หมดยุคทอง! การค้าปลีก-ส่งไทย ปิดตำนานความรุ่งเรือง
ย้อนหลังไปสมัยก่อนชื่อของสำเพ็งและประตูน้ำคือ แหล่งรวมสินค้าที่ใครอยากได้อะไรก็ไปได้เลย ของเยอะ ของถูก เปรียบเสมือนเป็นศูนย์กลางตลาดค้าส่งและค้าปลีกขนาดใหญ่ของกรุงเทพฯ ที่มีสินค้าแทบจะทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเขียน ของเล่น กิ๊ฟช็อป หรือแม้แต่เสื้อผ้า
สมัยนั้นย่านสำเพ็งผู้คนหนาแน่น เดินเบียดเสียดทั้งคนไทยและต่างชาติ เช่นเดียวกับประตูน้ำที่คับคั่งไปด้วยผู้คน พ่อค้าแม่ค้าขายดีกันตลอดทั้งวัน โดยเฉพาะประตูน้ำในอดีตนี่ถือว่าเป็นศูนย์รวมธุรกิจเสื้อผ้า garment เพื่อส่งออกใหญ่สุดของไทยทำรายได้เข้าประเทศแต่ละปีสูงมาก
แต่ภาพที่ปรากฏในวันนี้ทั้งสำเพ็งและประตูน้ำ แตกต่างจากในอดีตอย่างสิ้นเชิง ถึงขนาดที่พูดกันว่าเป็นความเงียบเหงาและซบเซามากสุดในรอบ 50 ปี ถ้าดูข้อมูลจากพ่อค้าแม่ค้าในพื้นที่ต่างก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่าลูกค้ามาเดินซื้อสินค้าน้อยมาก เสาร์-อาทิตย์ หรือวันปกติก็ไม่ต่างกัน
จะมีลูกค้าเพิ่มมาบ้างก็เฉพาะช่วงวันที่มีวันหยุดยาว ส่วนใหญ่จะเป็นลูกค้าเดิมที่มาแบบเจาะจงซื้อ ลูกค้าขาจรนาน ๆ มาที ร้านที่เปิดถือว่าพออยู่ได้ หลัก ๆ มาจากลูกค้าเก่าที่ซื้อไปขายต่อ
สินค้าที่ยังขายได้หลัก ๆ ยังเป็นเสื้อยืด และ พวกยูนิฟอร์ม แต่ที่ตกลงไปมาก คือ กลุ่มเสื้อผ้าแฟชั่น เนื่องจากเป็นสินค้าที่คนส่วนใหญ่มองว่า “ไม่จำเป็น”
ในด้านตัวเลขรายได้ของพ่อค้าแม่ค้าในสำเพ็ง ประมาณการว่ายอดขายหายไปกว่า 70% แถมบางวันยังขายไม่ได้สักบาท ต่างจากสมัยก่อนมากที่ไม่ถึงชั่วโมงก็ขายได้ไม่ต่ำกว่า 5,000 – 10,000 และบางร้านยอดขายก็ตกจากหลักแสนมาเหลือแค่หลักพัน ใครที่สายป่านยาวหน่อยก็พอทนอยู่ได้นาน ส่วนใครที่สายป่านสั้น หาเงินมาหมุนไม่ทันก็ต้องแยกย้าย เลิกกิจการไป ทุกวันนี้ก็มีร้านค้าเริ่มหายไปมากกว่า 30 -40% และน่าจะมีทยอยปิดตัวอีกเรื่อยๆ
ถ้าวิเคราะห์ไปถึงเหตุผลหลักๆ ว่าอะไรที่ทำให้ทั้งสำเพ็งและประตูน้ำ ก้าวมาถึงจุดนี้ พบว่า
ช่องทางการจำหน่าย (Channel)
ต้องยอมรับว่าการซื้อของออนไลน์เข้ามาเปลี่ยนพฤติกรรมลูกค้ามาก คนส่วนใหญ่จึงเน้นสะดวก ไม่ต้องเดินทาง ไม่ต้องวุ่นวายกับการหาที่จอดรถ ทำให้สำเพ็งไม่ตอบโจทย์เหมือนในอดีตที่ผ่านมา
ซึ่งพ่อค้าแม่ค้าก็เข้าใจดีและปรับตัวให้สอดคล้องเราจึงเห็นบางร้านตั้งกลุ่มไลน์ขึ้นมาเมื่อมีสินค้าใหม่ก็จะโพสต์ลงในกลุ่ม หากใครสนใจก็ไลน์สั่งซื้อมา และจัดแพ็กส่งไปให้ จะหวังกับยอดขายหน้าร้าน หรือรอให้คนเดินมาซื้อไม่ได้ เพราะวัน ๆ แทบไม่มีลูกค้าเข้ามาเลย
พฤติกรรมผู้ซื้อ (Consumer Behaviors)
ตอนนี้เวลาคนอยากได้อะไรจะเข้า Google หาข้อมูล หาร้านที่ถูกใจ มีของ ราคาโอเค ดูน่าเชื่อถือ ก็ติดต่อกับผู้ขายได้ทันที จึงเป็นอีกเหตุผลว่าทำไมลูกค้าในย่านสำเพ็งถึงได้ลดลงมาก
คู่แข่ง (โดยเฉพาะทุนจีน)
เป็นเรื่องที่พ่อค้าแม่ค้าบอกว่ามีผลมากๆ เช่นย่านประตูน้ำกลุ่มบริษัทยักษ์ใหญ่จากเจ้อเจียงนำเสื้อผ้ามาขายเอง และก็มีอีกหลายกลุ่มบริษัทที่สั่งผลิตจากโรงงานโดยตรง มาขายในย่านประตูน้ำ ในราคาที่ถูกกว่าร้านเดิมที่มีอยู่ พ่อค้าแม่ค้าคนไทยก็สู้ไม่ได้ หรือย่านสำเพ็งเคยเป็นย่านค้าส่งเสื้อผ้าและสินค้าเบ็ดเตล็ด ของพ่อค้าแม่ค้าคนไทยปัจจุบันมีกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าคนจีนเข้ามาครองพื้นที่เพื่อค้าขายมากขึ้น
ซึ่งพวกนี้สามารถเจรจากับโรงงานผู้ผลิตในประเทศจีนได้โดยตรง เพื่อนำสินค้าเข้ามาขาย ในราคาที่ถูกกว่า เกิดเป็น Economies of Scale คือต้นทุนต่อหน่วยที่ต่ำมาก ในการสั่งซื้อแต่ละล็อต
ต้นทุนค่าเช่า
สัมพันธ์กับทุนจีนเช่นกัน เพราะคนจีนที่เข้ามาค้าขายมักเสนอค่าเช่าที่สูงกว่าคนไทย 5-10 เท่า ยกตัวอย่างย่านสำเพ็งค่าเช่าก่อนเกิดโควิดระบาดประมาณ 15,000 บาท/เดือน ก็ปรับเพิ่มเป็น 30,000 – 40,000 บาท หรือโซนอาคารพาณิชย์ จาก 70,000-100,000 บาทต่อเดือน ก็กลายเป็น 100,000-500,000 บาท เมื่อมีต้นทุนค่าเช่าที่สูงขึ้นแต่รายได้ได้สูงตามก็ทำให้ร้านค้าส่วนใหญ่ไปต่อไม่ได้
กำลังซื้อของคนลดลง
เป็นผลพวงจากเรื่องเศรษฐกิจที่รายได้ของคนส่วนใหญ่ไม่ได้เพิ่มสวนทางกับรายจ่ายที่มากขึ้น แม้แต่ต้นทุนการผลิต ต้นทุนวัตถุดิบ ก็เพิ่มราคาสินค้าก็จำเป็นต้องปรับตาม คนก็ไม่มีกำลังซื้อ
แม้ว่าพ่อค้าแม่ค้าส่วนใหญ่จะพยายามแก้ปัญหาในทุกวิถีทางเพื่อกระตุ้นยอดขายไม่ว่าจะจัดโปรโมชัน ลดแลกแจกแถม ทำการตลาดผ่านโซเชี่ยล แต่จากหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกันก็ทำให้ยอดขายไม่ได้เพิ่มตามหลายๆ ร้านก็จำใจต้องปิดตัวและเลือกไปหารายได้จากธุรกิจอื่น
จากทุกเหตุผลที่ได้นำเสนอมาก็ล้วนแต่สนับสนุนว่าทำไมยุคทองของค้าปลีกและขายส่งในเมืองไทย จึงมาถึงจุดจบ แม้ว่าย่านสำเพ็งหรือประตูน้ำในทุกวันนี้จะไม่ได้หายไปอย่างสิ้นเชิง แต่ภาพจำในอดีตกับตอนนี้ก็แตกต่างกันมาก ไม่เฟื่องฟูและไม่สร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการได้เหมือนแต่ก่อน
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)