เทียบกันชัดๆ โลจิสติกส์ไทยปี 62 เจ้าไหนเวิร์คสุด

ยุคนี้เป็นยุคที่ตลาดการค้าออนไลน์กำลังมาแรง (ยุค E-Commerce) เหล่านักช้อปไม่ต้องเสียเวลาออกไปตากแดดที่แรงเปรี้ยงหรือเสียค่าเดินทางเพื่อไปจับจ่ายสินค้า ดังนั้นร้านค้าออนไลน์จึงเป็นธุรกิจที่เป็นที่นิยมในเวลานี้

และที่ขาดไม่ได้สำหรับเหล่าพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์นั่นก็คือ ผู้ให้บริการจัดส่งพัสดุ หากขาดบริษัทที่เป็นตัวกลางทำหน้าที่ขนส่งสินค้าให้ถึงมือลูกค้า เห็นทีพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ก็คงจะต้องเหงื่อตกกันอย่างแน่นอนหากต้องส่งของให้ลูกค้ากันข้ามจังหวัด

ไหน ๆ พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ก็ต้องใช้บริการบริษัทจัดส่งพัสดุเพื่อความสะดวกที่มากขึ้น วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะพาคุณผู้อ่านไปดูกันอย่างละเอียดเลยว่าโลจิสติกส์ในประเทศไทย 10 เจ้าในปีนี้จะมีเจ้าไหนที่เวิร์ค คุ้มค่าและตอบโจทย์เรากันบ้าง

TFC2022

1.ไปรษณีย์ไทย

30

ภาพจาก bit.ly/2JvYWRe

บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท) เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ในสังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รับผิดชอบเกี่ยวกับกิจการไปรษณีย์ของประเทศไทย ซึ่งแปรรูปมาจาก การสื่อสารแห่งประเทศไทย (ก.ส.ท.)

รายได้ : ปี 2561 รายได้ราว 28,000 ล้านบาท
สถานที่ให้บริการมีกี่สาขา : 7,000 – 8,000 จุด บุรุษไปรษณีย์หลักหมื่นคน
ระยะเวลาการจัดส่ง : กทม.-ปริมณฑล 2-7วันทำการ / ต่างจังหวัด 3-7 วันทำการ (ตามระยะทาง)
ราคาเริ่มต้น : 32 บาท

29

ภาพจาก bit.ly/2NIhyD4

จุดแข็ง

  • ครอบคลุมพื้นที่ห่างไกล สามารถให้บริการประชาชนทุกระดับหลายราคา
  • น่าเชื่อถือเพราะเป็นรัฐวสาหกิจที่เปิดมา 100 กว่าปี
  • มีการจำหน่ายแสตมป์ที่คู่แข่งอื่นไม่สามารถทำได้
  • แม้จ่าหน้าซองผิด บุรุษไปรษณีย์ก็สามารถส่งของถึงที่ได้ เนื่องจากคุ้นชินกับพื้นที่มายาวนาน
  • เก็บเงินปลายทาง

จุดอ่อน

  • ยังมีระบบราชการ ทำให้การลดราหรือการทำโปรโมชั่นมีระเบียบขั้นตอนที่ซับซ้อน
  • อุปกรณ์โดยเฉพาะรถบรรทุก รถจักรยานยนต์ หรือว่าตัวอาคารสถานที่ที่จะต้องใช้ในเรื่องของการรวบรวมแล้วก็คัดแยกสินค้า
  • ในระบบราชการนั้นการจัดซื้อจัดหาใช้เวลานาน แล้วก็มักจะได้อะไรที่มันแพงกว่าปกติ

อันนี้คือ 3 สาเหตุ ทำให้ไปรษณีย์ไทยไม่สามารถสู้กับตัวธุรกิจที่เป็นอีลอจิสติกส์ทั้งหลาย อย่างกรณีของเคอรี่เองบอกว่าอยากทำโปรโมชั่นหรือว่าอยากจะหาคู่ค้า อยากทำโน่นนี่นั่นสามารถทำได้อย่างเวลารวดเร็วเลยเพราะฉะนั้นตรงนี้มันกลายเป็นสิ่งที่เป็นจุดอ่อนที่สุดของทางไปรษณีย์ไทย


2.Kerry Express สัญชาติฮ่องกง

28

ภาพจาก bit.ly/2JvDE6r

บริษัท เคอรี่ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2549 ปัจจุบันเรามีจุดให้บริการกว่า 5,500 แห่งทั่วประเทศไทย โดยมีบริการจัดส่งพัสดุด่วนอย่างการจัดส่งภายในวันถัดไป (ND) ซึ่งครอบคลุมกว่า 99.9% ทั่วทุกพื้นที่ในประเทศ และกว่า 97% ของการจัดส่งประสบความสำเร็จในการเข้าจัดส่งตั้งแต่ครั้งแรก

และตัวเลือกอันดับสองเป็นรองแค่ไปรษณีย์ไทย ที่พร้อมท้าชิงก้าวขึ้นเป็นเบอร์ 1 โดยที่ผ่านมาได้ประกาศทุ่มงบประมาณกว่า 1,800 ล้านบาท ยกระดับตัวเอง พร้อมให้อำนวยความสะดวกของลูกค้ามากยิ่งขึ้น โดยการคิดราคาส่ง Kerry จะคิดตามขนาดพัสดุ น้ำหนัก และราคาปลายทางการจัดส่ง

รายได้ : ปี 2561 รายได้ราว 476 ล้านบาท
สถานที่ให้บริการ : 2,500 สาขา
ระยะเวลาการจัดส่ง : ในกรุงเทพฯ ภายใน 1 วัน / ต่างจังหวัดไปต่างจังหวัด จะได้รับ 2 วันทำการ
ราคาเริ่มต้น : กรุงเทพ 30-35 บาท ต่างจังหวัด 45-50 บาท

27

ภาพจาก bit.ly/2La1qbj

จุดแข็ง

  • บริการเก็บเงินปลายทาง
  • รับสินค้าถึงบ้านเพื่อไปส่งให้ถึงที่ โครงการ Frist mile pick up ตอบโจทย์ผู้ต้องการส่งของชิ้นใหญ่
  • ส่งของไวภายใน 1 วันสำหรับในกรุงเทพฯ

จุดอ่อน

  • หากส่งข้ามจังหวัดหรือไปไกลจากตัวเมืองจะมีค่าบริการที่แพงขึ้น เมื่อเทียบกับไปรษณีย์ไทยการส่งข้ามจังหวัด Kerry จะมีค่าส่งที่แพงกว่า

3.DHL จากเยอรมนี

26

ภาพจาก bit.ly/2XA5Ee1

DHL eCommerce บริษัทในเครือ Deutsche Post DHL Group ที่ให้บริการด้านโลจิสติกส์สำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เปิดตัวบริการใหม่ในประเทศไทย ชื่อว่า DHL Parcel Metro บริการจัดส่งพัสดุภายในวันเดียว (Same Day Delivery) ที่ให้บริการเฉพาะเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล

ซึ่งปัจจุบัน ประเทศในอาเซียนที่มีบริการ DHL Parcel Metro ก็ได้แก่เวียดนามและไทย สามารถจัดส่งสินค้าขนาดเล็ก-ใหญ่ได้หมดแต่น้ำหนักต้องไม่เกิน 20 กิโลกรัม

รายได้ : ปี 2561 รายได้ราว 542 ล้านบาท
สถานที่ให้บริการ : ให้บริการในกรุงเทพฯ และปริมณฑล 3 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี สมุทรปราการ และปทุมธานี
ระยะเวลาจัดส่ง : 1 วัน สำหรับเขตพื้นที่ให้บริการหลัก / ในเขตพื้นที่ห่างไกล 2-3 วันทำการ
ราคาเริ่มต้น : เริ่มต้นที่ 100 บาท เนื่องจากเน้นจัดส่งสินค้าที่มีมูลค่าสูง เช่น สินค้าอิเล็กทรอนิคส์ และเสื้อผ้า

25

ภาพจาก bit.ly/2LIkJrD

จุดแข็ง

  • มีบริการเก็บเงินปลายทาง
  • จัดส่งพัสดุภายในวันเดียว ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล

จุดอ่อน

  • สาขาที่ให้บริการค่อนข้างน้อย ให้บริการเฉพาะเขตกรุงเทพฯ
  • ราคาส่งเริ่มต้นค่อนข้างสูง

4.SCG Express ร่วมมือกับบริษัทญี่ปุ่น

24

ภาพจาก bit.ly/2XEVs9a

SCG Express บริการขนส่งพัสดุด่วน เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างเอสซีจี และ Yamato Asia Pte. Ltd. หรือแมวดำ โดยเปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2560 มีกลุ่มลูกค้าทั้งที่เป็นภาคธุรกิจและผู้บริโภคทั่วไป เปิดสาขาให้บริการแล้ว 500 สาขาใน 38 จังหวัด

ปี 2561 ทาง SCG Express ใช้เงินลงทุนนับร้อยล้านบาทเพื่อขยายศูนย์บริการให้มากถึง 1,000 จุด ทั่วประเทศ เพิ่มรถขนส่ง พนักงาน และพัฒนาระบบให้ทันสมัย ตั้งเป้าส่งของให้ได้ 1.3 ล้านชิ้น และมีรายได้ที่ 200 ล้านบาท

รายได้ : ปี 2561 รายได้ราว 50 ล้านบาท
สถานที่ให้บริการ : 500 สาขา
ระยะเวลาจัดส่ง : กรุงเทพฯปริมณฑลภายใน 1 วัน
ราคาเริ่มต้น : 40 บาท

23

ภาพจาก bit.ly/2XTGOtR

จุดแข็ง

  • เน้นเรื่องนวัตกรรม ที่มีบริการจัดส่งแบบควบคุมอุณหภูมิ (Cool-TA-Q-BIN) และบริการจัดส่งสินค้าที่มีมูลค่าสูง รวมทั้งในอนาคตจะมีบริการลูกค้าเฉพาะกลุ่ม เช่น บริการจัดส่งกระเป๋าเดินทางและอุปกรณ์กีฬา บริการ Farm to Table เพื่อให้บริการขนส่งสินค้าเกษตรออร์แกนิกจากฟาร์มถึงผู้บริโภคโดยตรง ตั้งเป้าว่าเป็นมากกว่าผู้ให้บริการขนส่งทั่วไป
  • บริการเก็บเงินปลายทาง
  • Pick up Service เข้ารับพัสดุถึงที่

จุดอ่อน

  • มีจุดบริการที่น้อย ส่งข้ามจังหวัดอาจจะล่าช้า

5.Line Man

22

ภาพจาก bit.ly/2YJESBh

“LINE MAN” แพลตฟอร์มบริการรูปแบบ O2O (Online to Offline) ให้บริการในไทย ด้วย 5 บริการหลัก คือ

  • LINE MAN Food บริการสั่งอาหาร
  • LINE MAN Parcel บริการส่งพัสดุ
  • LINE MAN Messenger บริการส่งด่วนในกรุงเทพฯ – ปริมณฑล 24 ชั่วโมง
  • LINE MAN Taxi บริการเรียกแท็กซี่
  • LINE MAN Convenience Goods บริการซื้อของจากร้านสะดวกซื้อ

รายได้ : ปี 2561 รายได้ราว 88 ล้านบาท
สถานที่ให้บริการ : ทั่วประเทศ
ระยะเวลาจัดส่ง : ส่งด่วนในกรุงเทพฯ – ปริมณฑล 24 ชั่วโมง
ราคาเริ่มต้น : 48 บาท

21

ภาพจาก bit.ly/2XxVvTS

จุดแข็ง

  • ความได้เปรียบทางการแข่งขัน เพราะฐานผู้ใช้ LINE ซึ่งถือเป็นแอปพลิเคชันอันดับต้นๆ ในไทยที่มีผู้ใช้งานมากสุด ด้วยจำนวน 44 ล้านคน ทำให้สะดวกต่อการเรียกใช้บริการ
  • ให้บริการจัดส่งพัสดุ 24 ชั่วโมง

จุดอ่อน

  • ราคาส่งพัสดุเริ่มต้นค่อนข้างสูง

6.LaLa Move

20

ภาพจาก bit.ly/2XAE7cj

ลาลามูฟ (Lalamove) ถือเป็นผู้นำด้านการให้บริการขนส่งแบบ On Demand เน้นการจัดส่งสินค้าภายในวันเดียวหรือเร็วสุดคือภายใน 1 ชั่วโมง สามารถเรียกใช้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมงผ่านแอปพลิเคชั่น มีระบบติดตามแบบเรียลไทม์ โดยเปิดให้บริการในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2014

เน้นกลุ่มลูกค้า B2B (business to business – การทำธุรกิจกับผู้ประกอบการ) และ B2C (business to customer – การทำธุรกิจกับผู้บริโภคทั่วไป) ปัจจุบันมีพนักงานคนขับ 40,000 คน และมีผู้ใช้บริการ 530,000 คน

รายได้ : ปี 2561 รายได้ราว 88 ล้านบาท
สถานที่ให้บริการ : มีให้บริการในกรุงเทพฯ ปริมณฑล ยังไม่รอบคลุมทุกจังหวัด
ระยะเวลาจัดส่ง : เน้นการจัดส่งสินค้าภายในวันเดียวหรือเร็วสุดคือภายใน 1 ชั่วโมง
ราคาเริ่มต้น : 48 บาท

19

ภาพจาก bit.ly/2JykgWe

จุดแข็ง

  • การเก็บเงินปลายทาง
  • การให้เจ้าที่ของเราไปทำเรื่องเอกสาร วางบิลรับเช็กให้
  • ช่วยผู้ค้าออนไลน์ที่จะส่งของไปต่างจังหวัด มีบริการช่วยนำพัสดุไปส่งให้ที่ไปรษณีย์
  • ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง เรียกใช้บริการผ่านแอปพลิเคชั่น มีจุดเด่นที่เรียกใช้บริการเวลาไหนก็ได้ เน้นส่งของรวดเร็ว

จุดอ่อน

  • ยังไม่ครอบคลุมทุกจังหวัด
  • ราคาเริ่มต้นยังค่อนข้างสูง

7.GrabExpress

18

ภาพจาก bit.ly/2YPtZOA

Grab ทำการปรับโฉมบริการเดลิเวอรี่ใหม่เป็น GrabExpress รวมการขนส่งด้วยรถทุกประเภท แถมเพิ่มบริการ GrabMart และ GrabFresh ในอนาคต ไล่บี้ LINE MAN ทุกช่องทาง หวังเป็นแอพที่ผู้บริโภคใช้งานทุกวัน

GrabExpress จึงเป็นบริการรับส่งพัสดุ และเอกสารแบบออนดีมานด์ รวมเครือข่ายรถทุกประเภท ของบริการจาก Grab ไว้ด้วยกัน ได้แก่ มอเตอร์ไซค์ รถยนต์ และรถปิคอัพ รองรับการขนส่งทุกรูปแบบ เล็ก กลาง ใหญ่

รายได้ : ปี 2561 รายได้ 595 ล้านบาท
สถานที่ให้บริการ : ให้บริการในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล และเชียงใหม่ก่อน หลังจากนั้นค่อยขยายให้ครบ 17 จังหวัดที่เปิดบริการ อาจจะเริ่มจากหัวเมืองใหญ่อย่างภูเก็ต พัทยา โคราช และขอนแก่น
ระยะเวลาจัดส่ง : ภายใน 5 กิโลเมตรไม่เกิน 30 นาที
ราคาเริ่มต้น : 40 บาท

17

ภาพจาก bit.ly/2LJKLe8

จุดแข็ง

  • GrabFresh เป็นบริการช่วยซื้อของสด หรือของในซูเปอร์มาร์เก็ต โดยได้ทำการพาร์ทเนอร์กับ HappyFresh
  • ส่งของรวดเร็วภายในพื้นที่ตัวเมือง

จุดอ่อน

  • ยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่

8.Best Express และ Flash Express

16

ภาพจาก bit.ly/2S3rWUr

Best Express แนวคิดแฟรนไชส์ 100% ปัจจุบันกลุ่มบริษัท เบสท์ ขยายธุรกิจอยู่ใน 16 ประเทศทั่วโลก อาทิ จีน, เยอรมนี, ญี่ปุ่น, เกาหลีและไทย เป็นต้น โดยบริษัทแม่นั้นอยู่ในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก โดยมีกลุ่มบริษัท อาลีบาบา ถือหุ้นอยู่ 22% ทำให้การเข้ามาทำธุรกิจในไทยนั้นกลุ่มบริษัท เบสท์ เลือกที่จะร่วมทุนกับบริษัท เอเจ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) ที่ถือหุ้นประมาณ 60%

Flash Express สตาร์ทอัพที่ได้ทุนจาก “อาลีบาบา” ขณะที่ Flash Express ที่เปิดบริการในช่วงกลางปี 2018 ที่เริ่มต้นบริการส่งพัสดุ 30 จังหวัด โดยเป็นบริษัท สตาร์ทอัพ ที่ได้รับเงินทุนสนับสนุนจำนวน 2,500 ล้านบาท จากบริษัท อาลีบาบาฯ ต่างจาก Best Express ที่ไม่มีระบบแฟรนไชส์โดยลงทุนสาขาเองทั้งหมด เพื่อการบริหารที่คล่องตัวและควบคุมมาตรฐานได้ด้วยมือตัวเอง

รายได้ : ปี 2561 รายได้ราว 5 ล้านบาท
สถานที่ให้บริการมีกี่สาขา : Best Express 500 สาขา / Flash Express สาขากระจายทั่ว 77 จังหวัด
ราคาเริ่มต้น : Best Express 30 บาท / Flash Express 19 บาท
เฉลี่ยการส่งพัสดุต่อวัน : Best Express หลักพัน / Best Express 50,000 ชิ้น

15

ภาพจาก bit.ly/2Jwgb4W

จุดแข็ง

  • บริการรับและกระจายสินค้าให้ลูกค้า Last Mile Delivery
  • การส่งด่วนภายใน 1 วันครอบคลุมทั่วประเทศ
  • ส่งพัสดุจากไทยไปจีนและจีนมาไทยในอัตราที่ถูก โดยอาศัยจุดแข็งของการเป็นบริษัทส่งพัสดุยักษ์ใหญ่ในจีน
  • Flash Express ค่าบริการเริ่มต้นถูกที่สุดในประเทศไทย

จุดอ่อน

  • การให้บริการส่งพัสดุเฉลี่ย 50,000 ชิ้นต่อวัน ยังถือว่าน้อยมากเพราะจุดอ่อนใหญ่สุดก็คือผู้บริโภคยังไม่รู้จักแบรนด์ อีกทั้งการเป็นน้องใหม่ในตลาดลูกค้าเองก็ยังไม่ไว้ใจในบริการมากนัก

9.NINJA

14

ภาพจาก bit.ly/2NZkU4P

Ninja Van ผู้ให้บริการส่งพัสดุเอกชนจากประเทศสิงคโปร์ที่เริ่มเข้ามาดตลาดประเทศไทยโดยเทคโนโลยีที่แตกต่างจากเจ้าอื่นพร้อมช่วยให้การบริการสะดวกง่ายเร็วสามารถติดตามได้แบบ real-time แกมยังราคาไม่แพงอีกด้วย

รายได้ : ปี 2561 รายได้ราว 148 ล้านบาท
สถานที่ให้บริการ : 74 จังหวัด ยกเว้น 3 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส
ระยะเวลาจัดส่ง : ภายในกรุงเทพปริมณฑลภายใน 90 นาที / ต่างจังหวัด 1-3 วัน
ราคาเริ่มต้น : 33 บาท

13

ภาพจาก bit.ly/30pVput

จุดแข็ง

  • เก็บเงินปลายทาง
  • สินค้าชำรุด แม้ไม่ทำประกันรับเงินตามมูลค่าจริงไม่เกิน 2,000 บาท
  • รับพัสดุถึงบ้านภายใน 90 นาที 

จุดอ่อน

  • ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก

10.สปีดดี

12

ภาพจาก bit.ly/2G3bRsW

สปีด-ดี (Speed-D) บริการส่งพัสดุในเซเว่นอีเลฟเว่น ได้เปิดให้บริการในสาขา 7-11 ทุกสาขาทั่วประเทศแล้ว หลังจากก่อนหน้านี้ทดลองให้บริการเฉพาะในกรุงเทพและปริมณฑล ซึ่งชูจุดขายตรงที่ให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง

และระยะเวลาในการส่งที่รวดเร็ว ส่งวันนี้…ถึงพรุ่งนี้ จุดสำหรับการรับพัสดุสามารถส่งของได้ที่เซเว่นทุกสาขา สามารถส่งไปยังบ้านของผู้รับหรือฝากไว้ที่สาขาของเซเว่นปลายทางเพื่อให้ผู้รับไปรับที่สาขาก็ได้

รายได้ : ปี 2561 รายได้ราว 571 ล้านบาท
สถานที่ให้บริการ : มีสาขาครอบคลุมทั่วประเทศ
ระยะเวลาจัดส่ง : กรุงเทพปริมณฑลภายใน 1 วัน / ต่างจังหวัด 5-7 วัน
ราคาเริ่มต้น : 35 บาท

11

ภาพจาก bit.ly/2NL4pch

จุดแข็ง

  • ให้บริการ 24 ชั่วโมง
  • สถานที่ให้บริการครอบคลุมทั่วประเทศ

จุดอ่อน

  • ส่งต่างจังหวัดจะใช้เวลาจัดส่งนาน

สำหรับยุค E-Commerce ที่กำลังมาแรง คนนิยมส่งพัสดุเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลก็แน่นอนว่าต้องส่งผลต่อตลาดส่งพัสดุในไทย จนทำให้เกิดคู่แข่งของโลจิสติกส์ไทยที่มากขึ้น หากบริษัทใดสามารถรักษาคุณภาพในการส่ง มีความรวดเร็วและราคาไม่สูงก็จะเป็นที่นิยมสำหรับเหล่าพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์อย่างแน่นอน

จากการเปรียบเทียบข้อมูลต่าง ๆ ของเหล่าโลจิสติกส์ในประเทศไทยข้างต้น www.ThaiFranchiseCenter.com ก็หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้คุณผู้อ่านเห็นทางเลือกในการตัดสินใจใช้บริการโลจิสติกส์ไทยว่าเจ้าไหนจะให้ความคุ้มค่าแก่เรามากที่สุด


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

TFC2022-1

TFC2022-2

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

แหล่งข้อมูลจาก

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/2Qt9TXE