แฟรนไชส์ Yolé ไอศกรีมโยเกิร์ต บิวกิ้นยิ้มร่า พาโต 8 สาขา

ในยุคที่ผู้บริโภคหันมาใส่ใจในเรื่องของสุขภาพมากขึ้น ไอศกรีมหรือของหวานที่ “อร่อยแต่ดีต่อสุขภาพ” กลายเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ และหนึ่งในแบรนด์ที่ตอบโจทย์คนรักสุขภาพ ก็คือ Yolé แฟรนไชส์ไอศกรีมโยเกิร์ตชื่อดังจากสเปน มีจุดเด่น “น้ำตาล 0%” แต่ยังคงรสชาติหวานละมุน จนทำให้ผู้คนทั่วโลกยอมต่อแถวยาวเหยียดเพื่อรอชิม

ปัจจุบันแฟรนไชส์โยเกิร์ต Yolé ขยายสาขาไปแล้วกว่า 22 ประเทศทั่วโลก รวมถึงไทย กลายเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ไอศกรีม ที่เติบโตและประสบความสำเร็จในตลาดโลกอย่างน่าจับตามอง

จุดเริ่มต้น Yolé

แฟรนไชส์ Yolé
ภาพจาก www.facebook.com/yolethailand

Yolé แฟรนไชส์ไอศกรีมโยเกิร์ตสัญชาติสเปน ก่อตั้งโดยสองพี่น้อง Miguel และ Javier Diaz (มิกูเอล ดิอาซ & จาเวียร์ ดิอาซ) ในช่วงปี 2014-2017 พัฒนาสูตรโยเกิร์ต “น้ำตาล 0%” ที่มีโปรตีนสูง แคลอรีต่ำ

ย้อนกลับไปก่อนกำเนิดแบรนด์ไอศกรีมโยเกิร์ต Yolé สองพี่น้องดิอาซที่เกิดในเมืองมาลากา ประเทศสเปน ได้คลุกคลีในวงการธุกิจอาหารมาก่อน จากนั้นได้ย้ายมาอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ และได้ซื้อแฟรนไชส์ไอศกรีม llao llao (เหยาเหยา) สัญชาติสเปนมาบริหารในเอเชีย สามารถขยายสาขาได้มากกว่า 100 แห่ง

แฟรนไชส์ Yolé
ภาพจาก www.facebook.com/yolethailand

ต่อจากนั้น สองพี่น้องดิอาซมีความคิดอยากปั้นแบรนด์ไอศกรีมขึ้นมาเอง จึงได้สร้างแบรนด์ Yolé  ขึ้นมาเป็นของตัวเอง ในช่วงแรกยังขายไอศกรีมสูตรเดิมที่มีน้ำตาลปกติทั่วไป เปิดสาขาแรกในสิงคโปร์ช่วงปี 2018 และได้รับความนิยมจากลูกค้าอย่างรวดเร็ว หลังจากนั้นทั้งสองคิดจะทำไอศกรีมที่มีน้ำตาลน้อย

  • ปี 2019 พวกเขาสามารถผลิตไอศกรีมโยเกิร์ต ที่มีน้ำตาล 0% ได้สำเร็จหลังจากทำการวิจัยมาเป็นเวลา 2 ปี
  • ปี 2020 เปิดตัวถังไอศกรีม Yolé สำหรับขายในซูเปอร์มาร์เก็ต ในช่วงการระบาดโควิด-19
  • ปี 2021 แบรนด์ Yolé เริ่มขยายตลาดไปทั่วโลก โดยเปิดร้านสาขาแรกในสหราชอาณาจักร สเปน และมาเลเซีย
  • ปี 2022 Yolé ยังคงเดินหน้าขยายกิจการและสร้างแบรนด์ในระดับสากล พร้อมทั้งเปิดตัวโมเดลร้าน Yolé Cafe เป็นครั้งแรก
  • ปี 2023 เปิดสาขาแรกในประเทศไทย ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 7
  • ปี 2025 ขยายตลาดใน 22 ประเทศทั่วโลก ในรูปแบบมาสเตอร์แฟรนไชส์

อาทิ คอสตาริกา เปรู แคนาดา อังกฤษ สเปน อียิปต์ กานา โปรตุเกส ชิลี บาห์เรน ซาอุดีอาระเบีย กาตาร์ ยูเออี โอมาน กัมพูชา สิงคโปร์ เกาหลีใต้ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไต้หวัน บรูไน และไทย

ปัจจุบันเมนูในร้าน Yolé มีทั้งไอศกรีมและโยเกิร์ตแช่แข็ง ผลิตภัณฑ์ Yolé มีให้เลือกหลากลาย อาทิ Cups, Twist, Cones, YoleBox, Ibiza, Bubble Waffle, Waffle Bowl, Shake, Frappe ฯลฯ

ภาพจาก www.facebook.com/yolethailand

โมเดลร้านแฟรนไชส์ Yolé

  • Corner ขนาดพื้นที่ 2-6 ตร.ม.
  • Food Truck ขนาดพื้นที่ 7-14 ตร.ม.
  • Kiosk ขนาดพื้นที่ 8-30 ตร.ม.
  • Shop ขนาดพื้นที่ 25-60 ตร.ม.
  • Cafe ขนาดพื้นที่ 100 ตร.ม. ขึ้นไป

จากเว็บไซต์ TopFranchise ระบุว่า Yolé ขายโมเดลแฟรนไชส์หลายรูปแบบ

  • เงินลงทุนเริ่มต้น 120,000 – 400,000 ดอลลาร์สหรัฐ
  • โมเดล Shop, Kiosk with table ค่าแฟรนไชส์ 15,000 ดอลลาร์สหรัฐ
  • โมเดล Kiosk/Food-truck ค่าแฟรนไชส์ 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ
  • ค่า Royalty: 6%
  • ค่าโฆษณา (Ad Royalty) 0%

แฟรนไชส์ Yolé เปิดตลาดในไทย

แฟรนไชส์ Yolé
ภาพจาก www.facebook.com/yolethailand

แฟรนไชส์ไอศกรีมโยเกิร์ต Yolé เข้ามาเปิดตลาดในประเทศไทยเมื่อช่วงเดือน ธ.ค. 2023 เปิดสาขาแรกที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 7 ได้รับความนิยมอย่างล้นหลาย ว่ากันว่าสาขาแรกทำยอดขายเฉลี่ยทะลุหลักแสนบาทต่อวัน จนถึงขั้นเจ้าของแบรนด์โทรมาจอประชุมหลังเปิดขายได้แต่ 2 สัปดาห์เท่านั้น เหตุจากยอดขายมาแรงที่สุดในโลก

ก่อนขยายสาขาไปที่ Siam Paragon, The Mall บางกะปิ, One Bangkok, Central ลาดพร้าว, Iconsiam, Central แจ้งวัฒนะ และ The Circle ราชพฤกษ์ ปัจจุบันมีสาขาทั้งหมด 8 สาขา

ภาพจาก www.facebook.com/yolethailand

จุดเด่นเมนู & ความโดดเด่นของ Yolé

  • ใช้นมไทยสด ไม่เติมน้ำตาล แต่รสชาติเข้มข้น หอมหวานนมตามธรรมชาติ
  • มีเมนูถ้วย โคน วาฟเฟิลโบวล์ หรือ Bubble waffle แบบสดใหม่
  • ฟีเจอร์พิเศษ โยเกิร์ตไฮโปรตีน, สูตรเวอร์ชันโอ๊ตมิลค์ (วีแกน), เลือกท็อปปิ้งได้เอง
  • จัดโปรโมชั่นร่วมกับบิวกิ้น ช่วยเรียกกระแสแฟนคลับ ช่วยดึงดูดคนต่อแถวแน่นแทบทุกสาขา

แฟรนไชส์ไอศกรีมโยเกิร์ต Yolé ในประเทศไทย อยู่ภายใต้การบริหารบริษัท เมจิคอล คราฟส์แมน จำกัด โดยที่มีบริษัท แอล เอ็น จี ฟู๊ด โปรดักส์ จำกัด เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 45.25%

และบริษัท แอล เอ็น จี ฟู๊ด โปรดักส์ จำกัด ยังเป็นเจ้าของร้านก๋วยเตี๋ยวเก่าแก่ชื่อดัง “ลิ้มเหล่าโหงว” ปัจจุบันมี 18 สาขา

จากการตรวจสอบข้อมูล บริษัท เมจิคอล คราฟส์แมน จำกัด ผ่าน Creden Data พบว่า บริษัทฯ ประกอบธุรกิจการบริการอาหารในภัตตาคาร/ร้านค้า มีทุนจดทะเบียน 30,000,000 บาท และมีมูลค่าบริษัทอยู่ที่ 4,254,135 บาท มีรายชื่อผู้ถือหุ้นทั้งหมด ดังนี้

  • บริษัท แอล เอ็น จี ฟู๊ด โปรดักส์ จำกัด 45.25%
  • พรเอนก ตั้งเผ่าศักดิ์ 29.75%
  • พุฒิพงศ์ อัสสรัตนกุล (บิวกิ้น) 15%
  • กิตติพัฒน์ บริบูรณ์ชัยศิริ 10%

แฟรนไชส์ Yolé

รายได้ บริษัท เมจิคอล คราฟส์แมน จำกัด

  • ปี 2023 รายได้ 4.7 แสนบาท ขาดทุน 7.4 แสนบาท
  • ปี 2024 รายได้ 69.2 ล้านบาท กำไร 3.1 ล้านบาท

ด้วยจุดแข็งที่ชัดเจนของ Yolé ทั้งเรื่อง สุขภาพ น้ำตาล 0% ความอร่อยที่พิสูจน์แล้วจากฐานลูกค้าทั่วโลก และการขยายตัวอย่างรวดเร็วใน 22 ประเทศ แสดงหเห็นว่าแฟรนไชส์ไอศกรีม Yolé คือแบรนด์ระดับโลกที่เข้าใจเทรนด์ผู้บริโภคยุคใหม่อย่างแท้จริง ที่สำคัญสร้างโอกาสให้กับนักลงทุนที่สนใจแฟรนไชส์ไอศกรีมเพื่อสุขภาพทั่วโลก

แหล่งข้อมูล

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช