หายนะร้านอาหารเครื่องดื่ม ครึ่งปี 68 เหลือรอดแค่ไหน?

เศรษฐกิจทรุดหนัก! คำนี้น่าจะจริง ธุรกิจร้านอาหาร / เครื่องดื่มที่เคยขายดี แต่มาปีนี้ยอดขายดิ่งไม่เป็นท่า ถึงขนาดที่ติดอันดับ 3 กลุ่มอุตสาหกรรมที่เลิกกิจการมากที่สุด ถ้าไปดูข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าพบว่า 5 เดือนของปี 2568 (มกราคม – พฤษภาคม) มีการจดทะเบียนเลิกกิจการ 4,776 ราย เพิ่มขึ้น 153 รายถ้าเทียบกับปี 2567 ในจำนวนนี้มีธุรกิจภัตตาคาร / ร้านอาหารที่ยกเลิกกิจการจำนวน 202 ราย

หายนะร้านอาหารเครื่องดื่ม

ซึ่งนั่นอาจจะเป็นตัวเลขเพียงบางส่วนที่ปรากฏ ไม่นับรวมอีกหลายร้าน ที่มีการทยอยปิดกิจการกันอีกนับไม่ถ้วน เช่น

  • เฮงหอยทอดชาวเล สตรีทฟู้ดส์ชื่อดังภูเก็ต ปิดสาขาไอคอนสยาม
  • ข้าวมันไก่เจ๊โบว์ ย่านบรรทัดทอง ที่เปิดมานานกว่า 25 ปี
  • ครัวคุณต้อ ร้านอาหารปักษ์ใต้ชื่อดัง ประกาศปิดกิจการ
  • Wisdom Buffet ปิดให้บริการ สาขาสยามสแควร์วัน
  • ตลาดดิ วัน รัชดา ประกาศปิดกิจการถาวร
  • ชูบา ชาบู ปิดกิจการ หลังเปิดมา 16 ปี
  • อาม่งหม่าล่า ปิดสาขาเยาวราช เพราะสู้ค่าเช่าไม่ไหว
  • ร้านหมูกระทะ “นำโชค” ประกาศปิดกิจการ
  • TSUJIRI ร้านชาเขียวต้นตำรับจากญี่ปุ่น ปิดทุกสาขาในไทย
  • บ้านชิดกรุง กุ้งเผา อ.สามโคก จ.ปทุมธานี ประกาศปิดกิจการ

หายนะร้านอาหารเครื่องดื่ม

เหตุผลที่ทำให้ร้านอาหารไปไม่รอดคือ “ยอดขาย” ที่ตกฮวบฮาบลดลงกว่า 40-50% อันเนื่องมาจากหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น

  1. นักท่องเที่ยวต่างชาติที่ลดลงโดยเฉพาะจากจีนที่หายไปกว่า 40%
  2. การประกาศขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในอัตราแตกต่างตามพื้นที่ ประมาณ 7 – 55 บาท ทำให้ต้นทุนเพิ่มเฉลี่ย 2.9%
  3. ต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้นมาก รวมถึงค่าเช่าพื้นที่ในหลายแห่ง
  4. กำลังซื้อของผู้บริโภคชะลอตัว พฤติกรรมการซื้อเปลี่ยนไปมาก
  5. การแข่งขันของคู่แข่งจำนวนมากที่ส่วนใหญ่สู้กันใน “สงครามราคา”

เสียงสะท้อนจากผู้ประกอบการร้านอาหารมองว่า ธุรกิจร้านอาหารปี 2568 นี้ อย่าว่าแต่กำไร แค่ประคองตัวให้รอดมีเงินจ่ายพนักงานก็แทบจะแย่แล้ว สมัยนี้แค่อร่อยอย่างเดียวมันไม่พอ สายป่านต้องยาวด้วย เพราะต้องสู้ทั้งปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอก จะหวังพึ่งให้ภาครัฐช่วยเหลือก็ดูเลือนรางเต็มที ถ้าจะดิ้นสู้กันจริงๆ คงต้องเน้นที่ เงินทุน + ทำเล + เดลิเวอรี่ ที่เอามาใช้ผสมผสานกันให้ดี ก็พอจะช่วยได้บ้าง

เพราะจากข้อมูลเผยว่าร้านอาหารเปิดใหม่ ในช่วงครึ่งแรกของปี 2568 ลดลงจากปีก่อนมากถึง 30% และมีข้อสังเกตที่น่าสนใจว่า ร้านอาหารที่เปิด ในห้าง จะมีโอกาสรอดมากกว่าร้านอาหาร นอกห้าง ถึง 22% และยอดขายหน้าร้านภาพรวมอาจลดลงกว่า 14% เมื่อเทียบกับปีก่อน สวนทางกับยอดขายจากเดลิเวอรี่ที่เพิ่มขึ้น 15% จากปีก่อน สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นภาพชัดเจนว่า “การปรับกลยุทธ์” ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภค อาจเป็นตัวช่วยให้ร้านอาหารอยู่รอดได้มากขึ้น

ซึ่งมีข้อมูลน่าสนใจที่ระบุให้เห็นชัดว่าลูกค้าส่วนใหญ่ใช้แอปพลิเคชั่นค้นหาอะไรบ้าง

  • 88% หาโปรค่าอาหาร
  • 59% ส่วนลดค่าส่ง
  • 56% โปรโมชั่นเซ็ตเมนู
  • 29% flash sale

และสิ่งที่ลูกค้าต้องการจากร้านอาหาร อาจไม่ใช่แค่เรื่องโปรโมชั่นเพราะยุคนี้ต้องเน้นที่ความสะดวกรวดเร็ว ข้อมูลระบุว่ากว่า 72% ของลูกค้าต้องการช่องทางสั่งอาหารที่ง่าย , 66% ต้องการจ่ายเงินชำระค่าบริการสะดวกสบายได้ทุกรูปแบบ เป็นต้น

สอดคล้องกับข้อมูลที่ระบุว่า ร้านอาหารที่รับ QR Payment มียอดขายต่อบิลเพิ่มขึ้น 20% และร้านที่รับทั้ง QR Payment และบัตรเครดิต มียอดขายต่อบิลเพิ่มขึ้นถึง 32%

กล้าต่อยอด! Brand Extension

ภาพรวมสถานการณ์ธุรกิจร้านอาหาร / เครื่องดื่มที่ผ่านมาในครึ่งปีแรกเรียกว่าสาหัส ยิ่งถ้าไม่มีการปรับตัวก็มีแต่ตายกับตาย ดังนั้นเรื่องการบริหารจัดการต้นทุน และการปรับใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในร้าน เป็นเคล็ดลับสำคัญที่ไม่ใช่แค่ต้องทำให้ดี แต่ต้องทำให้ดีที่สุดเพราะยุคนี้ การแข่งขันรุนแรง ผู้บริโภคมีความต้องการที่หลากหลายและซับซ้อนมากขึ้น

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความแปลกใหม่ ประสบการณ์ คุณภาพ สุขภาพ และราคาที่สมเหตุสมผล มีความจงรักภักดีต่อแบรนด์ต่ำลง และพร้อมที่จะทดลองสิ่งใหม่ๆ เสมอ ถือเป็นสถานการณ์ที่ท้าทายให้คนทำธุรกิจต้องเรียนรู้อาจไม่ใช่เพื่อกำไรเท่านั้นแต่ให้อยู่รอดได้ในระยะยาวด้วย

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช