ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Destination

Destination แปลตรงๆคือจุดหมายปลายทาง คำนี้มองผิวเผินไม่ได้เกี่ยวอะไรกับธุรกิจ แต่ความจริงแล้วเกี่ยวข้องมากถึงขนาดว่าเป็นหนึ่งในเคล็ดลับที่ช่วยให้ทำธุรกิจมีกำไรได้ในระยะยาว

ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเผยไตรมาสแรกปี 67 มีบริษัทตั้งใหม่ 25,003 ราย ยกเลิก 2,809 ราย ถ้านับเฉพาะในเดือนมีนาคม 67 มีธุรกิจใหม่ที่จำนวน 7,733 ราย เลิกกิจการจำนวน 911 ราย โดยธุรกิจที่เลิกกิจการสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจร้านอาหาร

Destination

ข้ามมาดูในส่วนของกลุ่มโรงงานตัวเลขน่าตกใจยิ่งกว่า เพราะแค่ไตรมาสแรกปี 67 มีโรงงานปิดกิจการพุ่งสูงถึง 367 แห่งพนักงานถูกเลิกจ้างมากถึง 10,066 คน และมีแนวโน้มว่าตัวเลขอาจไม่หยุดแค่นี้ด้วย

วิเคราะห์ว่าอะไรคือเหตุผลให้หลายธุรกิจ “ไปไม่รอด” เหตุผลหลักๆก็คือต้นทุนที่สูงขึ้นในทุกด้าน , การแข่งขันที่มากขึ้น , พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป คำถามคือ “แล้วจะมีวิธีไหนทำให้ธุรกิจอยู่รอดในยุคนี้” ทีนี้ก็จะย้อนกลับไปที่ช่วงต้นที่เราพูดถึงคำว่า “Destination”

อธิบายกันตรงๆ Destination Marketing คือการตลาดแบบจุดหมายปลายทาง ใกล้เคียงกับคำว่า “สร้างจุดเด่นให้กับแบรนด์” เพื่อให้มี “ความแตกต่าง” และเพื่อให้กลุ่มลูกค้ามองเห็นความโดดเด่นจนนำไปสู่การซื้อสินค้าหรือบริการนั้นๆ

Destination

ซึ่งก็มีหลายส่วนที่เกี่ยวข้องกันทั้ง ตราสินค้า , แพคเกจจิ้ง , คุณภาพสินค้าและบริการ หรือถ้าเป็นในส่วนของร้านอาหารเครื่องดื่ม อาจต้องเพิ่มในเรื่องบรรยากาศร้าน รวมถึงการตลาดที่ต้องสื่อสารให้คนเห็นภาพชัดเจนว่า เรามีอะไรที่เหนือกว่าน่าสนใจกว่าแบรนด์อื่น

เมื่อธุรกิจมี Destination ที่ชัดเจนย่อมสร้างการจดจำและมีโอกาสเพิ่มยอดขายรวมถึงการสร้างฐานลูกค้าเพิ่มขึ้นได้ในระยะยาว ยกตัวอย่างห้างสรรพสินค้าในปัจจุบันส่วนใหญ่จะเซ็ทธุรกิจให้มี Destination Concepts ที่รวมบริการทุกรูปแบบไว้ในที่เดียว

อย่างร้านอาหารก็ยังมีแยกย่อยทั้งแบบ Take Home, Supermarket และ Cooking Studio และห้างสรรพสินค้าบางแห่งยังมี Co-Workingspace , Sport club , พื้นที่สำหรับครอบครัว ไม่นับรวมบรรดาร้านค้าที่เน้นสินค้าน่าสนใจ

Destination

หรือให้เห็นภาพชัดขึ้นอีกหน่อย “POP MART” ร้านของเล่นสัญชาติจีน น่าจะอธิบายถึงคำว่า Destination Marketing ได้แบบเป็นนามธรรม รูปแบบในการสร้างสรรค์ธุรกิจให้ลูกค้าต้องมาซื้อสินค้า

คือ ใช้กลยุทธ์ในการกระตุ้นให้ลูกค้าอยากซื้อมากขึ้น ด้วยการทำงานร่วมกับศิลปินชื่อดัง ในการผลิตสินค้าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และออกแบบเป็นคอลเลกชัน เพื่อให้เหมาะแก่การสะสม มากไปกว่านั้น ในแต่ละคอลเลคชันที่ผ่านมาของ POP MART ยังมีของเล่นที่เป็นตัวหายากในคอลเลกชันนั้น ๆ ให้ค้นหากันอีกด้วย

Destination

หรือแม้แต่ในธุรกิจแฟรนไชส์ที่ปัจจุบันมีการแข่งขันสูง ไหนจะปัจจัยเสี่ยงในด้านกำลังซื้อที่ผันผวน การเซ็ทธุรกิจให้มี Destination จึงสำคัญมาก ทั้งแฟรนไชส์ร้านอาหาร , ชานมไข่มุก, บริการ , ร้านค้าปลีก สามารถยกระดับตัวเองให้เป็นจุดหมายปลายทางที่ลูกค้าต้องการได้

ซึ่งก็ต้องไปวิเคราะห์ก่อนว่าสิ่งที่ลูกค้าต้องการจริงๆ คืออะไร จากนั้นจึงมาพัฒนาสินค้าและบริการให้เหมาะสม ผนวกรวมกับการพัฒนาสินค้าให้อัพเดทเทรนด์เสมอ มีคุณภาพดี บริการที่ดี เน้นความประทับใจ เมื่อเคยมาซื้อหรือใช้บริการครั้งแรกแล้วจะประทับใจไม่รู้ลืม ที่จะไปบอกต่อคนอื่นให้รับทราบ ก็เท่ากับเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ที่เหนือคู่แข่งมากขึ้นด้วย

Destination

แต่เชื่อเถอะว่าหลายคนมีความคิดย้อนแย้งว่าเรื่องนี้พูดง่ายทำยาก โดยเคล็ดลับสำคัญที่จะทำธุรกิจให้เป็น Destination ได้ต้องเริ่มจาก

  • มองหาโอกาสให้เจอ รู้ว่าลูกค้าต้องการสินค้าหรือบริการแบบไหน
  • พัฒนาต่อยอดธุรกิจเดิม สู่ธุรกิจใหม่ หรือสินค้าใหม่ที่ตอบโจทย์ลูกค้ามากขึ้น
  • สร้างเครือข่าย เพื่อให้มีพันธมิตรในการทำธุรกิจที่จะเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง
  • อย่าลืมใส่ใจลูกค้า ไม่หยุดพัฒนาแม้ความต้องการลูกค้าจะเปลี่ยนไป
  • ธุรกิจต้องพร้อมเปลี่ยน เพราะโลกนี้ไม่มีสูตรสำเร็จแบบตายตัว

Destination

ด้วยกระแสสังคมและโลกยุคใหม่การทำธุรกิจใดๆ ย่อมมีความเสี่ยง แม้แต่การลงทุนแบบแฟรนไชส์ที่มีระบบบริหารจัดการมาให้พร้อม มีฐานลูกค้า มีทีมงานคอยให้คำปรึกษา มีการส่งเสริมด้านการตลาดเป็นอย่างดี

ประเมินว่าเป็นการลงทุนที่มีโอกาสประสบความสำเร็จได้เร็วกว่าการไปเริ่มทำธุรกิจเอง แต่หากเราไม่มีเป้าหมายในการทำธุรกิจที่ชัดเจน ไม่รู้จักเซ็ทธุรกิจให้เป็น Destination ก็ไม่ต่างจากฝูงแกะที่มีแต่สีขาว ซึ่งหากเราทำตัวให้เด่นเป็นแกะดำให้ได้ ลูกค้าจะสนใจเรามาก นำไปสู่โอกาสในการสร้างรายได้ที่ดีมากขึ้น

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด