เปิดร้าน “ฮ็อป ชาเฟ่” ไม่ยาก! สอนทุกขั้นตอน! พร้อมสมัครเดลิเวอรี่ให้ ฟรี!
ถ้าให้เลือกมีกิจการของตัวเอง คำตอบส่วนใหญ่มักเลือก “เปิดร้านเครื่องดื่ม” เพราะถือเป็นสินค้าที่ขายง่าย ขายดี ขายได้แน่นอน แถมยังเป็นสินค้าไม่มีวันตกเทรนด์อีกด้วย แต่ปัญหาที่ทำให้หลายคนยังเริ่มต้นเปิดร้านไม่ได้สักที เหตุผลแรคือไม่มีประสบการณ์ ไม่รู้ว่าจะเริ่มอย่างไร และยุคนี้คู่แข่งก็เยอะมาก การเป็นมือใหม่ในธุรกิจนี้จึงเป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่กังวล
อย่างไรก็ดี www.ThaiSMEsCenter.com มีทางเลือกทางรอดที่น่าสนใจกับการลงทุนในแฟรนไชส์ “ฮ็อป ชาเฟ่” ที่นอกจากมีแพคเกจลงทุนราคาเบาๆ สิ่งสำคัญกว่าคือทีมงานมืออาชีพของฮ็อป ชาเฟ่ พร้อมสอนทุกเทคนิค ทุกขั้นตอนการทำ ตรงไหนไม่เข้าใจ ตรงไหนยังสงสัย จะสอนจนกว่าจะทำเป็น จนกว่าจะมั่นใจ และยิ่งกว่านั้น ฮ็อป ชาเฟ่ ยังสมัครเดลิเวอรี่ให้ ฟรี! เพิ่มโอกาสให้คนลงทุนขายง่าย ขายดีมีกำไรได้เร็วยิ่งขึ้น
ฮ็อป ชาเฟ่ขยายสาขากว่า 350 แห่งทั่วประเทศ
เรียกว่าเป็นสุดยอดแฟรนไชส์ได้อย่างแท้จริงสำหรับ “ฮ็อป ชาเฟ่” ที่แม้จะเริ่มขายแฟรนไชส์ได้แค่ 1 ปี แต่ก็ได้ใจลูกค้าและผู้ลงทุนทั่วประเทศ ถึงตอนนี้มีสาขากว่า 350 แห่ง กระจายอยู่ทุกภูมิภาค เหตุผลที่คนนิยมลงทุน “ฮ็อป ชาเฟ่” กันอย่างคึกคักมีด้วยกันหลายปัจจัยเช่น
- สินค้าราคาไม่แพงเป็นแฟรนไชส์ชานมไข่มุก 20 บาททุกแก้ว
- แบรนด์มีเอกลักษณ์มีจุดเด่นเป็นที่น่าสนใจของลูกค้า
- วัตถุดิบนำเข้าจากต่างประเทศ มั่นใจในเรื่องคุณภาพรสชาติได้อย่างดี
- ใช้งบในการลงทุนน้อย เริ่มต้นแค่ 39,000 บาท ก็สามารถเปิดร้านได้
- ไม่บังคับผู้ลงทุนในการซื้อวัตถุดิบและอุปกรณ์อื่นๆ มีเพียง ชา,ผงโกโก้ ,แก้ว ,ม้วนซีล เท่านั้นที่ให้ซื้อกับทางแฟรนไชส์
- ไม่กำหนดรูปแบบร้าน จัดตกแต่งได้ตามความต้องการ
- กำไรกว่า 50% จากราคาขาย โอกาสคืนทุนภายใน 3 เดือน (ขึ้นอยู่กับทำเลเป็นสำคัญ)
แถมยังเป็นแฟรนไชส์ที่ไม่เก็บค่าธรรมเนียมรายปี ไม่หักเปอร์เซ็นต์จากยอดขาย ยิ่งเพิ่มความน่าสนใจให้หลายคนที่อยากมีธุรกิจของตัวเอง เลือกลงทุนกับ “ฮ็อป ชาเฟ่” ที่พร้อมเป็นแฟรนไชส์สร้างอาชีพให้กับคนสนใจทั่วประเทศ
ก่อนเปิดร้าน! สอนทุกเทคนิค สอนทุกสูตร เรียนรู้เหมือนเพื่อนสอนเพื่อน
จะเรียกว่าเป็นความน่ารักของแบรนด์ “ฮ็อป ชาเฟ่” ที่ใครไม่ได้สัมผัสจะไม่มีทางเข้าใจเด็ดขาด นอกจากเหตุผลทั่วไปที่ทำให้คนตัดสินใจลงทุน คนที่ได้ลงทุนแล้วก็ยังไปบอกเพื่อนๆ หรือคนรู้จัก ว่า “ฮ็อป ชาเฟ่” เทคแคร์ ดูแลดีมาก เพราะพื้นฐานของคนที่อยากเปิดร้านเครื่องดื่ม บางคนไม่รู้พื้นฐานใดๆมาก่อน ซึ่งฮ็อป ชาเฟ่ จะเริ่มจากปรับความเข้าใจของผู้ลงทุนอธิบายถึงภาพลักษณ์ของแบรนด์ให้เห็นชัดเจน เมื่อทัศนคติในการทำธุรกิจเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทีนี้ก็มาถึงการเรียนรู้สูตรเมนูเครื่องดื่มต่างๆ โดยฮ็อป ชาเฟ่ ให้ลูกค้าเลือกได้เลยว่าจะอบรมที่สำนักงานใหญ่ หรือใครไม่สะดวกก็สามารถอบรมผ่านระบบออนไลน์ ได้
ซึ่งการสอนของฮ็อป ชาเฟ่ ไม่ใช่แค่การให้คู่มือแล้วไปศึกษาเอง แต่ฮ็อป ชาเฟ่ สอนชนิดที่เรียกว่าแทบจะจับมือเพื่อให้ลูกค้าทุกคนได้ทำเป็นในทุกอย่าง ตั้งแต่การชั่ง ตวง วิธีการชง การต้มชา และอื่นๆ รวมไปถึงเทคนิคเคล็ดลับในการทำเมนูเครื่องดื่มที่เป็นการเอาประสบการณ์มาสอนให้ผู้ลงทุนได้เรียนรู้เทคนิคแบบหมดเปลือก ไม่ต้องไปลองผิดลองถูกเอาเอง และตรงไหนที่สอนแล้วไม่เข้าใจ ยังทำไม่เป็น ยังทำไม่ได้ สามารถเรียนซ้ำจนกว่าจะเข้าใจ ให้ผู้ลงทุนได้ฝึกอบรมจนช่ำชองและมีความพร้อมที่จะไปเปิดร้านของตัวเองได้
ข้อดีของการสอนเหมือนเพื่อนสอนเพื่อน คือผู้เรียนก็ไม่เครียด รู้สึกสนุกไปกับการสอน ซึ่งเป็นสไตล์ของ ฮ็อป ชาเฟ่ ที่อยากให้คนลงทุนเปิดร้านเครื่องดื่มแบบมีความสุข ไม่รู้สึกว่ากดดัน เมื่อความรู้สึกเราผ่อนคลายสบายใจจะทำให้สมองเปิดรับความรู้ใหม่ๆ ได้มาก อันเป็นผลดีต่อการพัฒนาธุรกิจให้เติบโตได้มากขึ้นด้วย
เพิ่มพลังการขาย! ด้วยช่องทาง “เดลิเวอรี่”
และนอกจากการสอนที่ให้หมดแบบไม่มีกั๊ก เพื่อให้คนลงทุนเปิดร้านได้อย่างมั่นใจ ฮ็อป ชาเฟ่ ยังส่งเสริมการขายให้มีพลังมากขึ้นด้วยการสมัครเดลิเวอรี่ ให้ ฟรี! เป็นการลดขั้นตอนของผู้ลงทุนไม่ต้องมายุ่งยากวุ่นวายกับเรื่องนี้ แต่เป็นหน้าที่ของฮ็อป ชาเฟ่ จะจัดการให้ แถมยังจะสอนเทคนิคเคล็ดลับว่าจะขายผ่านเดลิเวอรี่อย่างไรให้มีกำไรแบบปัง ๆ ซึ่งก็คือการสอนทุกเทคนิคว่าจะรีบออร์เดอร์อย่างไร บริหารจัดการออร์เดอร์ระหว่างขายหน้าร้านกับเดลิเวอรี่อย่างไรเพื่อให้มีประสิทธิภาพได้สูงสุด
ซึ่งต้องยอมรับว่าปัจจุบันเครื่องดื่มของ ฮ็อป ชาเฟ่มีความหลากหลาย มีการพัฒนาเมนูใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง และเป็นสินค้าที่ขายดีทั้งหน้าร้านและผ่านระบบเดลิเวอรี่ ยกตัวอย่างแฟรนไชส์ซีที่ประสบความสำเร็จสาขาหนึ่ง เลือกลงทุนกับ ของ ฮ็อป ชาเฟ่ ลงทุนทำร้านประมาณ 300,000 บาท (งบในการทำร้านขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ลงทุน) โดยทำเลของ แฟรนไชส์ซีรายนี้อยู่ในย่านที่คนไม่ได้พลุกพล่าน ต้องอาศัยการขายในช่องทางเดลิเวอรี่เป็นหลัก แต่สามารถขายได้เฉลี่ยถึงวันละ 300 แก้ว มีรายได้ต่อวันประมาณ 6,000 – 8,000 บาท (ยังไม่หักค่าใช้จ่าย)
ภาพจาก แฟรนไชส์ฮ็อป ชาเฟ่
นั่นหมายความว่าหากเป็นสาขาที่อยู่ในทำเลที่ดี มียอดขายหน้าร้านที่ดีร่วมด้วยจะทำให้การลงทุนยิ่งประสบความสำเร็จได้เร็วมากขึ้น ด้วย และนอกจากสาขาตัวอย่างที่ยกมาอธิบาย ยังมีอีกหลายสาขาที่สร้างรายได้ดีไม่แพ้กัน ซึ่งในปี 2565 นี้ ฮ็อป ชาเฟ่ ก็มีแผนที่จะพัฒนาสินค้า พัฒนารูปแบบการตลาดให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้ามากขึ้น อันเป็นผลดีต่อผู้ลงทุนทั่วประเทศด้วย
สำหรับคนที่สนใจ หรือใครที่อยากมีธุรกิจของตัวเองแต่ยังตัดสินใจไม่ได้ ขอแนะนำว่า ฮ็อป ชาเฟ่ เป็นแฟรนไชส์ที่ให้มากกว่าคำว่าธุรกิจ เพราะนี่คือการลงทุนที่เสมือนคนในครอบครัวดูแลกันอย่างดี มีอะไรสามารถปรึกษาได้ เพื่อให้ทุกคนได้เติบโตไปพร้อมกัน การบริหารของฮ็อป ชาเฟ่ เน้นให้ทุกแฟรนไชส์มีความสุข มีความสบายใจ เพื่อให้ถ่ายทอดความรู้สึกดีๆ เหล่านี้ไปถึงลูกค้าทุกคนด้วย
สนใจลงทุนแฟรนไชส์ Hop Chafe
โทร: 02-0219120 ต่อ 1-2
อีเมล์: Hopchafe.store@gmail.com
Instagram: hop_chafe
Facebook: www.facebook.com/HOPChafe
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3RKHiMd
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)