สุกี้ตี๋น้อย จับตลาดบน สวนทาง #MK Suki จับตลาดล่าง
MK Restaurants เปิดสาขาแรกตั้งแต่ปี 2529 นับถึงตอนนี้กว่า 39 ปี สร้างภาพจำในฐานะร้านสุกี้ที่เหมาะสำหรับมื้อพิเศษ เฉลิมฉลอง หรือการรวมญาติ แม้ราคาในช่วงแรกจะค่อนข้างสูงแต่ก็แลกมาด้วยคุณภาพและบริการที่ดีจึงเป็นที่นิยมของลูกค้าทั่วประเทศ
แต่สถานการณ์ปัจจุบันเปลี่ยนไปสิ้นเชิงโดยเฉพาะหลังการเข้ามาของสุกี้ตี๋น้อยตั้งแต่ปี 2562 ซึ่งเข้ามาจับกลุ่มลูกค้าและแชร์ส่วนแบ่งการตลาดได้อย่างชัดเจนแม้ภาพรวมในตอนนี้ MK ยังถือเป็นผู้นำตลาดสุกี้ในประเทศไทยที่ครองส่วนแบ่งกว่า 60% จากมูลค่ารวมตลาดกว่า 23,000 – 25,000 ล้านบาท
แต่ถ้าวิเคราะห์รายได้ของ MK กำไร 3 ปีล่าสุดยังแตะหลักพันล้านบาท
- ปี 2565 รายได้รวม 15,938.18 ล้านบาท กำไรสุทธิ 1,438.81 ล้านบาท
- ปี 2566 รายได้รวม 16,973.55 ล้านบาท กำไรสุทธิ 1,681.94 ล้านบาท
- ปี 2567 รายได้รวม 15,809.47 ล้านบาท กำไรสุทธิ 1,441.57 ล้านบาท
ไตรมาสที่ 1 ปี 2568 รายได้รวม 3,625.53 ล้านบาท กำไรสุทธิ 233.59 ล้านบาท
แม้ปีที่ผ่านมากำไรสุทธิของ MK Suki จะเพิ่มขึ้นจากปีก่อนราว 17% แต่ผลการดำเนินงานในไตรมาสแรกของปีนี้กลับพบว่า ตัวเลขลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันเมื่อปีก่อนหน้า
ทั้งยังถูกนำไปเปรียบเทียบกับ “สุกี้ตี๋น้อย” ที่ปิดยอดปี 2567 ไปได้ 7,075 ล้านบาท ตัวเลขรายได้เริ่มเข้าใกล้หมื่นล้านมากขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงตัวเลขในไตรมาสแรกของปีนี้ก็พบว่า สุกี้ตี๋น้อยทำกำไรแซงหน้าเจ้าตลาดอย่าง MK ได้เป็นครั้งแรกด้วย
และถ้าไปดูตัวเลขรายได้ฝั่งตี๋น้อยจะเห็นว่ามาแรงแม้จะเป็นแบรนด์น้องใหม่ที่ก่อร่างสร้างตัวมาประมาณ 5 ปีแต่ตัวเลขรายได้ไม่ธรรมดา
- ปี 2562 รายได้ 499 ล้านบาท
- ปี 2563 รายได้ 1,223 ล้านบาท
- ปี 2564 รายได้ 1,572 ล้านบาท
- ปี 2565 รายได้ 3,976 ล้านบาท
- ปี 2566 รายได้ 5,262 ล้านบาท
- ปี 2567รายได้รวม 7,075 ล้านบาท
ตัวเลขรายได้ของสุกี้ตี๋น้อยเริ่มโตแรงขึ้นทุกปีๆ โดยกลยุทธ์ของ สุกี้ตี๋น้อย ซึ่งเห็นช่องว่างในตลาด เลือกทำราคาถูกกว่า MK เน้นความคุ้มค่า และเน้นการขายในช่วงเวลาที่ครอบคลุมมากขึ้น (เที่ยง – ตี 5) ทำให้สามารถจับกลุ่มลูกค้าได้กว้าง ครอบคลุมไปจนถึงกลุ่มวัยรุ่น นักศึกษา และกลุ่มคนทำงานรุ่นใหม่
เมื่อสถานการณ์เป็นเช่นนี้ MK จึงต้องหันหน้าเข้าสู้ทำให้เราเห็นสงครามราคาในช่วงที่ผ่านมา และก็ไม่ใช่แค่นั้น เพราะคีย์หลักในการทำตลาดของ MK เน้นอยู่ 3 ส่วน
- เน้นความคุ้มค่าและสร้างประสบการณ์ใหม่
- ทำตลาดแบบ “Segmentation” เพื่อนำมาพัฒนาสินค้า สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าในระยะยาว
- ทำให้ลูกค้าเข้าถึงความคุ้มค่าและคุณภาพของสินค้าและบริการได้ง่ายขึ้น
เราจึงได้เห็น MK มีการปรับรูปแบบในหลายด้านลดความเป็นพรีเมี่ยมให้ลงมาจับกลุ่มลูกค้าได้กว้างขึ้น เราจึงเห็นรูปแบบการสื่อสารที่สนุกสนาน เพื่อสร้าง engagement อย่างต่อเนื่อง พร้อมกับการกระตุ้นยอดขายด้วย Value Promotion ที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกคุ้มค่าที่สุดในการตัดสินใจซื้อ อย่างล่าสุดก็เปิดโปรดักส์ สุกี้ผัดแห้ง มีคนผัดให้กินถึงโต๊ะ กินหนึ่งอิ่ม เฉลี่ยคนละ 100 บาท
ทางฝั่งของสุกี้ตี๋น้อยเอง ก็รุกตลาดหนักเช่นกันในเมื่อฝั่ง MK ลดความพรีเมี่ยมให้ลูกค้าเข้าถึง ทางตี๋น้อยก็เพิ่มความพรีเมี่ยมเพื่อสร้างจุดเด่นให้แบรนด์มากขึ้น ที่เห็นได้ชัดเจนสุดคือประกาศเปิดตัว Tn Lounge ห้องพักรอคิวสุดพรีเมียม พร้อมเครื่องดื่ม ขนม และมุมพักผ่อน เพื่อยกระดับประสบการณ์ระหว่างรอทานอาหาร
พร้อมเปิดตัวระบบสมาชิกใหม่ 4 ระดับ ครอบคลุมสิทธิประโยชน์ตั้งแต่จองโต๊ะ ไปจนถึงสิทธิ์เข้าใช้ Lounge ได้ไม่จำกัด ในมุมของผลิตภัณฑ์ สุกี้ตี๋น้อย ยังคงเน้นคัดสรรวัตถุดิบคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อวัวออสเตรเลีย หรือชีสนำเข้า
เพื่อรักษามาตรฐานที่ลูกค้าไว้วางใจ รวมถึงแนวคิดเปิดกว้างให้นำน้ำจิ้มแบรนด์อื่นเข้ามาเสริมความสุขในการรับประทานอาหาร รวมถึงประกาศเป้าหมายสร้างรายได้ทะลุ 10,000 ล้านบาทในปี 2569 ผ่านการขยายสาขาใหม่ รวมกว่า 32 แห่งทั่วประเทศ
อย่างไรก็ดี MK Suki ถือว่าเป็นแบรนด์ที่แข็งแกร่งแม้จะสู้ในสงครามตลาดก็ยังมีจุดแข็งที่ได้เปรียบแบรนด์พออื่นพอสมควร ทั้งความแข็งแกร่งของ Supply Chain และ Logistics โดยมีรถขนส่งทุกอุณหภูมิและทุกขนาด ทำให้ MK สามารถควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบได้ดีเยี่ยมตั้งแต่ต้นทางจนถึงมือผู้บริโภค
ซึ่งทางสุกี้ตี๋น้อยเอง ก็มองจุดแข็งตรงนี้ออกเช่นกันจึงได้พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะสงครามธุรกิจในครั้งนี้ยังคงต้องสู้กันอีกยาวไกล และจากนี้ก็คงจะมีอีกหลายกลยุทธ์ที่งัดกันออกมา ภาพรวมของผู้บริโภคเองก็เหมือนจะได้ประโยชน์จากการแข่งขันในครั้งนี้แม้ไม่รู้ว่าสุดท้ายฝ่ายไหนจะชนะก็ตาม
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)