กลยุทธ์โต้กลับ CP เปิด Lotus´s go fresh ใกล้ 7-Eleven กันคู่แข่ง CJ
ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา หลายคนน่าจะเคยเห็นร้านสะดวกซื้อ CJ (Supermarket, More, X) เดินหน้ากลยุทธ์ Hotelling model เปิดสาขาใกล้ๆ หรือติดกับ 7-Eleven ยักษ์ใหญ่ร้านสะดวกซื้อในเครือ CP
จะเห็นได้ว่าโมเดลการเปิดสาขาของ CJ ใกล้ๆ กับ 7-Eleven หลายคนอาจมองว่าไม่มีทางสู้กับ 7-Eleven ได้แน่นอน แต่โมเดลนี้กลับสู้ได้อย่างสูสี บางสาขาของ CJ ดึงดูดลูกค้าใช้บริการได้มากกว่าด้วย
สาเหตุที่ร้าน CJ กล้าไปเปิดสาขาใกล้ๆ 7-Eleven ที่มีฐานลูกค้าอยู่พื้นที่นั้นอยู่แล้ว ก็เพราะว่า CJ รู้เหมือนว่าฐานกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของพวกเขาอยู่ตรงนั้นด้วย เป็นฐานกลุ่มลูกค้าเดียวกัน ทำไมต้องไปเสียเวลาหาทำเลเปิดร้านใหม่ เพียงแค่สืบเสาะให้รู้ว่าข้างๆ ร้าน 7-Eleven ในแต่ละสาขา ยังมีพื้นที่ว่างให้เช่าเปิดร้าน CJ อยู่ไหม
จากการสำรวจของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ พบว่า ทำเลที่ร้านสะดวกซื้อ CJ เปิดใกล้ๆ กับ 7-Eleven ถ้าไม่ใช่พื้นที่ว่างเปล่า ก็จะเป็นตลาดนัด ตลาดสดอยู่ข้างๆ เมื่อทีมงาน CJ ลงพื้นที่ติดต่อขอเช่าเปิดร้าน แทบจะไม่มีเจ้าของพื้นที่ไหนปฏิเสธเลยแม้แต่คนเดียว เพราะได้ค่าเช่าตกอยู่ที่ 1-2 แสนบาทต่อเดือน แถมไม่ต้องเสียภาษี ได้เงินเยอะกว่าเก็บค่าเช่าจากพ่อค้าแม่ค้าหลายเท่า
การที่ CJ ใช้กลยุทธ์ Hotelling Model สู้กับ 7-Eleven ที่เป็นผู้นำร้านสะดวกซื้อของโลก เพราะผู้บริหาร CJ มองว่าถ้าทำได้ดีกว่า 7-Eleven จะดึงดูดให้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายหันมาใช้บริการเอง
มาถึงตรงนี้หลายคนอาจมองว่า CJ กำลังได้เปรียบ 7-Eleven เพราะลูกค้าในพื้นที่ที่เคยใช้บริการร้าน 7-Eleven หันมาเข้าร้าน CJ เพราะมีถุงให้ ไม่ต้องซื้อถุงเหมือน 7-Eleven บวกกับสินค้าก็มีให้เลือกหลากหลาย สแกนจ่ายได้ด้วย
แต่อย่าลืมว่าการแข่งขันในสมรภูมิหรือบนเวที ต้องมีการตอบโต้หรือโต้กลับจากคู่แข่งเป็นธรรมดาอยู่แล้ว
เกี่ยวกับเรื่องนี้ก็เป็นจริงอย่างว่า เพราะล่าสุด CP ตอบโต้ CJ ด้วยกลยุทธ์ Hotelling Model เช่นเดียวกัน โดยเปิดร้าน Lotus´s go fresh ติดกับร้าน 7-Eleven ป้องกันไม่ให้ CJ เข้ามาเปิดสาขาข้างๆ 7-Eleven
แม้ว่ากลยุทธ์ดังกล่าวเป็นการแย่งลูกค้ากันเอง ระหว่าง 7-Eleven กับ Lotus´s go fresh แต่ก็ยังดีกว่าให้ร้านคู่แข่งอย่าง CJ มาแย่งลูกค้าไป โดยที่เครือ CP ไม่ได้อะไรเลย คงจะเห็นได้จากหลายๆ สาขาที่มี CJ เปิดอยู่ข้างๆ
สำหรับสาขา 7-Eleven ที่เครือ CP เอา Lotus´s go fresh ไปเปิดอยู่ข้างๆ คือ สาขาตลาดสินทวี (พระราม 2 ซอย 43 ซอย รพ.บางมด) คาดว่าจะเปิดบริการได้ภายในสิ้นเดือน พ.ค. 68 ซึ่งทำเลตรงนั้นเป็นพื้นที่ทำตลาดนัดหรือตลาดสดมาก่อน ถือเป็นแนวคิดเดียวกันกับ CJ ที่เลือกเช่าพื้นที่เปิดสาขาทำเลตลาดนัดข้างๆ 7-Eleven
คาดว่าต่อจากนี้ไปข้างๆ ร้าน 7-Eleven ถ้าไม่ใช่ร้าน CJ มาเปิด ก็น่าจะเป็น Lotus´s go fresh เพราะเครือ CP ไม่ต้องการให้ CJ มาแย่งลูกค้าไป ที่สำคัญก็คือ Lotus´s go fresh ขายของสดเป็นส่วนใหญ่ ทำให้มีกลุ่มลูกค้าต่างจาก 7-Eleven
วิเคราะห์กลยุทธ์ CP เปิด Lotus ใกล้ 7-Eleven เพื่อสกัด CJ
การที่เครือ CP ซึ่งเป็นเจ้าของทั้ง 7-Eleven และ Lotus’s go fresh เริ่มวางกลยุทธ์เปิด Lotus’s ใกล้กับ 7-Eleven เป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก เพราะสะท้อนถึงการปรับยุทธศาสตร์เพื่อ “กันคู่แข่ง” อย่าง CJ ที่ใช้วิธี “เปิดข้าง” หรือ “ประกบ” ร้าน 7-Eleven ในหลายพื้นที่ เพื่อแย่งลูกค้าในทำเลที่ดี กลยุทธ์ของ CP ดีอย่างไร?
1. กลยุทธ์ “ประกบตัวเอง” ปิดประตูคู่แข่ง
- เดิมที CJ Express ใช้กลยุทธ์เปิดร้านคู่ 7-Eleven เพื่อดึงลูกค้าที่อยู่แล้วในพื้นที่ดีๆ
- CP มองเกมออกและตอบโต้ด้วยการ “ประกบตัวเอง” เปิด Lotus’s Go Fresh คู่ 7-Eleven เพื่อ “ล๊อกพื้นที่” ไม่ให้ CJ มีที่ลง
- CP มองเห็นภัยคุกคามนี้ จึงเร่งขยาย Lotus’s go fresh เพื่อรักษาฐานตลาดและพื้นที่
- สุดท้ายทำให้ CJ ไม่สามารถแทรกตัวในพื้นที่ prime location ได้ เพราะพื้นที่สำคัญถูก CP ยึดครองไปแล้ว
2. การสร้าง “ร้านคู่” ให้เสริมกันเอง
แม้จะดูเหมือนว่า 7-Eleven กับ Lotus’s Go Fresh แข่งกันเอง แต่จริงๆ แล้ว กลุ่มเป้าหมายและสินค้าค่อนข้างแตกต่างกัน
- 7-Eleven เน้นสินค้าพร้อมทาน ของแห้ง ของใช้รายวัน
- Lotus’s Go Fresh เน้นสินค้าสด ผักผลไม้ กับข้าว-ของชำ ที่ต้องซื้อกลับบ้าน
- สุดท้ายลูกค้าเดินเข้าได้ทั้ง 2 ร้าน ซื้อครบทั้งของกิน ของใช้ ของสดในจุดเดียว
3. การบริหารพื้นที่และแบรนด์ในเครือ
- CP มีข้อได้เปรียบคือ สามารถบริหารแบรนด์ในมือครบ ทั้ง 7-Eleven และ Lotus’s Go Fresh ไม่เสียลูกค้าให้คู่แข่ง
- เปิดคู่กันทำให้สามารถบริหารพื้นที่ได้เบ็ดเสร็จ ไม่เปิดช่องให้แบรนด์ CJ หรือแม้แต่ Big C Mini เจาะเข้ามาได้ง่าย
ผลกระทบ CJ
หาทำเลลำบากขึ้น เพราะพื้นที่ทำเลทองข้าง 7-Eleven ถูกยึดไปโดย CP เรียบร้อย
ALL GROCER’S (คู่บ้าน คู่ครัว) อีกหมัดเด็ดโตกลับ CJ
เครือ CP ไม่ได้มีแค่หมัดสวนกลับที่เอา Lotus’s Go Fresh ไปเปิดข้างๆ 7-Eleven เพื่อป้องกันไม่ให้ CJ มาเปิด เพราะก่อนหน้านี้ร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven ที่ครองส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 70% เปิดโซนขายสินค้าใหม่ ALL GROCER’S (คู่บ้าน คู่ครัว) ในบางพื้นที่ บางสาขา ขายสินค้าอุปโภค-บริโภคในบ้านและในครัว ตั้งแต่ไม้ถูพื้น อาหารสัตว์ หม้อ ฟองน้ำ จาน ชาม ผ้าเช็ดตัว ขนม กระดาษทิชชู ข้าวสาร อาหารแห้ง กาแฟ วัตถุดิบทำขนม เครื่องปรุงอาหาร ไข่ไก่ น้ำอัดลม และอื่นๆ อีกมากมาย
สินค้าส่วนใหญ่ที่วางขายบนชั้นวาง จะขายแบบยกแพ็ก เป็นลัง ชิ้นใหญ่ หรือ ซื้อ 1 แถม 1 เรียกได้ว่า 7-Eleven อำนวยความสะดวกลูกค้าแบบ One Stop Service คือ แวะร้านเดียว ซื้อได้ครบทั้งของกิน ของใช้
การขยายโซน ALL GROCER’S คู่บ้าน คู่ครัว ถือเป็นโมเดลรูปแบบใหม่ของ 7-Eleven ที่กำลังทดลองในบางสาขา ปัจจุบันเปิดให้บริการแล้วกว่า 21 สาขา หรือมากกว่านั้นในตอนนี้ ส่วนใหญ่จะอยู่ใกล้แหล่งชุมชนที่พักอาศัย ถือเป็นกลยุทธ์ท้าชน CJ ที่ส่วนใหญ่ขายสินค้าแบบยกแพ็ก เป็นลัง ชิ้นใหญ่ หรือ ซื้อ 1 แถม 1
สรุปการที่เครือ CP เปิด Lotus’s Go Fresh ติดกับร้าน 7-Eleven ไม่ใช่แค่ต้องการขยายสาขา แต่เป็นกลยุทธ์โต้กลับเชิงรุกเพื่อป้องกันคู่แข่งอย่าง CJ มาเปิดสาขาใกล้ๆ
ดังนั้น การใช้แบรนด์ในเครือ “ประกบคู่” กันเอง ถือเป็นการล๊อกพื้นที่ไม่ให้คู่แข่งเข้า และสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับลูกค้าไปพร้อมกัน สะท้อนให้เห็นถึงเกมการบริหารพื้นที่ค้าปลีกในเชิงลึก และการช่วงชิงพื้นที่คืนของ CP ได้อย่างชัดเจน
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)