รวม 5 ธุรกิจไทยเอาใจวัยเกษียณ! ทำไมดีกว่า Gen Z

ตั้งแต่ปี 2567 ที่ผ่านมาประเทศไทยถือว่าเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ (Complete aged society) คือมีจำนวนคนอายุเกิน 60 ปี มากกว่า 20% ของประชากร และคาดว่าอีกไม่กี่ปีเราจะเข้าสู่ “สังคมสูงวัยระดับสุดยอด” คือมีประชากรอายุ 60 ปีเกินกว่า 28%

และจากเดิมที่มองว่าคนวัยเกษียณคือคนยุคเก่าที่หมดสภาพ ไม่น่าจะสู้กับแรงงานรุ่นใหม่ Gen Z ที่จะก้าวเข้ามาทดแทนได้มากขึ้น ทำไปทำมาตอนนี้กระแสตีกลับ คนวัยเกษียณถูกพูดถึงมากขึ้นด้วยเหตุผลคือ

  • คนวัยเกษียณมีความรู้ มีประสบการณ์
  • คนวัยเกษียณมีความเชี่ยวชาญและมีคอนเนคชั่นในการทำงานที่ดี
  • คนวัยเกษียณมีทักษะในการเข้าสังคม ความเข้าใจในองค์กร
  • คนวัยเกษียณรู้จักคิดและแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ
  • คนวัยเกษียณมีวุฒิภาวะที่สามารถควบคุมอารมณ์ความรู้สึกได้ดี
  • คนวัยเกษียณมีความน่าเชื่อถือและเป็นที่เคารพในวงกว้าง

แนวคิดเรื่องการนำคนวัยเกษียณกลับมาทำงานหรือที่เรียกว่า Un-retiring มีทั้งในเมืองไทยและต่างประเทศ อาจจะไม่ใช่ในรูปแบบของพนักงานประจำ แต่เป็นงานชั่วคราว หรือ โปรเจ็กต์ระยะสั้น ที่มีระยะเวลาเฉลี่ยตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 2 ปีโดยมีหลายบริษัทที่ผุดไอเดียนี้ เช่น

1.CJ MORE เปิดรับสมัครพนักงานสูงวัย อายุ 55 ปีขึ้นไป

ธุรกิจไทยเอาใจวัยเกษียณ
ภาพจาก https://bit.ly/42LZTyL

มีวุฒิการศึกษา ป.6 ขึ้นไปหรืออ่านออกเขียนได้ก็สามารถสมัครได้เลย ค่าจ้าง 50 บาทต่อชั่วโมง พร้อมสวัสดิการกองทุนเงินทดแทน การตรวจสุขภาพประจำปี และประกันชีวิต

2.บิ๊กซี เปิดรับสมัครผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ผ่านโครงการ “พี่ใหญ่ไฟแรง”

ธุรกิจไทยเอาใจวัยเกษียณ
ภาพจาก https://bit.ly/44Me8VR

คุณสมบัติ เพศชาย-หญิง อายุ 60 ปีขึ้นไป มีวุฒิ ม.3 – ปริญญาตรี มีสัญชาติไทย สุขภาพร่างกายแข็งแรง มีใจรักงานบริการ สามารถทำงานเป็นกะได้

3.ซีพี แอ็กซ์ตร้า สนับสนุนการจ้างงานผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ผ่านโครงการ 60 ยังแจ๋ว

ธุรกิจไทยเอาใจวัยเกษียณ
ภาพจาก https://bit.ly/4iTUNp2

ประกอบด้วย 3 กิจกรรมหลัก คือ

  1. การจ้างงานผู้สูงอายุ ปฏิบัติงานในสาขาของ แม็คโคร และโลตัส ตำแหน่งจัดเรียงสินค้า ตำแหน่งบริการลูกค้า ณ จุดบริการลูกค้า
  2. เถ้าแก่วัยเก๋า โครงการฝึกอาชีพ สร้างรายได้ให้กับผู้สูงอายุที่ต้องการทำงานอิสระหรือมีธุรกิจของตนเอง
  3. ตลาดสุขใจวัยเก๋า เปิดพื้นที่จำหน่ายสินค้าให้กับพ่อค้าแม่ค้าสูงวัยในพื้นที่ของสาขา

4.แกร็บ ประเทศไทย เปิดโครงการ “แกร็บวัยเก๋า” 60 ปีขี้นไป

ภาพจาก https://bit.ly/4dcuKbk

โดยร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล เปิดโอกาสให้ผู้ที่อายุ 60 ปี สามารถเป็นพาร์ทเนอร์ให้บริการรับ-ส่งผู้โดยสาร หรือจัดส่งอาหาร(เดลิเวอรี่) คุณสมบัติคือต้องไม่มีประวัติอาชญากรรม มีใบอนุญาตขับขี่ส่วนบุคคล

5.เครือเซ็นทรัล เปิดรับผู้สูงอายุ 60 ปี

ภาพจาก https://bit.ly/4k2Js6U

ให้ทำหน้าที่ในการบริการลูกค้า , พนักงานครัว , พนักงานผัก / ผลไม้ , เนื้อสัตว์ / อาหารทะเล เป็นต้น

มีคำถามตามมาอีกว่าเหตุใดในยุคนี้ถึงได้มีแนวคิดในการนำคนวัยเกษียณกลับมาทำงานซึ่งก็ถือว่าส่วนหนึ่งเป็นเพราะนโยบายภาครัฐที่ต้องการให้คนวัยเกษียณ ได้มีโอกาสกลับเข้ามาทำงานอีกครั้งเพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุมีรายได้หลังเกษียณที่เพียงพอ และบรรเทาภาระงบประมาณภาครัฐด้านสวัสดิการชราภาพในระยะยาว ที่สำคัญ ยังเป็นการแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานในบางวิชาชีพ

ในส่วนของธุรกิจต่างๆ เองก็สามารถใช้สิทธิในการหักรายจ่ายได้ถึง 2 เท่าของจำนวนที่ได้จ่ายในการจ้างผู้สูงอายุไปจริง แต่ไม่เกินจำนวน 15,000 บาท ดังนั้น ธุรกิจที่มีการจ้างผู้สูงวัยมีสิทธิหักรายจ่ายสำหรับค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้สูงสุดถึง 30,000 บาท แต่จำนวนการจ้างงานนั้น ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของจำนวนแรงงานทั้งหมด ยกตัวอย่าง บริษัทมีพนักงาน ทั้งสิ้น 310 คน แสดงว่า จำนวนผู้สูงอายุที่บริษัทสามารถรับเข้าทำงานได้ ต้องไม่เกิน 31 คน เป็นต้น

อีกเหตุผลน่าสนใจว่าทำไมคนถึงมองหาคนวัยเกษียณมาทำงานมากขึ้น เพราะส่วนหนึ่งคน Gen Z หรือเด็กรุ่นใหม่อาจมีแนวคิดที่เป็นตัวเองมากเกินไปมีข้อมูลการสำรวจที่น่าสนใจระบุว่า

  • 58% ของคนทำงานวัย Gen Z ประสงค์ที่จะไม่สมัครงาน หากบริษัทนั้น ๆ ไม่ระบุรายได้ตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ ในประกาศรับสมัครงาน
  • 71% ของกลุ่ม Gen Z เห็นว่า ควรมีการพูดคุยเรื่องเงินเดือนอย่างเปิดเผยในที่ทำงาน เพื่อส่งเสริมความโปร่งใสและเป็นธรรมในการทำงาน

ด้วยเหตุผลและอีกหลายปัจจัยจึงทำให้คนวัยเกษียณเป็นที่พูดถึงในการดึงกลับมาทำงาน แต่อย่างไรก็ดีหากต้องการให้ธุรกิจเติบโตเดินหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ สัดส่วนการทำงานระหว่างคนวัยเก๋ากับคนรุ่นใหม่ต้องสอดคล้องและให้คนทั้ง 2 รุ่นได้เรียนรู้จุดแข็งของตัวเอง เพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างสรรค์องกรให้เดินหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด