จัดประชุมผู้ประกอบการแฟรนไชส์ผ่านระบบ Zoom เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับเดินหน้าโครงการสร้างรายได้ด้วยแฟรนไชส์ฝ่าโควิด-19

โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้กำหนดรายละเอียดและแนวทางการดำเนินโครงการฯ โดยจะคัดเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่ผ่านการพัฒนามาจากกรมฯ เช่น โครงการ Franchise Standard, โครงการพัฒนาธุรกิจสู่ระบบแฟรนไชส์ (DBD) ที่มีสถานะเป็นนิติบุคคล รวมทั้งมีศักยภาพสามารถถ่านทอดวิธีการทำธุรกิจ และเป็นพี่เลี้ยงให้แก่ผู้ที่สนใจประกอบอาชีพได้ ตั้งเป้าหมายมีผู้ประกอบการกว่า 10,500 ราย แบ่งเป็นเจ้าของแฟรนไชส์ 500 ราย และ ผู้ซื้อแฟรนไชส์ 10,000 ราย สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 4,600 ล้านบาท

โครงการสร้างรายได้ด้วยแฟรนไชส์ฝ่าโควิด-19 จะแบ่งออกเป็น 2 กิจกรรม ได้แก่ 1. MOC แฟรนไชส์สร้างอาชีพส่วนกลาง 1 ครั้ง จำนวนธุรกิจ 400 ธุรกิจ ระยะเวลา 4 วัน ณ อิมแพค เมืองทองธานี และ 2.งานแฟรนไชส์สร้างอาชีพส่วนภูมิภาค 15 จังหวัด จำนวนธุรกิจครั้งละ 40 ธุรกิจ ระยะเวลา 4 วัน สถานที่ห้างสรรพสินค้าในแต่ละจังหวัด แบ่งออกเป็น

  • ภาคเหนือ 4 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ลำปาง พิษณุโลก เชียงราย
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 จังหวัด ได้แก่ อุดรธานี ขอนแก่น นครราชสีมา อุบลราชธานี
  • ภาคใต้ 3 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี สงขลา
  • ภาคกลางและภาคตะวันออก 4 จังหวัด ได้แก่ ระยอง ชลบุรี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร

ทั้งนี้ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ยังได้ประสานไปยังสถาบันการเงินต่างๆ เช่น ธนาคารออมสิน, SME D Bank, กรุงไทย และธนาคารกสิกรไทย เพื่อให้การสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยพิเศษ สำหรับผู้ที่มีเงินลงทุนไม่เพียงพอให้มีโอกาสในการลงทุนทำธุรกิจด้วยแฟรนไชส์ โดยโครงการฯ จะเริ่มดำเนินงานระหว่างเดือน ส.ค.-พ.ย. 2564

40

ที่ผ่านมากรมพัฒนาธุรกิจการค้า ดำเนินโครงการส่งเสริมธุรกิจแฟรนไชส์มาอย่างต่อเนื่อง ได้แก่

  1. โครงการสร้างธุรกิจเข้าสู่ระบบแฟรนไชสฺ (Franchise DBD) เริ่มดำเนินโครงการตั้งแต่ปี 2544-2563 จำนวน 23 รุ่น รวม 1,047 ราย
  2. โครงการพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์สู่เกณฑ์มาตรฐาน (Franchise Standard) เริ่มดำเนินโครงการตั้งแต่ 2552-2563 ผ่านเกณฑ์ 450 ราย
  3. โครงการประกวดรางวัลแฟรนไชส์ไทย (Franchise Award) ตั้งแต่ปี 2563-ปัจจุบัน จำนวน 11 ธุรกิจ 13 ประเภทรางวัล
  4. โครงการสร้างโอกาสทางการตลาดธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise Expo) ตั้งแต่ปี 2560-ปัจจุบัน ผ่านการจัดงานแสดงสินค้าในประเทศ
  5. โครงการแฟรนไชส์สร้างอาชีพ สร้างรายได้ สร้างงาน เกิดการจ้างงานทั่วประเทศ รวมถึงโครงการ Franchise Go inter ด้วยการนำธุรกิจแฟรนไชส์ 32 ธุรกิจ ออกงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ 32 ประเทศ

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3hhy7kI

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช