ชานมไข่มุกไต้หวัน KOI Thé โคอิ เตะ 9 ปี 70 สาขาในไทย ยังไหวอยู่ไหม

ย้อนกลับไปเมื่อราวๆ 4-5 ปีก่อน ตลาดชานมไข่มุกในประเทศไทยได้กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง จนเกิดเป็นกระแส “ชานมไข่มุกฟีเวอร์” ที่ลุกเป็นไฟในตลาดชานมเมืองไทย ยิ่งในกรุงเทพฯ แค่เดินผ่านหน้าร้าน KOI Thé (โคอิ เตะ) ก็เห็นคนยืนต่อแถวยาวล้นออกมานอกร้าน หลายคนยอมต่อคิวนานเป็นชั่วโมง เพื่อได้ลิ้มรสชานมสีเหลืองทองที่เขาว่า “เด็ดจนต้องกลับมาอีก”

ในสมรภูมิตลาดชานมเมืองไทยมีทั้งแบรนด์ไทยและต่างชาติต่างพากันลงสนาม แข่งขันกันสร้างสูตรเด็ด เคลมว่าไข่มุกเหนียวนุ่ม น้ำชาหอมกลมกล่อม เรียกได้ว่า เป็นยุคทองของชานมไข่มุกเลยก็ว่าได้
ถ้าถามว่าตอนนี้ เครื่องดื่มชานมไข่มุกยังเป็นดาวเด่นในวงการอยู่ไหม

โดยเฉพาะแบรนด์ ชานมไข่มุกไต้หวัน KOI Thé โคอิ เตะ ยังมีคนยืนต่อแถวหรือไม่ หรือกลายเป็นแค่กระแสในช่วงแรกๆ ที่มาแล้วก็จากไป ลองมาย้อนดูเส้นทางของชานมไข่มุก KOI The’ ในไทยกันอีกครั้ง

แบรนด์ชานมพรีเมียมในไทยระดับเดียวกับ KOI The’ เมนูซิกเนเจอร์ Golden Bubble Milk Tea ราคา 80 บาท

  • GAGA เมนูซิกเนเจอร์ ชานมกาก้า 80 บาท
  • Karun เมนูซิกเนเจอร์ ชาไทยการัน 85 บาท
  • Chongdee Teahouse เมนูซิกเนเจอร์ ชาชงดี 85 บาท
  • Jian Cha เมนูซิกเนเจอร์ ชานมคามิเลีย 100 บาท
  • Nose Tea เมนูซิกเนเจอร์ 120 บาท
  • Khiri Thai Tea เมนูซิกเนเจอร์ On Cloud 130 บาท
  • Fire Tiger เมนูซิกเนเจอร์ ชานมเสือพ่นไฟ 150 บาท
  • Peace Oriental Teahouse เมนูซิกเนเจอร์ Matchless Clear Matcha 225 บาท
  • Chagee เมนูซิกเนเจอร์ ชานมมะลิ 95 บาท
  • Taning เมนูซิกเนเจอร์ ถาหนิงชามะนาว 95 บาท
  • Chapanda เมนูซิกเนเจอร์ Brown Sugar Bobo Milk 90 บาท
  • Cha i Enjoy เมนูซิเนเจอร์ ชานมไข่มุก 100 บาท
  • Naixue (NaiSnow) เมนูซิกเนเจอร์ Premium Black Milk Tea with Boba 100 บาท
  • Molly Tea เมนูซิกเนเจอร์ ชานมมะลิพรีเมียม 110 บาท
  • The Alley เมนูซิกเนเจอร์ Royal No.9 Milk Tea 110 บาท

Fortunebusinessinsights รายงานขนาดตลาดชานมไข่มุกทั่วโลกมีมูลค่าอยู่ที่ 2.63 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2024 และคาดการณ์ว่าตลาดจะเติบโตจาก 2.83 พันล้านดอลลาร์ในปี 2025 ไปเป็น 4.78 พันล้านดอลลาร์ภายในปี 2032

ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ครองส่วนแบ่งตลาดสูงสุดของตลาดชานมไข่มุก โดยมีสัดส่วนถึง 43.35% ในปี 2024

จุดเริ่มต้น KOI The’

ชานมไข่มุกไต้หวัน KOI Thé

KOI The’ (โคอิ เตะ) ก่อตั้งขึ้นโดย “โคลอี้ หม่า” (Khole Ma) ซึ่งก่อนจะมาเป็น KOI The’ เธอกับครอบครัวทำธุรกิจร้านไก่ทอดชื่อว่า 50 Lan’s (อู่สือหลัน) ในนครไถจง ทางภาคกลางของไต้หวัน ทางร้านไม่ได้ขายไก่ทอดอย่างเดียว มีเครื่องดื่มชาขายควบคู่ไปด้วย แต่สินค้าที่ขายดีก็คือชานมไข่มุก หลังจากนั้นทางร้านจึงเลิกขายไก่ทอดและหันมาขายชานมไข่มุกอย่างเดียว

หลังจากนั้นไม่นาน 50 Lan’s ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว กลายเป็นร้านชานมไข่มุกที่มีมากถึง 400 สาขาในไต้หวัน ครองส่วนแบ่งตลาดชานมในไต้หวันกว่า 29%

ในช่วงเวลาที่ Khole Ma ยังช่วยเหลือกิจการครอบครัวทำหน้าที่ดูแลแฟรนไชส์ในตลาดต่างประเทศ เธอได้มีไอเดียอยากทำธุรกิจที่แตกต่างไปจากร้าน 50 Lan’s ของครอบครัว จากการที่เธอเองเป็นคนไต้หวันแท้ๆ และชื่นชอบการดื่มชาเป็นชีวิตประจำวัน เธอจึงเลือกตัดสินใจเลือก “เครื่องดื่มชานมไข่มุก” มาต่อยอดเป็นธุรกิจของตัวเอง

จนกระทั่งในปี 2006 แฟรนไชส์ชานมไข่มุก KOI The’ เปิดให้บริการสาขาแรกในชื่อ KOI Cafe’ เริ่มจากการขายเมนูเครื่องดื่มง่ายๆ ธรรมดาทั่วไป ก็คือ ชาดำ+นม และเพิ่มไข่มุก ซึ่งทำมาจากแป้งมันสำปะหลังหรือเยลลี่ผลไม้ เวลาเคี้ยวจะเหนียวหนึบพอดี

สำหรับชื่อ KOI มีที่มาจาก 2 แรงบันดาลใจ คือ

  1. เมื่อมองตัวอักษร KOI ในแนวตั้งจะดูคล้ายกับอักษรจีนตัว “豆” (แปลว่า ถั่ว) สื่อถึงเมล็ดกาแฟ
  2. ชื่อเล่นของ Khole Ma คือ “เหลียน” (อักษรจีน: 戀) ซึ่งออกเสียงคล้ายคำว่า KOI

หลังจากเปิดสาขาแรก อีกไม่นานร้าน KOI Cafe’ ได้ผลตอบรับจากลูกค้าในไต้หวันอย่างรวดเร็ว ทำให้ Khole Ma ไม่อยากให้แบรนด์ของเธอแย่งส่วนแบ่งตลาดชานมไข่มุกในไต้หวัน และแข่งขันกันเองกับร้าน 50 Lan’s ของครอบครัว เธอจึงวางเป้าหมายขยายตลาดชานมไข่มุกไปยังต่างประเทศ

ประเทศแรกที่เธอวางเป้าหมายเปิดร้าน KOI คือ สิงคโปร์ เพราะมีภาพลักษณ์เป็นเมืองปลอดภัย และมีวัฒนธรรมใกล้เคียงกับไต้หวัน ต่อมาในเดือน พ.ย. 2007 เปิดสาขาแรกที่ Toa Payoh ซึ่งไม่ใช่แหล่งท่องเที่ยว ทำให้ยอดขายช่วงแรกไม่ดีนัก โดยในปีแรกของเปิดตลาดที่สิงคโปร์ บริษัทไม่สามารถทำกำไรได้เลย

ในช่วงแรก Khole Ma ต้องขนกระสอบน้ำตาลระยะทาง 25 กม. (16 ไมล์) ระหว่างสาขาต่างๆ ด้วยตัวเอง เนื่องจากค่าจ้างคนขับรถในสิงคโปร์ค่อนข้างแพง แต่เธอจะจ้างคนขับรถเมื่อจำนวนสาขามีมากเกินกว่าที่เธอจะจัดการได้ด้วยตนเอง ภายในปี 2011 KOI สามารถขยายสาขาในสิงคโปร์ได้ถึง 8 สาขา

หลังจาก KOI เริ่มตั้งหลักได้ในสิงคโปร์แล้ว Khole Ma จึงเริ่มทำการวิจัยตลาดประเทศอื่นๆ เธอสังเกตว่าคนรุ่นใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จำนวนมาก ยอมไม่กินข้าวหนึ่งมื้อเพื่อซื้อชานมไข่มุก ซึ่งถือเป็นของกินเล่นสุดพิเศษ

หลังจากนั้น KOI จึงเริ่มขยายไปยังประเทศต่างๆ ได้แก่ จีน กัมพูชา ฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเก๊า มาเลเซีย เมียนมา ไทย และเวียดนาม ไม่เพียงเท่านี้ KOI ยังบินข้ามน้ำข้าทะเลไปเปิดสาขาที่ดูไบ และนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกาอีกด้วย

สำหรับจีนถือเป็นประเทศที่ 2 ของ KOI ในการเปิดตลาดต่างประเทศ เปิดสาขาแรกในปี 2010 แต่ใช้ชื่อใหม่เป็น 1 Diandian เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการละเมิดเครื่องหมายการค้า และได้ขยายสาขาอย่างรวดเร็ว ท่ามกลางแข่งขันของแบรนด์ชาจีนในตลาดหลากหลายแบรนด์ จนมาถึงปลายปี 2022-2023 จำนวนสาขาของ 1 Diandian ลดลงเกือบ 1,000 สาขา เหลือเพียง 55 สาขาเท่านั้น

ในปี 2015 ได้เปลี่ยนชื่อจาก KOI Café เป็น KOI Thé เพื่อสื่อภาพลักษณ์การเป็นร้านชาโดยเฉพาะ ไม่ใช่คาเฟ่ทั่วไป

ปี 2018 KOI Thé มีจำนวน 213 สาขาใน 12 ประเทศ และมีรายได้ต่อปีอยู่ที่ 4.5 พันล้านดอลลาร์ไต้หวัน (ประมาณ 161,105,542 ดอลลาร์สหรัฐ)

และในปี 2021 KOI The’ ในสหรัฐอเมริกาได้เปลี่ยนชื่อเป็น FIFTYLAN เพื่อเป็นแนวทางการรีแบรนด์ในอนาคต และให้สอดคล้องกับแบรนด์แม่ 50 Lan’s ในไต้หวัน

ภายในปี 2023 KOI The’ ได้ร่วมมือกับกลุ่มทุน TAD Group เปิดร้านในถนน Sat Masjid ย่าน Dhanmondi เมืองธากา ประเทศบังกลาเทศ

ถัดมาในปี 2024 KOI The’ ได้วางเป้าหมายแข่งขันในตลาดชาระดับพรีเมียม และตั้งราคาสินค้าในระดับเดียวกับแบรนด์กาแฟ Starbucks โดยร้าน KOI แต่ละสาขางจะมีการออกแบบตกแต่งอย่างหรูหรา มีที่นั่งสำหรับลูกค้าโดยเฉพาะ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วพนักงานเก่าจากแบรนด์แม่ 50 Lan จะเป็นผู้ดูแลสาขา KOI ในแต่ละประเทศ

ชานมไข่มุกไต้หวัน KOI Thé

ปัจจุบัน KOI The’ มีสาขาใน 14 ประเทศ เช่น ไต้หวัน (มีเพียงสาขาต้นแบบ), สิงคโปร์, จีน, มาเก๊า, ญี่ปุ่น, เวียดนาม, กัมพูชา, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, พม่า, ดูไบ, สหรัฐอเมริกา (ใช้ชื่อ “FIFTYLAN”), บังกลาเทศ, และไทย มีจำนวนทั้งหมด 586 สาขาทั่วโลก

สำหรับประเทศไทยถือเป็นประเทศที่ 10 ที่แฟรนไชส์ชานมไข่มุก KOI The’ เข้ามาขยายตลาดเมื่อช่วงเดือน ก.ค. 2016 เปิดสาขาแรกที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลบางนา ปรากฏว่าผลตอบรับยังไม่ดี เพราะยังเป็นแบรนด์น้องใหม่ ลูกค้าคนไทยยังไม่รู้จัก

อีกทั้งไปเปิดค่อนข้างไกลทำให้คนเข้าถึงได้ยาก ต่อมาอีก 3 เดือนเปิดสาขา 2 ที่ศูนย์การค้าสยามสแควร์วัน ปรากฏว่าเงียบเหมือนเดิม เพราะเป็นช่วงหลังเหตุการณ์ในหลวง ร.9 สวรรคต

พอถึงช่วงปลายปี 2016 สถานการณ์ต่างๆ ภายในประเทศไทยเริ่มดีขึ้น หลังเปิดสาขาที่ 3 ได้ไม่นานก็ได้มาเปิดวสาขาที่ 4 ในปี 2017 และขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งมีสาขามากถึง 70 สาขาในปัจจุบัน

จุดเด่นของ KOI The’ คือ เครื่องดื่มทุกแก้วจะชงสดใหม่ทุกแก้ว เป็นชาไข่มุกแบบไต้หวันแท้ๆ ขั้นตอนการชงชาจะมีความพิถีพิถัน วัตถุดิบหลักทั้งหมดนำเข้าจากไต้หวัน เพื่อความเป็นมาตรฐานเดียวกันทุกประเทศ

กรรมวิธีในการชงชาของ KOI The’ มีความเป็น Homemade สูง เน้นคุณภาพและความสดใหม่ของเครื่องดื่ม ต้มชาแบบไต้หวันแท้ แต่ละครั้งจะเก็บไว้ไม่เกิน 3 ชั่วโมง ส่วนไข่มุกเม็ดเล็กสีเหลืองทอง มีความหวานในตัว แช่ในน้ำนานๆ จะไม่อืด ไม่บวม

เมื่อต้มเสร็จแล้วถ้าใช้ไม่หมดภายใน 2 ชั่วโมง จะเอาทิ้งทั้งชาและไข่มุก เพื่อรักษาความสดและความเด้งของไข่มุกอย่างสม่ำเสมอ จึงทำให้ KOI The’ สามารถดึงดูดลูกค้าได้ตั้งแต่วันแรกจนถึงปัจจุบัน แม้ราคาขายจะแพงกว่าอีกหลายๆ แบรนด์ในตลาดเมืองไทย โดยราคาเครื่องดื่ม KOI The’ เริ่มต้นที่ 55-155 บาท

ชานมไข่มุกไต้หวัน KOI Thé

5 เมนูของ KOI The’ ที่ได้รับความนิยมจากลูกค้า

  1. Golden Bubble Milk Tea
  2. Black Tea Macchiato
  3. KOI Thai Tea
  4. Jasmine Green Tea
  5. Passion Frult Green Tea

ระดับความหวานในแต่ละเมนู

  • No Sugar 0%
  • Quarter Sugar 25%
  • Half Sugar 50%
  • Less Sugar 70%
  • Full Sugar 100%

ระดับน้ำแข็งในแต่ละเมนู

  • Hot Drinks
  • No Ice
  • Little Ice
  • Less Ice
  • normal Ice

รายได้ของบริษัท โคอิ เตะ (ประเทศไทย) จำกัด

  • ปี 2016 รายได้ 3.5 ล้านบาท ขาดทุน 2 ล้านบาท
  • ปี 2017 รายได้ 62 ล้านบาท กำไร 8 ล้านบาท
  • ปี 2018 รายได้ 304 ล้านบาท กำไร 81 ล้านบาท
  • ปี 2019 รายได้ 519 ล้านบาท กำไร 107 ล้านบาท
  • ปี 2020 รายได้ 386 ล้านบาท กำไร 36 ล้านบาท
  • ปี 2021 รายได้ 309 ล้านบาท ขาดทุน -3.5 ล้านบาท
  • ปี 2022 รายได้ 485 ล้านบาท กำไร 35 ล้านบาท
  • ปี 2023 รายได้ 583 ล้านบาท กำไร 52.8 ล้านบาท
  • ปี 2024 รายได้ 609 ล้านบาท กำไร 32 ล้านบาท

ชานมไข่มุกไต้หวัน KOI Thé

ความท้าทาย KOI The’ ในตลาดเมืองไทย

1.อันดับแรกเรื่องของราคาค่อนข้างแรง เมื่อเทียบกับรสชาติที่ผู้บริโภคชาวไทยหลายคนบอกว่ายังไม่ว้าวเท่าไหร่ อาจจะแตกต่างที่ตัวไข่มุกและความเป็นแบรนด์ชานมจากไต้หวัน

2.การข่างขันในตลาดสูง ธุรกิจชานมไข่มุกใช้ลงทุนไม่สูงมาก ทำให้คนที่อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเองหันมาเปิดแข่งกัน หรือบางคนไม่อยากทำเองก็หันไปซื้อแฟรนไชส์มาเปิด ทั้งแฟรนไชส์จากจีน ไต้หวัน และไทย

3.KOI The’ ส่วนใหญ่เปิดสาขาในห้างสรรพสินค้า และแหล่งท่องเที่ยว ทำให้ต้องเผชิญกับค่าเช่าที่สูง ประกอบกับนักท่องเที่ยวเริ่มลดน้อยลงไป ทำให้สูญเสียรายได้ที่สำคัญในส่วนนี้ไป

 

อ้างอิงข้อมูล

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช