ตำนาน! โรตีบอย (Rotiboy) วันนี้ไปไหน
หากพูดถึง โรตีบอย เชื่อว่าหลายคนน่าจะรู้จักกันเป็นอย่างดี ขนมาปังอบสัญชาติมาเลเซียไสตล์เม็กซิกัน มีจุดเด่นกลิ่นหอมโชยมาแต่ไกล กลายเป็นกระแสได้รับความนิยมจากลูกค้าคนไทยอย่างรวดเร็ว จนเกิดปรากฏการณ์ต่อแถวยาวเหยียดหลายชั่วโมง แต่ใครจะไปคิดว่าจากขนมาปังอบที่มาแรงในไทยวันนั้น กลับหายไปจากตลาดเมืองไทยอย่างรวดเร็ว
Rotiboy ตำนานขนมปังอบที่สร้างกระแสโด่งดังในทย วันนี้ไปไหน จะกลับมาในไทยหรือไม่
จุดเริ่มต้น Rotiboy

ชื่อ โรตีบอย หรือ Rotiboy เกิดขึ้นจากความผูกพันของผู้ก่อตั้ง Hiro Tan กับหลานชายของเขา เวลาที่เขาทานขนมปังอบกับกาแฟในตอนเช้าทุกวัน หลานชายของเขาจะมาเล่นและหยอกล้ออยู่ใกล้ๆ ทำให้พี่ชายของเขาล้อว่าเป็น Naughty-Boy หมายถึง เด็กซน เด็กดื้อ จึงเป็นแรงบันดาลใจให้เขาตั้งชื่อร้านขนมปังอบว่า Roti-boy
Roti หมายถึง ขนมปัง ดังนั้น Rotiboy หมายถึง เด็กชายขนมปัง มาจากหลานชายของเขานั่นเอง
โรตีบอย (Rotiboy) มีจุดเริ่มต้นเมื่อปี 1998 เปิดสาขาแรกในรัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย ก่อนขยายสาขาในรูปแบบแฟรนไชส์ในหลายประเทศ อาทิ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ไต้หวัน ฮ่องกง จีน เกาหลีใต้ ซาอุดีอาระเบีย ดูไบ อิรัก เมียนมาร์ และประเทศไทย ปัจจุบัน Rotiboy มีสาขาในมาเลเซียเกือบ 100 แห่ง
เกล็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ เรื่อง Roti

Roti หรือ โรตี ที่คนไทยรู้จัก เรียกว่า Roti Canai เป็นแป้งก้อนกลมๆ แล้วนำมาตีให้เป็นแผ่นทอดบนกระทะแบนๆ บางคนใส่กล้วย หรือใส่ไข่ขณะทอดด้วย เสร็จแล้วโรยหน้าด้วยนมข้น น้ำตาลทาย ห่อกระดาศแล้วม้วนเป็นท่อนๆ
ส่วน Roti ในภูมิภาคเอเชียใต้ หมายถึงขนมปัง หรือผลิตภัณฑ์จากแป้งที่มีความหมายครอบคลุมถึงผลิตจภัณฑ์แป้งทุกอย่าง รวมถึงขนมปังตะวันตก และขนมปังอบทุกชนิด
Rotiboy บุกตลาดในไทย

Rotiboy เข้ามาเปิดตลาดในประเทศไทยรูปแบบแฟรนไชส์เมื่อปลายปี 2005 (2548) สาขาแรกๆ เปิดให้บริการอยู่ที่สยามสแควร์ และสีลม ได้รับความนิยมและเป็นกระแสได้อย่างรวดเร็ว กลายเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย จนเกิดปรากฏการณ์ลูกค้ายืนต่อแถวยาวเหยียดเป็นหางว่าว
เพราะความแปลกใหม่ของขนมปังอบ มีกลิ่นหอมของกาแฟ และมีรสชาติเป็นเอกลักษณ์ ที่ทางแบรนด์พยามสื่อสารออกมาว่า Rotiboy เป็นขนมปังอบที่ทานคู่กับกาแฟอร่อยที่สุดในโลก ว่ากันว่าในช่วงแรกแต่ละสาขาของ Rotiboy มียอดขายมากถึง 30,000 ชิ้น/วัน

ต่อมาอีกไม่นานตลาดขนมปังอบกลิ่นหอมในประเทศไทย เริ่มแข่งขันดุเดือด มีแบรนด์คู่แข่งอื่นๆ เกิดขึ้นมากมาย เช่น มิสเตอร์บัน ปาป้าโรตี คอฟฟี่โดม เบอร์เกอร์บอย แม้กระทั่งโลตัส คาร์ฟู ยังทำขนมปังอบกลิ่นหอมขายในห้าง
เมื่อมีแบรนด์เจ้าอื่นๆ ทำขนมปังอบกลิ่นหอมได้รสชาติไม่ต่างกัน แถมหลายๆ เจ้ายังขายถูกกว่า Rotiboy ที่ขายชิ้นละ 25 บาท และบางแบรนด์ขยายสาขาได้ครอบคลุมกว่า Rotiboy ทำให้ผู้บริโภคหาซื้อขนมปังอบได้ง่าย ส่งผลให้กระแส Rotyboy เริ่มซาลงไป ลูกค้าที่เคยต่อแถวซื้อในครั้งแรก บางรายนานๆ จะกลับไปซื้ออีก บางรายไม่กลับไปซื้อเพราะมีทางเลือกหลากหลาย
ในที่สุด Rotiboy ต้องปิดตัวลงในปี 2550 ทั้ง 4 สาขา คือ สยามสแควร์ สีลม เซ็นทรัลลาดพร้าว และข้างบิ๊กซีรามคำแหง
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ Rotiboy ยุติให้บริการและโบกมือลาประเทศไทย

1. แบรนด์ไม่มีความชัดเจน Rotiboy เข้ามาทำตลาดในไทยสามารถสร้างกระแสได้อย่างรวดเร็ว แต่ 2 สาขาแรกที่เปิดเวลาไล่เลี่ยกัน แต่มีเจ้าของเป็นคนละคนกัน ทำให้ขาดรูปแบบและการวางแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน อาจทำให้การดำเนินงานไม่มีทิศทางและเป็นมาตรฐานเดียวกัน
2. Rotiboy เข้ามาเปิดตลาดในไทยใหม่ๆ เป็นกระแสได้เร็ว เกิดปรากฏการณ์คนต่อแถวยาวเหยียด เพราะผู้บริโภคคนไทยมองว่าเป็นของใหม่ ไม่กินมาก่อน เลยอยากลองจนถึงขั้นจ้างคนไปต่อแถว จ้างคนไปซื้อ พอได้ลองรสชาติไม่ได้เลิศเลอเหมือนที่อยากกินตอนแรก ทำให้หลายคนไม่ได้กลับไปซื้อซ้ำอีก เพราะพฤติกรรมคนไทยจะเห่อตามกระแสระยะสั้น จากนั้นก็จะเข้าสู่สภาวะนิ่งชะงักงันจนปิดกิจการ
3. การแข่งขันสูง คู่แข่งทำ่ได้ดีกว่า แม้ว่า Rotiboy จะเป็นแบรนด์ขนมปังอบสไตล์เม็กซิกันเจ้าแรกที่เข้ามาเปิดตลาดในประเทศไทย แต่ด้วยความที่เป็นขนมปังอบที่ใครๆ สามารถทำขึ้นมาขายได้ และทำออกมารสชาติใกล้เคียงหรือดีกว่า อีกทั้งราคาถูกกว่าอีก บางเจ้าขายชิ้นละ 10 บาท ขณะที่ Rotiboy ขาย 25 บาท ที่สำคัญบางเจ้ามีสาขาครอบคลุม ทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น เลือกซื้อเจ้าที่มีสาขาใกล้ๆ เพราะรสชาติไม่ต่างกัน
4. Rotiboy ไม่ใช่ “ของจริง” เมื่อผู้บริหารโรตีบอยสาขาในประเทศไทย ยอมรับว่าในช่วงแรกมีการจ้างหน้าม้ามายืนต่อแถว โดยบอกว่าเป็นเทคนิคสร้างกระแสในการดึงดูดลูกค้า เมื่อลูกค้าที่สัญจรผ่านไปมาเห็นคนยืนต่อคิว ทำให้เกิดอยากลองรสชาติบ้าง ซึ่งเทคนิคจำพวกนี้ มันใช้ได้แค่ช่วงแรกๆ เท่านั้น แต่ระยะยาวต้องเป็น “ของจริง” ไม่เป็นสินค้ากระ
5. เรื่องสุขภาพ หลังจากโรตีบอยทำเอาคนฮิตทั่วกรุงเทพฯ ก็โดนโจมตีว่า เป็นขนมไม่ดีต่อสุขภาพ มีทั้งน้ำตาล ไขมัน และอื่นๆ สารพัด จึงอาจทำให้ผู้บริโภคกลัว ยิ่งคนไทยเป็นพวกตื่นกระแสได้ง่าย ใครทำอะไร คิดอะไร ก็ว่าไปตามกันหมด

ถ้าถามว่า Rotiboy ยังมีสาขาในต่างประเทศหรือไม่ นอกจากมาเลเซียที่มีเกือบ 100 สาขาในปัจจุบัน จากข้อมูลในหลายๆ ประเทศที่ Rotiboy ไปเปิดตลาดมาแล้ว ได้ยุติการให้บริการเช่นกัน
ส่วนในประเทศไทยนั้น จากการค้นหา Rotiboy ทางกูเกิ้ล พบว่ามีการสร้างเพจ Rotiboy Thailand ขึ้นในช่วงปี 2014 – 2018 (2557 – 2561) และได้ประกาศว่า Coming soon Thailand พร้อมจะกลับเข้ามาในประเทศไทยอีกครั้ง
โดยโมเดลเป็นลักษณะสแตนด์อโลน โฉมใหม่ ไฉไลกว่าเดิม มีทั้งเมนู Signature Bun, ขนมเค้ก, อาหาร, กาแฟ, เครื่องดื่มร้อน-เย็น โดยพร้อมเปิดให้บริการภายในสิ้นปี 2018 แต่จนถึงวันนี้ยังไม่เห็นกลับเข้ามาเปิดตลาดในไทยเลย

สรุปก็คือ ขนมปังอบกลิ่นหอม RotiBoy เปรียบเสมือนเป็นสินค้ากระแส ช่วงแรกสามารถทำให้เกิดพลังบอกต่อกันแบบปากต่อปาก มิหนำซ้ำยังมีข่าวออกมาว่า เจ้าของร้านมีการจ้างคนมายืนต่อแถวให้คนเห็น เพื่อดึงดูดลูกค้า เพราะเจ้าของธุรกิจรู้จักพฤติกรรมผู้บริโภคชาวไทยดีว่า คนไทยชอบมุง ชอบบ้าตามกระแส พอเห็นคนอื่นทำก็ทำตาม เพราะกลัวตกเทรนด์
ที่สำคัญก็คือ Rotiboy เป็นสินค้าที่คนอื่นสามารถลอกเลียนแบบได้ง่าย ทำให้มีคู่แข่งจำนวนมาก สุดท้ายถ้าคู่แข่งสามารถทำได้ดีกว่า รสชาติอร่อยกว่า ราคาถูกกว่า…ขมปังอบโรตีบอยที่ว่าแน่! ก็เสื่อมมนต์ขลังได้ในที่สุด
แหล่งข้อมูล
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)