ชาไข่มุก ไอ-ฉะ! กำไรดีแค่ไหน? ทำไมคนสนใจลงทุนทั่วประเทศ
สิ่งที่ขายดีมากที่สุดในตอนนี้คือ “เครื่องดื่ม” โดยเฉพาะชานมไข่มุก ที่ขายดีเป็นพิเศษ เพราะเสน่ห์ของชานมไข่มุกที่เป็นเครื่องดื่มแก้กระหาย คลายเครียดได้ แถมหลายคนต้องอยู่กับบ้านมากขึ้น เมนูเครื่องดื่มสุดฮิตที่มักจะสั่งเดลิเวอรี่กันก็คือ “ชานมไข่มุก” คำถามคือ เมื่อสินค้ามีความต้องการสูงมาก การคิดเปิดร้านชานมไข่มุกควรเริ่มต้นแบบไหน อย่างไร เพื่อให้ประสบความสำเร็จได้เร็วที่สุด
www.ThaiSMESCenter.com เชื่อว่าการลงทุนในระบบแฟรนไชส์คือวิธีลัดที่ง่ายและเห็นผลได้มากที่สุด หนึ่งในสุดยอดแฟรนไชส์ที่คนไทยรู้จักอย่างดีได้แก่ ชาไข่มุก ไอ-ฉะ ปัจจุบันมีการขยายสาขาทั่วประเทศกว่า 222 สาขาพร้อมการพัฒนารูปแบบการลงทุนที่หลากหลาย เอาใจคนต้องการลงทุนได้มากที่สุด ที่สำคัญเป็นแฟรนไชส์ลงทุนง่าย ได้กำไรเร็ว สร้างอาชีพให้คนไทยได้แน่นอน
เปิดร้าน ชาไข่มุก ไอ-ฉะ กำไรดีแค่ไหน?
เราเชื่อว่าคงไม่ต้องพูดถึงความเป็นมาของชาไข่มุก ไอ-ฉะ เพราะทุกคนน่าจะทราบกันเป็นอย่างดีเพราะนี่คือแฟรนไชส์ที่ก่อตั้งมานานกว่า 9 ปี มีเมนูมากกว่า 30 รายการ เช่น ชา กาแฟ น้ำผลไม้ต่างๆ โดยสินค้าที่ขึ้นชื่อของทางร้านคือ ชานมไข่มุก, ชาเขียวนม, โกโก้, ช็อคบานาน่า, เผือก, กาแฟมะพร้าว, คาปูชิโน่, บ๊วยแดง, ลิ้นจี่ เป็นต้น
สิ่งที่คนน่าจะอยากรู้มากที่สุดคือ เปิดร้านชาไข่มุก ไอ-ฉะ แล้วกำไรดีแค่ไหน โดยมีระยะเวลาในการคืนทุนประมาณ 3 เดือนขึ้นอยู่กับทำเลเป็นสำคัญ กำไรเฉลี่ยต่อแก้วประมาณ 15-16 บาท หากเรามีทำเลที่ดีเช่น หน้าโรงเรียน โรงงาน สถานที่ชุมชน และขายได้แค่วันละ 50 แก้ว เราจะมีรายได้ต่อเดือนกว่า 22,500 บาท และหากนำมาหักค่าแรง ค่าเช่า เราก็น่าจะมีกำไรต่อเดือนไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท และหากเราขายได้มากขึ้น กำไรของเราก็จะยิ่งมากขึ้น จึงเป็นเหตุผลว่าทำไม ชาไข่มุกไอฉะ ถึงขยายสาขาได้ง่ายและรวดเร็วกว่า 222 แห่ง
แฟรนไชส์ซีหลายคนที่เริ่มจากการขาย 1 แฟรนไชส์และเมื่อได้ผลตอบรับดีมีการซื้อแฟรนไชส์เพิ่มเป็น 2-3 แห่งจะยิ่งลดต้นทุนได้มากขึ้นเพราะสามารถต้มไข่มุก ต้มชาครั้งเดียวแต่สามารถขายได้หลายสาขา ก็เป็นอีกหนึ่งการลงทุนน่าสนใจที่เชื่อว่าเหมาะกับการลงทุนในยุคนี้มาก
ค่าแฟรนไชส์ในการลงทุนเริ่มต้นเพียง 39,000 บาท
แพคเกจการลงทุนของชาไข่มุก ไอ-ฉะ มีทั้งหมด 4 แบบ เริ่มจาก
- แบบไม่มีเคาน์เตอร์ Set A ราคา 39,000 บาท อุปกรณ์และวัตถุดิบพร้อมขาย เครื่องซีลมือโยก
- แบบเคาน์เตอร์ 1.5 ม. Set B ราคา 59,000 บาท อุปกรณ์และวัตถุดิบพร้อมขาย เครื่องซีลออโต้ + เคาน์เตอร์ 1.5 m.
- แบบเคาน์เตอร์ 2 m. Set C ราคา 69,000 บาท อุปกรณ์และวัตถุดิบพร้อมขาย เครื่องซีลออโต้ + เคาน์เตอร์ 2 m.
- แบบซุ้ม 2 m. Set E ราคา 79,000 บาท อุปกรณ์และวัตถุดิบพร้อมขาย เครื่องซีลออโต้ + ซุ้ม 2 m. แบบร้านบิ้วอิน
ผู้สนใจนั้นเพียงแค่เลือกแบบลงทุนที่ต้องการและติดต่อกับทางไอฉะเพื่อนัดดูทำเลการขาย เมื่อพิจารณาว่าเหมาะสมก็เป็นส่วนของการทำสัญญาและการฝึกอบรมเทคนิคการขาย ซึ่งธุรกิจของไอฉะหากอยู่ในทำเลที่ดีใช้เวลาไม่เกิน 3 เดือนก็คืนทุนและมีกำไรได้
จัดหนักโปรโมชั่น “เคาร์เตอร์” จาก 59,000 บาท เหลือเพียง 50,000 บาทเท่านั้น
เอาใจคนอยากลงทุนชาไข่มุก ไอ-ฉะ งานนี้มีจัดโปรโมชั่นลดราคาพิเศษสำหรับ Set B ราคา 59,000 บาท เหลือเพียง 50,000 บาท โดยสิ่งที่จะได้รับยังเหมือนเดิมทุกประการคือ อุปกรณ์และวัตถุดิบพร้อมขาย เครื่องซีลออโต้ + เคาน์เตอร์ 1.5 m. และวัตถุดิบชุดแรกอีกจำนวนมาก ถือเป็นโปรโมชั่นที่ลดราคาพิเศษทำให้ต้นทุนในการทำธุรกิจถูกลงอย่างมาก มีโอกาสที่จะคืนทุนไว กำไรเร็วยิ่งกว่าเดิม
นอกจากนี้ทางแฟรนไชส์ชาไข่มุก ไอ-ฉะ ยังพร้อมพัฒนาสินค้าใหม่ๆ ให้อย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมการตลาดให้ผู้ลงทุนเป็นอย่างดีและมีทีมงานมืออาชีพคอยให้คำปรึกษา เพื่อให้การลงทุนประสบความสำเร็จได้อย่างสูงสุด
ขั้นตอนการเริ่มต้นสู่เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ชานมไข่มุก ไอ-ฉะ
สำหรับใครที่ได้ศึกษาข้อมูลของไอฉะแล้วรู้สึกว่าน่าสนใจ ต่อไปนี้เป็นแนวทางและขั้นตอนที่สำคัญเพื่อให้เราเป็นเจ้าของแฟรนไชส์ยอดนิยมนี้ได้สมความตั้งใจ
1.เลือกแบบการลงทุนที่เหมาะสมกับตัวเอง
เมื่อรู้ราคาและแพคเกจของแฟรนไชส์แล้วให้เราเลือกตัดสินใจว่าแพคเกจไหนที่เหมาะสมโดยตอนนี้มีโปรโม “เคาน์เตอร์” ลดราคาพิเศษจาก 59,000 เหลือเพียง 50,000 บาท ซึ่งถือว่าน่าสนใจมาก และเมื่อเลือกแพคเกจที่ต้องการได้แล้วขั้นต่อไปคือการเตรียมความพร้อมก่อนเปิดร้าน
2.ฝึกอบรมก่อนเปิดร้าน
ทางแฟรนไชส์จะมีการสอนเทคนิควิธีการทำเครื่องดื่มเมนูต่างๆ ตลอดจนวิธีการบริหารจัดการร้านที่ทำให้เราไม่ต้องใช้ต้นทุนมากทั้งนี้เรื่องทำเลก็เป็นสิ่งสำคัญทางไอฉะจะทำการเช็คพื้นที่ทำเลค้าขายที่ผู้ลงทุนเสนอเข้ามาโดยทางไอฉะจะดูแลไม่ให้สาขาของแฟรนไชส์ในอยู่ใกล้กันมากเกินไปทั้งนี้เพื่อเพิ่มโอกาสให้ผู้ลงทุนมีโอกาสในการทำกำไรได้มากขึ้น
3.เริ่มต้นเปิดร้านมีทีมงานคอยให้คำปรึกษา
ภาพจาก แฟรนไชส์ชาไข่มุก ไอ-ฉะ
ในการเปิดร้านสำหรับมือใหม่อาจเป็นเรื่องลำบากที่ต้องรับมือกับลูกค้าต่างๆ แม้ผู้ลงทุนจะได้รับการสอนเทคนิคต่างๆ มาแล้วเป็นอย่างดี แต่ในการขายจริงที่อาจมีปัญหาใหม่ๆที่คาดไม่ถึง ทางไอฉะยินดีให้คำปรึกษากับผู้ลงทุนทุกคนในทุกปัญหารวมถึงทางไอฉะเองยังช่วยผู้ลงทุนคิดโปรโมชั่นที่เหมาะสมให้ร้านค้าดึงดูดลูกค้าได้มากขึ้นด้วย
เป้าหมายของชาไข่มุก ไอ-ฉะ คือการเป็นแฟรนไชส์สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับคนไทย พร้อมกันนี้ได้วางแผนที่จะขยายสาขาให้มากขึ้น ทั่วประเทศเพื่อรองรับกับความต้องการของลูกค้าที่มีมากขึ้น พร้อมการพัฒนาสินค้าใหม่ๆ ให้ถูกใจกลุ่มเป้าหมายและเพื่อโอกาสในการขายที่มากขึ้นสมกับเป็นสุดยอดแฟรนไชส์ของคนไทยได้อย่างแท้จริง
ต้องการลงทุนแฟรนไชส์ ชาไข่มุก ไอ-ฉะ
โทร. : 084-3863888, 085-3864488
E-Mail : sale@i-chamilktea.com, suratsudsai@gmail.com
Website : www.i-chamilktea.com
Facebook : icha168
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3HJrkxr
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)